อุตสาหกรรมกระดาษในยุคดิจิทัล

12 ม.ค. 2558 | อ่านแล้ว 14846 ครั้ง


ในกระบวนการผลิตกระดาษ 1 ตันต้องใช้ต้นไม้มากถึง 17 ต้น ใช้กระแสไฟฟ้ามากถึง 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำถึง 31,500 ลิตร  และปล่อยคลอรีนที่ใช้ในการฟอกกระดาษเป็นของเสียกว่า 7 กิโลกรัม นั่นหมายความว่า ในการสนองตอบความต้องการใช้กระดาษของคนไทยให้เพียงพอ เราต้องตัดต้นไม้ถึงปีละประมาณ 55 ล้านต้น

สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ ชั่วโมง จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.71 กิโลกรัมและต้นไม้ 1 ต้นดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 15 กิโลกรัม ทว่าในความเป็นจริงแล้วเราทุกคนสามารถช่วยกันลดการตัดต้นไม้ รวมทั้งการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าในการผลิตกระดาษลงได้ ด้วยการนำกระดาษที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาผลิตเป็นกระดาษใหม่ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญาหาโลกร้อนไปในตัว รวมทั้งช่วยลดปริมาณขยะในสำนักงาน บ้านเรือน และกรุงเทพมหานครลงด้วย

ในบรรดาขยะที่คนไทยเราทิ้งกันทุกวันนี้เฉลี่ยคนละ 1 กิโลกัรมต่อวัน คิดขยะทั่วประเทศวันละ 40,000 ตัน หรือปีละ 14.6 ล้านตัน เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีขยะเกือบ 10,000 ตันต่อวัน แต่สำนักงานกรุงเทพมหานครจัดเก็บได้ไม่หมด คงเหลือตกค้างตามที่ต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและเป็นมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม

ทั้งนี้ ในกองขยะทั้วไป เกือบครึ่งหนึ่งเป็นขยะที่มีราคาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งแยกเป็นกระดาษ 19% พลาสติก 13%  แล้ว 8% โลหะ 5% จะเห็นว่าขยะกระดาษ มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นขยะที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ประมาณ 2.47 ล้านตัน ซึ่งเศษกระดาษเหล่านี้ ควรถูกรวบรวมป้อนให้แก่โรงงานผลิตกระดาษ เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษรีไซเคิล ซึ่งโรงงานผลิตกระดาษมีความต้องการเศษกระดาษปีละ 2.5 ล้านตัน แต่เรากลับสามารถหาเศษกระดาษภายในประเทศป้อนโรงงานได้ไม่ถึงร้อยละ 50 ที่เหลือต้องนำเข้าเศษกระดาษจากต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อที่ประเทศไทยต้องนำเข้าเศษกระดาษกว่าปีละ 1 ล้านตัน ทั้งๆ ที่มีขยะกระดาษภายในประเทศถึงปีละ 2.7 ล้านตัน

ดังนั้นทางที่ดีที่จะทำให้มีการนำกระดาษใช้แล้วมาหมุนเวียนผลิตมาใช้ใหม่ (Recycle) มีปริมาณมากขึ้นก็คือ การรวบรวมเศษกระดาษใช้แล้วในสำนักงานและบ้านเรือน โดยแยกแยะเศษกระดาษเหล่านี้ออกจากขยะชนิดอื่นเพื่อสะดวกในการจัดเก็บและนำกลับไปรีไซเคิล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในทาง เศรษกิจ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

การผลิต

การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ปี 2556 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษลดลงร้อยละ 8.92 เมื่อเทียบกับปกอน (ตารางที่ 1) โดยในส่วนของกระดาษ ได้แก่กระดาษแข็งและกระดาษคราฟท มีการผลิตเมื่อเทียบกับปกอนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.87 และ 1.66 ตามลําดับ ซึ่งยังเติบโตอย่างตอเนื่องตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑและสิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุหีบห่อ ประกอบกับความต้องการใช้ในภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง สําหรับกระดาษพิมพ์เขียนและกระดาษลูกฟูก มีการผลิตลดลงร้อยละ 0.08 และ 5.15 ตามลําดับ เนื่องจากมีคําสั่งซื้อลดลง ซึ่งกระดาษส่วนใหญ่จะนําไปผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเพื่อรองรับความตองการของผู้บริโภคซึ่งอยูในภาวะชะลอตัวจากหนี้ภาคครัวเรือนที่สูงขึ้นในปนี้ประกอบกับกระดาษพิมพเขียนไดรับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีส่งผลใหผู้ประกอบการไม่สามารถแขงขันดานราคากับกระดาษพิมพ์เขียนที่นําเขาจากประเทศจีนและอินโดนีเซียซึ่งมีตนทุนที่ต่ำกว่าไดซึ่งผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นไปผลิตสินคาที่มีนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มแทนการนําไปผลิตกระดาษพิมพ์เขียน

การค้าระหว่างประเทศ

การส่งออก

 1. เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ป 2556 มีมูลคาการส่งออก 136.94 ลานเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นรอยละ 84.03 เมื่อเปรียบเทียบกับปกอน (ตารางที่ 2) เป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดตางๆ ขยายตัวจากการส่งมอบสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดจําหนายต่อและนําไปผลิตสินคาที่ผลิตจากเยื่อกระดาษตามการใชงาน และเติบโตตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า อาทิจีน ฝรั่งเศส อินเดีย และประเทศในกลุมอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย และฟลิปปนส์ โดยเฉพาะประเทศคูคาหลักคือจีน จะมีอิทธิพลตอมูลคาการส่งออกของไทยสูง เพราะมีความต้องการใชในปริมาณที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยมีสัดสวนการนําเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจากไทยกว่ารอยละ 53 ของการส่งออกเยื่อกระดาษและเศษกระดาษทั้งหมด ดังนั้น หากบางช่วงจีนไม่สามารถผลิตให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศได้ ก็จะมีการนําเข้าจากไทยเพิ่มมากกวาปกติ

 2. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ปี 2556 มีมูลค่าการส่งออก 1,613.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4,29 เมื่อเทียบกับปก่อน (ตารางที่ 2) เนื่องจากตลาดสงออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่สําคัญโดยเฉพาะประเทศเวียดนาม เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย มีการนําเขากระดาษพิมพ์เขียนเพิ่มขึ้น ซึ่งกระดาษชนิดนี้ประเทศไทยมีสัดสวนของมูลค่าการสงออกมากที่สุดเมื่อเทียบกับกระดาษชนิดอื่นๆ สูงถึงร้อยละ 38.71 ของมูลค่าการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รองลงมาคือ กระดาษชําระ กระดาษแข็ง บรรจุภัณฑ์ กระดาษ (หีบ กลอง ซองฯ) กระดาษและผลิตภัณฑกระดาษอื่น ๆ และกระดาษคราฟท์ คิดเป็นสัดส่วนรอยละ 21.42 16.70 11.14 10.33 และ 1.70 ตามลําดับ

 3. หนังสือและสิ่งพิมพ์ ปี 2556 มีมูลคาการส่งออก 96.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นรอยละ 6.22 เมื่อเทียบกับปีก่อน (ตารางที่ 2) ส่วนหนึ่งเปนผลจากการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ของไทยไปตลาดสิงคโปรซึ่งเปนตลาดหลักของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีตลาดอินโดนีเซีย ญี่ปุน และเมียนมารที่มีการนําเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 17.86 39.16 และ 8.47 ตามลําดับ

การนำเข้า

1. เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ปี 2556 มีมูลคาการนําเข้า 609.87 ลานเหรียญสหรัฐฯ ลดลงรอยละ 10.78 เมื่อเทียบกับปกอน เนื่องจากความต้องการใชภายในประเทศเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษลดลงค่อนข้างมาก ทั้งนี้ การนําเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษส่วนใหญ่จะเป็นการนําเข้าในกลุ่มสินค้าที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้ อาทิ เยื่อกระดาษใยยาวและกระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศแคนาดา สหรัฐเมริกา ญี่ปุน แอฟริกาใต้ ชิลีและ สวีเดน ประกอบกับการนําเข้ากระดาษบางประเภท ได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียน ซึ่งมีราคาต่ำกว่ากระดาษที่ผลิตได้ในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต คือเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ลดลง

2. กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ปี 2556 มีมูลค่าการนำเข้า 1,542.76 ลานเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน (ตารางที่ 3) โดยกระดาษและกระดาษแข็งมีสัดส่วนการนำเข้ามากที่สุด ร้อยละ 55.96 ของการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รองลงมา คือ กระดาษพิมพเขียน กระดาษและผลิตภัณฑกระดาษอื่น ๆ กระดาษคราฟท์และกระดาษหนังสือพิมพ์มีสัดส่วน ร้อยละ 16.47 15.96 7.27 และ 4.33 ตามลําดับ อย่างไรก็ตาม มีการนําเข้ากระดาษพิมพ์เขียนจากประเทศจีนจํานวนมากมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เนื่องจากมีราคาถูกกว่าภายในประเทศ

3. สิ่งพิมพ์ ปี 2556 มีมูลค่าการนำเขา 252.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการนําเข้าสิ่งพิมพโฆษณาทางการค้า แค็ตตาล็อกทางการค้า รายการหนังสือและสิ่งตีพิมพ์ทางการศึกษา วิชาการ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรม โดยตลาดนําเข้าหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุน จีน และสหราชอาณาจักร มีสัดส่วนร้อยละ 22.09 18.86 12.86 และ 9.44 ตามลําดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างอัตราอากรขาเข้าสินค้าในกลุมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 โดยยกเวนอากรขาเข้าปจจัยการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ จํานวน 6 ประเภทย่อยได้แก่ ผลิตภัณฑและของที่ทําด้วยสิ่งทอจํานวน 3 ประเภทย่อย คือ ประเภทย่อย 5911.10.00 5911.31.00 และ 5911.32.00 และผลิตภัณฑ์เซรามิกสําหรับใชตามหองปฏิบัติการใช้ในทางเคมีหรือในทางเทคนิคอยางอื่นจํานวน 3 ประเภทย่อย คือ ประเภทย่อย 6909.11.00 6909.12.00 และ 6909.19.00 เพื่อเปนการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบกับผูประกอบการผลิตในประเทศเพื่อลดตนทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผูประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศที่ใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตดังกลาวในการผลิตสินค้า ทั้งนี้ การดําเนินการดังกล่าวภาครัฐจะสูญเสียรายไดจากภาษีศุลกากรแต่เมื่อพิจารณาถึงผลประโยชนในภาพรวมที่ประเทศจะไดรับแล้วจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในประเทศให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น

สรุป

ภาวะการผลิต ป 2556 เมื่อเทียบกับปกอน ปรับตัวลดลงในกลุมเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพเขียน และกระดาษลูกฟูก แตมีการผลิตเพิ่มขึ้น ในกลุมกระดาษแข็ง และกระดาษคราฟท สวนใหญจะขยายตัวตามปริมาณความตองการใชในอุตสาหกรรมตอเนื่อง ยกเวนกระดาษพิมพเขียน ซึ่งไดรับผลกระทบจากการนําเขากระดาษพิมพเขียนจากจีน ที่มีราคาสินคาต่ำกวาราคาสินคาที่ผลิตไดภายในประเทศ ประกอบกับราคาตนทุนวัตถุดิบ (ยูคาลิปตัส) ปรับตัวสูงขึ้นจากการที่เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนที่มีผลตอบแทนสูงกวา สงผลใหผูประกอบการในประเทศลดปริมาณการผลิตลง

สวนการสงออกเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน เปนผลจากคําสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากตลาดหลักไดแกจีน ฝรั่งเศส เวียดนาม เกาหลีใตและอินโดนีเซียซึ่งผูประกอบการไทยสามารถรักษาฐานการสงออกไปยังประเทศดังกลาวที่มีแนวโนมการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยางตอเนื่องอยางไรก็ตาม ยังคงมีปจจัยเสี่ยงจากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ราคาวัตถุดิบ ตลอดจนการปรับคาจางแรงงานตั้งแตตนปที่ผานมาไดสงผลกระทบตอการลงทุนและตนทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น สงผลใหการสงออกโดยเฉพาะกระดาษและผลิตภัณฑกระดาษอื่น ๆ มีทิศทางปรับตัวลดลง

แนวโนม

ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพป 2557 คาดวา การผลิตทั้งเยื่อกระดาษและกระดาษโดยรวม จะขยายตัวตามวัฏจักรเศรษฐกิจและมีทิศทางเดียวกันกับป 2556 สําหรับการสงออกเยื่อกระดาษและสิ่งพิมพมีแนวโนมขยายตัวแมวาจะมีการใชสื่อดิจิทัลอยางกวางขวาง แตกระดาษยังคงเปนที่ตองการใชในชีวิตประจําวันของผูบริโภค โดยเฉพาะบรรจุภัณฑเพื่อการบริโภคและอุปโภค ซึ่งผูประกอบการจะตองมีการวิจัยพัฒนานวัตกรรมและออกแบบใหม ๆ ใหสอดรับกับพฤติกรรมความตองการของผูบริโภคและกระแสอนุรักษดานสิ่งแวดลอมทั้งในและตางประเทศ

ที่มา

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดย มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา

ขอบคุณรูปภาพจาก https://stanglibrary.files.wordpress.com/

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: