เปิด 4 แนวเส้นทาง 'โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่'

10 ส.ค. 2558 | อ่านแล้ว 6373 ครั้ง


	เปิด 4 แนวเส้นทาง 'โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่'

โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ เผยทางเลือกของแนวเส้นทางโครงการเบื้องต้น 4 แนว

10 ส.ค. 2558 เว็บไซต์โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระบุว่าที่ปรึกษาได้จัดทำทางเลือกของแนวเส้นทางโครงการเบื้องต้น 4 แนวเพื่อใช้เปรียบเทียบองค์ประกอบต่างๆ ทำให้ที่ปรึกษาได้เข้าใจในองค์ประกอบของงาน ปัญหาอุปสรรค ซึ่งจะใช้ในการวางแผนของการทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการ โดยข้อมูลของเส้นทางทั้ง 4 แนวมีหลักการดังนี้

 

แนวทางเลือกที่ 1 

ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 1 ทาง เป็นแนวเส้นทางที่อยู่ภายในเขตทางรถไฟและคู่ขนานไปกับแนวทางรถไฟเดิมทางด้านทิศตะวันตก โดยที่มีลักษณะทางกายภาพ ของทางวิ่ง เช่น ความกว้างของรัศมีโค้งราบและโค้งดิ่ง ความลาดชันแนวเส้นทาง ยังคงเหมือนและเท่ากับทางรถไฟเดิมและมีอุโมงค์รถไฟ 2 จุด คือ บริเวณห้วยแม่ลานและอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลทางวิ่งบริเวณที่อยู่ในพื้นที่ราบและเป็นแนวตรง รถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 90 กม./ชม.มีความยาวเส้นทาง 217 กิโลเมตร รูปที่ 1-2 แสดงลักษณะ Plan และ Profile มีรายละเอียดเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

- แนวเส้นทางใหม่จะขนานทางรถไฟเดิม โดยเริ่มต้นออกจากสถานีเด่นชัย กม.533+947 ผ่านสถานีปากปาน ที่กม.538+432 สถานีแก่งหลวง กม.552+000 จนถึงสถานีบ้านปิน ที่ กม.563+865 แนวเส้นทางเป็นทางราบหรือทางลาดชันเล็กน้อยที่มีรัศมีโค้งแคบตามแนวเชิงเขาลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำยมจากสถานีปากปาน จนถึงสถานีแก่งหลวง

- ช่วงจากสถานีบ้านปิน จนถึงที่หยุดรถไฟห้วยแม่ลาน กม.588+000 ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ทางรถไฟจะลัดเลาะไหล่เขา และเป็นทางลาดชันไต่ขึ้นภูเขา ด้วยความลาดชันสูงสุด 2.0% โดยมีจุดสูงสุดที่บริเวณที่อุโมงค์ห้วยแม่ลาน ซึ่งยาว 130 เมตร จากนั้นทางรถไฟจะไต่ลงด้วยความลาดชัน 2.0% ผ่านสถานีแม่จาง กม.600+335 จนถึง สถานีแม่เมาะ กม.609+168

- ช่วงออกจากสถานีแม่เมาะทางรถไฟจะไต่ลัดเลาะขึ้นเขาอีกครั้ง ด้วยความลาดชันสูงสุด 2.0%จนถึง กม.617+500 ในพื้นที่ ต. หัวเสือ อ. แม่ทะ จ.ลำปาง จากนั้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันสูงสุด 2.0% เช่นกัน เข้าสู่สถานีนครลำปาง กม.642-292

- ช่วงสถานีนครลำปาง จนถึงจุดจอดรถบ่อแฮ้ว กม.646+687 ต. บ่อแฮ้ว อ. เมือง จ.ลำปาง ลักษณะเป็นแนวทางราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิมและมีสะพานข้ามแม่น้ำวัง บริเวณ กม. 642+600

- ช่วงจากจุดจอดรถบ่อแฮ้ว จนถึงสถานีแม่ตานน้อย กม.671+808 ต. เวียงตาล อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง แนวเส้นทางจะลัดเลาะและไต่ขึ้นเขาอีกครั้ง

- ช่วงจากสถานีแม่ตานน้อย จนถึงสถานีขุนตาน กม.683+140 ต. ทาปลาดุก อ. แม่ทา จ.ลำพูน แนวเส้นทางจะลัดเลาะไต่ขึ้นเขา ด้วยความลาดชันสูงถึง 2.3% ผ่านอุโมงค์รถไฟบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาว 1.3 กม. จากนั้นเส้นทางรถไฟจะไต่ระดับลงด้วยความลาดชันประมาณ 2.1% จนถึง กม.690+000 ในพื้นที่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน จากนั้นแนวเส้นทางจะไต่ระดับลงผ่านสถานีทาชมภูสถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน

- ช่วงสถานีจังหวัดลำพูนถึงสิ้นสุดที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ที่กม.751+424 แนวเส้นทางจะอยู่ในพื้นที่ราบและขนานไปกับทางรถไฟเดิม

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 1 ประกอบด้วย 26 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ผาคอ ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ห้วยรากไม้ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง หัวยเรียน แม่ตานน้อย ขุนตาน ทาชมภู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภีและเชียงใหม่

 

แนวทางเลือกที่ 2 

เป็นการปรับทางรถไฟเดิมและก่อสร้างทางรถไฟใหม่ให้ได้ 2 ทางโดยอาศัยเขตทางรถไฟเดิมเป็นหลักแนวเส้นทางโดยส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟเดิมและสลับอยู่ทางด้านทิศตะวันออกตามความเหมาะสม โดยจะต้องมีการเวนคืนในช่วงที่มีการปรับรัศมีโค้ง และความลาดชันของทางวิ่งให้ได้ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.หรือการสลับทิศทางของเส้นทางรถไฟที่มาทางด้านทิศตะวันออก มีความยาวเส้นทางประมาณ 207 กิโลเมตร รูปที่ 1-3 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีเด่นชัย กม.533+947 จนถึงสถานีปากปาน กม.538+447 ต. ไทรย้อย อ. เด่นชัย จ. แพร่ เหมือนทางเลือกที่ 1

- เมื่อออกจากสถานีปากปาน เส้นทางรถไฟจะปรับออกจากเขตทางรถไฟเดิม เพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.จนบรรจบทางรถไฟปัจจุบัน ที่สถานีแก่งหลวง กม.544+947 ต. แม่ปาน อ. ลอง จ. แพร่โดยในช่วงดังกล่าวทางรถไฟจะไต่ขึ้นด้วยความลาดชันประมาณ 0.7% มีการเจาะอุโมงค์บริเวณ กม.543+627 และ กม.544+469 ยาว288 และ 690 เมตร ตามลำดับ

- จากสถานีแก่งหลวง ถึง กม.554+612 ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่แนวเส้นทางจะเป็นทางราบแต่จะมีการปรับรัศมีโค้งเพื่อให้สามารถวิ่งได้ 120 กม./ชม. จากนั้นจะเชิดขึ้นด้วยความลาดชัน 0.7% ผ่านอุโมงค์ที่ กม.555+704 ความยาว 500 เมตรจนถึง กม.557+550 ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน 1.2% เข้าสู่สถานีบ้านปินกม.562+516

- ช่วงสถานีบ้านปิน ถึงสถานีปางป๋วย แนวเส้นทางเมื่อออกจากสถานีบ้านปินจะไต่ระดับด้วยความลาดชัน 1.0% ผ่านสถานีผาคัน กม. 576+229และสิ้นสุดที่สถานีปางป๋วยกม.587+788โดยในช่วงนี้จะการปรับรัศมีโค้งตลอดแนวเส้นทาง และก่อสร้างอุโมงค์จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ กม.571+603 กม.574+647 กม.577+743และ กม. 582+485ระยะทาง 200 270 250 และ 3,500 เมตร  ตามลำดับ

- ช่วงสถานีปางป๋วย ถึงสถานีแม่เมาะ แนวเส้นทางจากสถานีปางป๋วย จะไต่ระดับลงด้วยความลาดชัน 1.2% และปรับรัศมีโค้งเป็นระยะๆ ผ่านสถานีแม่จาง เข้าสู่สถานีแม่เมาะกม.605+747

- ช่วงสถานีแม่เมาะถึงสถานีศาลาผาลาด แนวเส้นทางจะเป็นลักษณะของการเลาะไต่ขึ้นลงภูเขาด้วยความลาดชัน 1.2%โดยมีจุดสูงสุดอยู่ที่ กม. 613+605

- ช่วงสถานีศาลาผาลาด ถึงสถานีลำปาง แนวเส้นทางจะลดระดับลงด้วยความลาดชัน ประมาณ 0.7-1.2% เพื่อแก้ปัญหาจุดตัด

- ช่วงออกจากสถานีลำปาง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะเป็น ทางราบ จากนั้นจะเริ่มไต่ระดับขึ้นเขา ผ่านสถานีห้างฉัตร ปางม่วง ห้วยเรียน จนถึงสถานีแม่ตานน้อย ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายก่อนจะถึงอุโมงค์ ที่ กม. 673+131ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลยาวประมาณ 9.9 กิโลเมตรโดยจากสถานีปางม่วงถึงสถานีแม่ตานน้อยจะมีการปรับรัศมีโค้ง จากนั้นจะลดระดับลงผ่านสถานีทาชมภู สถานีศาลาแม่ทา สถานีหนองหล่ม เข้าสู่สถานีลำพูน

- ช่วงสถานีลำพูน ถึง สถานีเชียงใหม่ แนวเส้นทางจะขนานไปกับเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน           

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 2 ประกอบด้วย 23 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ปางม่วง หัวยเรียน แม่ตานน้อย ทาชมภู ศาลาแม่ทา หนองหล่ม ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่

 

แนวทางเลือกที่ 3

ก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพิ่ม 2 ทาง โดยยังคงสภาพของแนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เพื่อเป็นเส้นทางท่องเที่ยว แนวเส้นทางตัดใหม่ตั้งแต่ช่วงลำปางถึงเชียงใหม่จะอาศัยเขตทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงมีการปรับรัศมีโค้งและความลาดชันของทางวิ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดของขนาดทาง 1.00 ม.ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ เพื่อทำให้รถไฟสามารถใช้ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ตลอดทั้งแนวมีความยาวเส้นทางประมาณ 170 กิโลเมตร รูปที่ 1-4 แสดงลักษณะ Plan และ Profile รายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ มีดังนี้

- เริ่มต้นโครงการฯ กม.533+947 จากสถานีเด่นชัย–กม.533+950 อ. เด่นชัย จ. แพร่ เป็นแนวเส้นทางขนานกับทางวิ่งเดิมด้านทิศตะวันตกและอยู่ภายในเขตทางการรถไฟฯ

- จาก กม.533+950 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ไทรย้อย ข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 538+387 เข้าสู่ ต. ปงป่าหวาย แนวเส้นทางลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำ และไต่ระดับขึ้นเขา โดยมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.541+947ยาวประมาณ 600เมตร จากนั้นแนวเส้นทางลดระดับลง ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม. 544+617เข้าสู่ อ. ลอง จ. แพร่

- จาก กม.545+447 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกจากเขตทางของการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตกผ่านสะพานข้ามแม่น้ำยมบริเวณ กม.549+947 แนวเส้นทางลาดชัน1.0% และมีอุโมงค์รถไฟบริเวณ กม.551+647 และ กม.553+079 ในพื้นที่ ต. บ้านปิน อ. ลอง จ. แพร่ ยาว 670 เมตร และ 500เมตร ตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางจะลดระดับด้วยความลาดชัน1.0%จนถึง กม.556+447 ก่อนเข้าสถานีบ้านปิน

- ช่วง กม.556+447 – กม.558+947 เป็นแนวเส้นทางราบอยู่ในเขตทางการรถไฟฯด้านทิศตะวันตก

- จาก กม.558+947 ตัดแนวเส้นทางใหม่แยกออกนอกเขตทางการรถไฟฯ ด้านทิศตะวันตก จาก ต. บ้านปิน ผ่าน ต. ห้วยอ้อ อ. ลอง จ. แพร่ ไปเข้ากับทางรถไฟเดิมที่ กม.581+447 ก่อนเข้าสถานีแม่เมาะ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง โดยแนวเส้นทางจะไต่ระดับขึ้นด้วยความลาดชัน 1.0% ผ่านอุโมงค์รถไฟช่วง กม.561+472 – กม.564+760 และช่วง กม.565+886– กม.575+828ยาว 3.3 กิโลเมตร และ 9.9 กิโลเมตร ตามลำดับ

- ช่วง กม.581+447– กม.595+447 ในพื้นที่ อ. แม่ทะ จ. ลำปาง แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม

- จาก กม.595+447 แนวเส้นทางราบแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้าน ทิศตะวันตก และไต่ระดับลงไปจนถึง กม.607+444 ในพื้นที่ ต. พระบาท อ. เมือง จ. ลำปาง

- ช่วง กม.607+447– กม.631+447 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิมมีแนวเส้นทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงตั้งแต่ กม.610+947 บริเวณก่อนเข้าสถานีหนองวัวเฒ่าผ่านสถานีลำปางไปจนถึงสถานีห้างฉัตร

- จากสถานีห้างฉัตร แนวเส้นทางแยกออกจากเขตทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันตก จาก อ. ห้างฉัตร จ. ลำปาง เข้าสู่ อ. แม่ทา จ. ลำพูน แนวเส้นทางมีความลาดชันขึ้นภูเขาจนถึงอุโมงค์ช่วง กม.645+447 – กม.652+947 จากนั้นเป็นแนวเส้นมีความชันลาดลงข้ามสะพานแม่น้ำแม่ทา ที่ กม. 659+173 และตัดกับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.659+627 ในพื้นที่ ต. ทาสบเส้า อ. แม่ทา จ. ลำพูน

- จาก กม.659+173 แนวเส้นทางแยกออกจากเขตาทางการรถไฟฯ ทางด้านทิศตะวันออก ผ่าน ต. ศรีบัวบาน ผ่านอุโมงค์บริเวณ กม. 660+721 และ กม. 660+879ความยาว 600 เมตร และ540 เมตรตามลำดับ จากนั้นแนวเส้นทางมีความลาดชันลงและเข้าบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.671+947 ในพื้นที่ ต. ป่าสัก อ. เมือง จ. ลำพูน

- จาก กม.671+947 แนวเส้นทางเข้าอยู่ในเขตทางการรถไฟฯ และขนานไปกับทางรถไฟเดิม มีลักษณะเป็นทางราบ ผ่าน จ. ลำพูนในพื้นที่ ต. เวียงยอง ต. เมืองง่าและ ต. อุโมงค์ เข้าสู่ อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ในพื้นที่ ต. สารภี ต. ยางเนิ้ง และ ต.หนองผึ้ง ในพื้นที่ อ. เมือง ผ่าน ต. ท่าศาลา และสิ้นสุดโครงการที่สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ต. วัดเกตุ อ. เมือง จ. เชียงใหม่           

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 3 ประกอบด้วย 15 สถานี ได้แก่ แก่งหลวง บ้านปิน แม่จาง (ตำแหน่งใหม่) แม่เมาะ ห้วยรากไม้ แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่

 

แนวเส้นทางเลือกที่ 4 

ก่อสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่ 2 ทาง และยังคงสภาพของ แนวเส้นทางรถไฟเดิมไว้ เป็นแนวเส้นทางที่ผสมผสานกันระหว่างแนวเส้นทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3แนวเส้นทางมีความยาวประมาณ 189 กิโลเมตรรูปที่ 1-5แสดงลักษณะ Plan และ Profileมีรายละเอียดแนวเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้

- ช่วงสถานีเด่นชัย-สถานีจังหวัดลำปาง ระยะทาง 105 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 120 กม./ชม.แนวทางเหมือนเลือกที่ 2

- สถานีจังหวัดลำปาง-สถานีจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 84 กิโลเมตร สามารถใช้ความเร็วสูงสุดได้ 160 กม./ชม. แนวทางเหมือนทางเลือกที่ 3            

สถานีหลักตามทางเลือกที่ 4 ประกอบด้วย 19 สถานี ได้แก่ ปากปาน แก่งหลวง ห้วยแม่ต้า บ้านปิน ผาคัน ปางป๋วย แม่จาง แม่เมาะ ศาลาผาลาด แม่ทะ หนองวัวเฒ่า ลำปาง ห้างฉัตร ศาลาแม่ทา หนองหล่ม (ตำแหน่งใหม่) ลำพูน ป่าเส้า สารภี และเชียงใหม่

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: