ตรวจสารกันบูด 'น้ำพริกนรก' พบปริมาณสูง เสี่ยงท้องเสีย

12 มิ.ย. 2558 | อ่านแล้ว 3271 ครั้ง


	ตรวจสารกันบูด 'น้ำพริกนรก' พบปริมาณสูง เสี่ยงท้องเสีย

'ฉลาดซื้อ' เตือนรับประทานน้ำพริกนรก อาจได้แถมสารกันบูด เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร พบน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วง(ขอบคุณภาพจาก http://n-cs46.wix.com/maejim)

12 มิ.ย.58 นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 171 ประจำเดือนพ.ค.58ได้ทำการทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกนรก เนื่องจากน้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย

น้ำพริกประเภทผัดอย่าง “น้ำพริกนรก” เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหาย เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อจึงได้สุ่มตรวจน้ำพริกนรกจากตลาดดัง และซุปเปอร์มาเก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 แห่ง ดังนี้ ป้าแว่นน้ำพริก จากท้อป ซูเปอร์มาเก็ต ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, ร้านนงนุช ตลาดสี่มุมเมือง, น้ำพริกนรก ไม่มีชื่อ จากตลาดพรานนก,น้ำพริกนรก ไม่มีชื่อ ตลาดบางแค, น้ำพริกนรกจากร้านเจ๊อั้ง น้ำพริกแกง จากตลาดห้วยขวาง, น้ำพริกนรกปลาช่อน ปทุมทิพย์ จากโลตัส พระรามเก้า, น้ำพริกนรกจาก ร้านสม น้ำพริก จากตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่, ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) จากตลาด อตก., และน้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จากบิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ได้แก่ น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จาก บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และ ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) ตลาด อตก.

ขณะที่ข้อแนะนำนิตยสารฉลาดซื้อระบุว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อน้ำพริกที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือใส่แต่น้อย และเลือกซื้อจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน เพราะในแต่ละวันเราบริโภคอาหารหลายชนิด หากวันไหนกินแต่อาหารที่มีวัตถุกันเสียผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเกิดการสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะตับและไต

ส่วนอาการเบื้องต้นที่พบเมื่อได้รับวัตถุกันเสียปริมาณมาก คือ อาการท้องเสีย เพราะวัตถุกันเสียไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร

ตารางสรุปผลทดสอบปริมาณวัตถุกันเสียในน้ำพริกนรก

ผลิตภัณฑ์

สถานที่เก็บตัวอย่าง

วันที่เก็บตัวอย่าง

น้ำหนัก(.)/ราคา(บาท)

ปริมาณวัตถุกันเสีย(มก./กก.)

เบนโซอิก

ซอร์บิก

ป้าแว่นน้ำพริก

ท้อป ซูเปอร์มาเก็ต ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต

30/03/58

400/185.50

ไม่พบ

ไม่พบ

ร้านนงนุช

ตลาดสี่มุมเมือง

30/03/58

500/100

13.04

ไม่พบ

น้ำพริกนรก ไม่มีชื่อ

ตลาดพรานนก

31/03/58

300/66

110.08

ไม่พบ

น้ำพริกนรก ไม่มีชื่อ

ตลาดบางแค

31/03/58

300/75

137.44

ไม่พบ

เจ๊อั้ง น้ำพริกแกง

ตลาดห้วยขวาง

31/03/58

500/100

ไม่พบ

375.76

น้ำพริกนรกปลาช่อน ปทุมทิพย์

โลตัส พระรามเก้า

 

กระปุกละ 85 ./

ไม่พบ

395.42

สม น้ำพริก

ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่

30/03/58

400/100

528.41

ไม่พบ

ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง)

ตลาด อตก.

31/03/58

400/

1536.59

ไม่พบ

น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง)

บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต

30/03/58

400/107.75

1580.50

ไม่พบ

หมายเหตุ: ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

ปริมาณวัตถุกันเสีย

กลุ่มอาหาร กฎหมายกำหนดปริมาณวัตถุกันเสีย สูงสุดไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ถือเป็นปริมาณสูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำพริกได้ด้วย

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิกและซอร์บิก) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: