อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์, อุตสาหกรรมเคมี, อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คมนาคม, อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ, กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น, อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
ทั้งนี้พบว่าอัตราการจ่ายค่าจ้างขั้นต้นจำนวนตามระดับการศึกษา วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 10,120 บาท วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จ่ายเฉลี่ย 11,383 บาท วุฒิปริญญาตรี จ่ายเฉลี่ย 15,491 บาท วุฒิปริญญาโท จ่ายเฉลี่ย 21,047 บาท วุฒิปริญญาเอก จ่ายเฉลี่ย 35,985 บาท
โดยหากแยกตามวุฒิการศึกษาและสาขาวิชาจะได้ค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดดังนี้
วุฒิ ปวช.
ระดับ ปวช. สาขาคหกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด (ที่มาภาพ: roiet-icec.ac.th)
สาขาคหกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 11,000 บาท
ส่วนสาขาออกแบบ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดที่ 9,600 บาท
วุฒิ ปวส.
ระดับ ปวส. สาขาบัญชี มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุด (ที่มาภาพ: interscholarship.com)
สาขาคหกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 12,000 บาท
สาขาบัญชี มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดที่ 11,126 บาท
วุฒิปริญญาตรี
วุฒิปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด (ที่มาภาพ: jr-rsu.net)
สาขาเภสัชศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 26,825 บาท
สาขาคหกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดที่ 14,398 บาท
วุฒิปริญญาโท
วุฒิปริญญาโท สาขาศิลปกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุด (ที่มาภาพ: rmutt.ac.th)
สาขาเภสัชศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 30,000 บาท
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดที่ 17,078 บาท
วุฒิปริญญาเอก
วุฒิปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาที่มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุด (ที่มาภาพ: prcmu.cmu.ac.th)
สาขาเภสัชศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 57,850 บาท
ส่วนสาขานิเทศศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุดที่ 26,250 บาท
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ