ปส. ชูระเบียบยื่นคำขอใบอนุญาตปรมาณูตัวใหม่ เอาใจผู้ประกอบการ

12 ม.ค. 2558 | อ่านแล้ว 1841 ครั้ง

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ถึงสื่อมวลชน เรื่องการออกระเบียบการยื่นแบบคำขอใบอนุญาตปรมาณูทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการกับกรมศุลกากร เน้นให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจากการติดต่อเพียงจุดเดียว โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานด้วยตนเอง

โดยในเนื้อหาประชาสัมพันธ์ ระบุว่า ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window)   โดยได้ออกระเบียบว่าด้วยการยื่นแบบคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ และการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้ การนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรซึ่งวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้นกำลัง วัสดุพลอยได้ หรือพลังงานปรมาณูจากรังสีเอกซ์ พ.ศ.2557 เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการขอใบอนุญาต หวังเอื้อความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการตรวจสอบใบอนุญาต และใบรับรองต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบนี้ จะทำหน้าที่ประสานกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ผู้ประกอบการสามารถรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์กับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ด้วยตัวเอง และยังสามารถติดตามผลได้อย่างรวดเร็ว               

“ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำรังสีเข้ามาเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การศึกษาวิจัย และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยผู้ประกอบการที่ผลิต มีไว้ครอบครอง  หรือใช้ซึ่งวัสดุพลอยได้ วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้นกำลัง และเครื่องกำเนิดรังสี รวมถึงการนำเข้าและส่งออก    เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้น จำเป็นต้องยื่นคำขออนุญาตต่อ ปส. เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ พรบ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 โดยระบบนี้จะอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ประกอบการมากขึ้น    เพราะเป็นการลดขั้นตอนการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการปรับปรุงและลดขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในลักษณะของบริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เพื่อให้เอกสารต่างๆ เช่น ใบอนุญาตการนำเข้า ใบอนุญาตการส่งออก และใบรับรองต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น และยังติดตามผลได้ตลอด 24 ชั่วโมง”

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยังเปิดให้บริการขอใบอนุญาตถึง 3  ช่องทางด้วยกัน คือ การยื่นเอกสาร     ด้วยตนเอง ทางไปรษณีย์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  กลุ่มบริหารฐานข้อมูลใบอนุญาต สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  โทร. 025967600  ต่อ 1513 , 1517  เอกสารประชาสัมพันธ์ระบุ 

ทั้งนี้สำหรับ พรบ.พลังงานปราณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 ได้ถูกประกาศประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์  หรือเมื่อ 54 ปีที่แล้ว มีเนื้อหา ดังนี้ 

พระราชบัญญัติ

พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

พ.ศ. ๒๕๐๔

---------------------------------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๐๔

เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้

ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยพลังงานปรมาณู เพื่อสันติ

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภา

ร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๐๔”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็น

ต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“พลังงานปรมาณู” หมายความว่า พลังงานไม่ว่าในลักษณะใดซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยออกมา

ในเมื่อมีการแยก รวม หรือแปลงนิวเคลียสของปรมาณู

“วัสดุต้นกำลัง” หมายความว่า

(๑) ยูเรเนียม ธอเรียม สารประกอบของยูเรเนียมหรือธอเรียม หรือวัสดุอื่นใด ที่มีคุณสมบัติเป็น

วัสดุต้นกำลังตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

(๒) แร่หรือสินแร่ ซึ่งประกอบด้วยวัสดุตามที่ระบุไว้ใน (๑) อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามอัตรา

ความเข้มข้นซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง

“วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ” หมายความว่า

(๑) พลูโตเนียม ยูเรเนียม ซึ่งมีความเข้มข้นของยูเรเนียม ๒๓๓ หรือยูเรเนียม ๒๓๕ สูงกว่าที่มี

ตามธรรมชาติสารประกอบของธาตุดังกล่าว หรือวัสดุอื่นใด ตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้

ไม่รวมวัสดุต้นกำลัง

(๒) วัสดุใดๆ ที่มีวัสดุตามที่ระบุไว้ใน (๑) อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมเข้าไป ทั้งนี้ ไม่รวม

วัสดุต้นกำลัง

“วัสดุพลอยได้” หมายความว่า วัสดุกัมมันตรังสีทุกชนิดนอกจากวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ ซึ่งเกิดจาก

การผลิตหรือการใช้วัสดุนิวเคลียร์หรือวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และหมายความรวมถึงประธาน

กรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติด้วย

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตนี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจ

(๑) กำหนดให้วัสดุซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าเป็นวัสดุนิวเคลียร์พิเศษเป็นวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ

(๒) กำหนดให้วัสดุหรือแร่ หรือสินแร่ดังต่อไปนี้เป็นวัสดุต้นกำลัง

ก. วัสดุซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นวัสดุต้นกำลัง

ข. แร่หรือสินแร่ซึ่งประกอบด้วยยูเรเนียม ธอเรียม สารประกอบของยูเรเนียม หรือธอเรียม

หรือวัสดุตาม (ก.) อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างซึ่งมีความเข้มข้น ตามอัตรากำหนดและซึ่ง

คณะกรรมการเห็นว่าเป็นวัสดุต้นกำลัง

(๓) กำหนดเงื่อนไขและวิธีการขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๒ ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ความปลอดภัย

ในการผลิตการมีไว้ในครอบครองหรือการใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ พลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้

หรือวัสดุต้นกำลังซึ่งพ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในทางเคมี หรือกระทำด้วยประการใดๆ

แก่วัสดุต้นกำลังให้พ้นจากสภาพ ที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในทางเคมีและกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต

ดังกล่าวรายงานต่อคณะกรรมการตามระยะเวลาที่เห็นสมควรถึงปริมาณของวัสดุที่ผู้รับใบอนุญาต

มีไว้ในครอบครองว่า ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใดในระหว่างระยะเวลานั้น รวมทั้งเหตุแห่งการเพิ่ม

และการลดนั้นด้วย

การกำหนดตามมาตรานี้ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เรียกโดยย่อว่า “พ.ป.ส.” มีอำนาจหน้าที่

ปฏิบัติการเกี่ยวแก่พลังงานปรมาณูเพื่อสันติตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วยประธานกรรมการ

และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ

นิติศาสตร์ ไม่เกินสิบคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

อธิการบดีมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์

อธิบดีกรมโลหกิจ เลขาธิการการพลังงานแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม เจ้ากรมอุตุนิยมวิทยา

เลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานพลังงาน

ปรมาณูเพื่อสันติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

ให้เลขาธิการสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นเลขานุการคณะกรรมการ

มาตรา ๖ ประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี

กรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้

มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๖ ประธานกรรมการ และกรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๔) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่คดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือ

ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เมื่อประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจาก

ตำแหน่งก่อนวาระคณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทน

กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตามความในวรรคก่อน อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการที่ตน

แทน

มาตรา ๘ การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการ

ทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการ ที่มาประชุมเลือกกรรมการ

คนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน

ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๙ นอกจากอำนาจหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่

โดยทั่วไปดังต่อไปนี้

(๑) วางนโยบาย ก่อให้เกิด ส่งเสริมและควบคุม

ก. การวิจัย การทดลอง การตรวจ การสำรวจ และการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับแหล่งที่จะได้มา

ซึ่งวัสดุต้นกำลัง

ข.การจัดหาวัสดุต้นกำลัง

ค.การผลิตและใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้และพลังงานปรมาณู

ง.การวิจัยเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู

(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในเรื่องการกำหนดวัสดุนิวเคลียร์พิเศษและวัสดุต้นกำลัง

(๓) วางระเบียบควบคุมและดำเนินกิจการให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในใบอนุญาตที่

ออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) กำหนดมาตรฐานต่างๆ อันพึงใช้โดยเฉพาะเกี่ยวกับพลังงานปรมาณู

(๕) ส่งเสริมและเผยแพร่เกี่ยวกับพลังงานปรมาณู

มาตรา ๑๐ คณะกรรมการอาจตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้

ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาใช้บังคับแก่การประชุม ของคณะอนุกรรมการด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๑ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมีหนังสือเรียกบุคคลใดๆ

มาให้ถ้อยคำและให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ มาเพื่อประกอบ การพิจารณาได้

มาตรา ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใด

(๑) ผลิต มีไว้ในครอบครอง หรือใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ พลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้ หรือ

วัสดุต้นกำลังซึ่งพ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในทางเคมี

(๒) กระทำด้วยประการใดๆ แก่วัสดุต้นกำลังให้พ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในทางเคมี

ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ

ใบอนุญาตให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง

วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้หรือวัสดุต้นกำลัง เว้นแต่จะได้ รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ

ในการอนุญาต คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ความปลอดภัยไว้ใน

ใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ ใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการกำหนด

ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรานี้ นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นำหรือสั่งเข้ามาใน

ราชอาณาจักรซึ่งวัสดุตามใบอนุญาต โดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน เงื่อนไขในใบอนุญาตให้ถือว่า

ผู้รับใบอนุญาต นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัสดุนั้น

แล้วแต่กรณี โดยมิได้รับอนุญาต ตามความในมาตรานี้

มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์แก่การระงับหรือป้องกันอันตรายซึ่งอาจมีแก่บุคคลหรือทรัพย์สินหรือ

เพื่อคุ้มครองอนามัยของบุคคล คณะกรรมการมีอำนาจมีคำสั่ง เป็นหนังสือ ให้ผู้รับใบอนุญาต ซึ่ง

ออกให้ตามมาตรา ๑๒ ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกี่ยวแก่กิจการที่ได้รับอนุญาต

ดังต่อไปนี้

(๑) เปลี่ยนแปลงซ่อมแซมหรือบูรณะอาคาร เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้

(๒) จัดหาหรือสร้างสิ่งใดๆ ขึ้นใหม่

(๓) งดการใช้หรือการผลิตไว้จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งใน (๑) และหรือ (๒)

คำสั่งของคณะกรรมการที่สั่งตาม (๑) หรือ (๒) ให้คณะกรรมการกำหนดระยะเวลาให้ผู้รับ

อนุญาตปฏิบัติตามคำสั่งนั้นด้วย และเมื่อมีเหตุอันสมควร ให้คณะกรรมการมีอำนาจขยาย

กำหนดเวลานั้นได้

มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ ซึ่งได้สั่งตามมาตรา

๑๔ (๑) หรือ (๒) ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดหรือที่ คณะกรรมการขยายให้หรือใน

กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งกำหนดตามมาตรา ๔

(๔) คณะกรรมการมีอำนาจมีคำสั่ง เป็นหนังสือให้เพิกถอนใบอนุญาตเสียได้

ในกรณีที่ได้มีคำสั่งของคณะกรรมการให้เพิกถอนใบอนุญาตตามวรรคก่อน ให้ผู้รับใบอนุญาต

จำหน่ายวัสดุนิเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้หรือวัสดุต้นกำลัง ซึ่งผู้รับใบอนุญาตครอบครองหรือใช้

ตามใบอนุญาตนั้นภายในกำหนดเก้าสิบวัน ถ้ามิได้จำหน่ายภายในกำหนดนี้ ให้วัสดุดังกล่าว ตก

เป็นของแผ่นดิน

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่มีคำสั่งคณะกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) หรือ (๒) และเมื่อพ้นกำหนด

ระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด หรือที่คณะกรรรมการขยายให้ ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติแล้วผู้รับ

ใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติไม่ครบถ้วนหรือถูกต้องตามคำสั่ง ไม่ว่าคณะกรรมการจะได้ใช้

อำนาจตามมาตรา ๑๕ หรือไม่ก็ตาม ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นได้

โดยครบถ้วน ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการนี้ให้ผู้รับใบอนุญาตรับผิดชดใช้ให้คณะกรรมการ เท่าที่

คณะกรรมการได้ใช้จ่ายไป

มาตรา ๑๗ ในการปฏิบัติตามหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ของทาง

ราชการหรือเอกชนเพื่อสอบถามหรือตรวจสอบในเรื่องการผลิต การมีไว้ในครอบครองหรือใช้ซึ่ง

วัสดุนิวเคลียร์พิเศษพลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้ วัสดุต้นกำลัง หรือในเรื่องเกี่ยวกับการระงับหรือ

ป้องกันอันตราย ซึ่งอาจมีแก่บุคคล หรือทรัพย์สินหรือการคุ้มครองอนามัยของบุคคล หรือเพื่อ

ปฏิบัติอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

การเข้าไปในสถานที่ตามความในวรรคก่อน ถ้ามิใช่เป็นการเร่งด่วน หรือไม่เป็นกรณีที่มีความ

จำเป็นต้องปฏิบัติการโดยฉับพลัน เพื่อระงับหรือป้องกันอันตราย ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้ง

ให้ผู้ครอบครองสถานที่ ทราบล่วงหน้าตามเวลาอันสมควร และพนักงานเจ้าหน้าที่จะเข้าไปได้ก็

เฉพาะในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก

มาตรา ๑๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงและใน

การปฏิบัติตามอำนาจในมาตรา ๑๗ ต้องแสดงบัตรประจำตัว เมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ

มาตรา ๑๙ ให้มีสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัด

ระเบียบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ดำเนินกิจการ ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ

และปฏิบัติงาน ธุรการอื่นๆ

มาตรา ๒๐ ให้มีเลขาธิการ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติคนหนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมดูแล

โดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

มาตรา ๒๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น

บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๒ ผู้ใดนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งวัสดุ

นิวเคลียร์พิเศษวัสดุพลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง โดยมิได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๑๓ ต้องระวางโทษ

จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ ให้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลังใน

วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จัดให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตให้มีไว้ ในครอบครองวัสดุเช่นว่านั้น

ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวในวรรคก่อน ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุ นิวเคลียร์พิเศษ วัสดุ

พลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง มิได้ยื่นคำขอใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองก็ดี หรือคณะกรรมการมี

คำสั่งไม่อนุญาตให้มีไว้ในครอบครองก็ดี ให้ผู้มีไว้ในครอบครองจำหน่ายวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุ

พลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง ซึ่งตนมีไว้ในครอบครองภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันพ้น

กำหนดเวลา ตามความในวรรคก่อน หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการสั่งไม่อนุญาตแล้วแต่กรณี ถ้า

มิได้จำหน่ายภายในกำหนดนี้ ให้วัสดุดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน

ห้ามมิให้นำมาตรา ๑๒ เฉพาะที่เกี่ยวแก่การมีไว้ในครอบครองซึ่งวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุต้น

กำลังวัสดุพลอยได้ มาใช้แก่บุคคล ที่ครอบครองวัสดุเช่นว่านั้นอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้

บังคับ

มาตรา ๒๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงาน

เจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ส.ธนะรัชต์

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่การใช้พลังงานปรมาณูเพื่อประโยชน์

ในทางสันติเป็นความจำเป็น และสมควรส่งเสริมเพื่อการพัฒนาของประเทศ และโดยที่การใช้พลังงานปรมาณูเพื่อ

ประโยชน์ในทางสันติจำเป็นต้องมีการควบคุมให้การใช้เป็นไปตามหลักวิชาและปลอดภัย จึงต้องมีกฎหมายว่า

ด้วยการนี้

(เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๓๖ ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ เมษายน ๒๕๐๔)

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: