สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทางครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่กังวลมากที่สุดคือการชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน ร้อยละ 76.09 รองลงมาคือ เรื่องทรัพยากรป่าไม้ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เพื่อก่อสร้างโครงการ ร้อยละ 67.00 ระดับเสียงดัง และแรงสั่นสะเทือน ร้อยละ 66.80
11 ส.ค. 2558 เว็บไซต์โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ เปิดเผย รายงานสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมาโดยระบุว่าการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 1 เป็นการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทุกภาคส่วนเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับฟังการน าเสนอข้อมูลความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ ขอบเขตการศึกษา โครงการ แนวเส้นทางเลือกศึกษาและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ (4 แนวทางเลือก) จุดตัดและรูปแบบการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น อันน ามาสู่การน ามาพิจารณาประกอบการศึกษาโครงการให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับพื้นที่และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด
โดยการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งสิ้น 873 คน ประกอบด้วย ณ ห้องประชุมอ าเภอเมืองเชียงใหม่ ที่ว่าการอ าเภอเมืองเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 71 คน ณ ห้องประชุมชั้น 2 ที่ว่าการอ าเภอสารภีมีผู้เข้าร่วมประชุมจ านวน 137 คน ณ หอประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 256 คน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน อำเภอแม่ทา มีผู้เข้าร่วมประชุมจ านวน 58 คน ณ หอประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอห้างฉัตรมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 63 คน ณ ห้องประชุมราชาวดี เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 144 คน ณ หอประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอแม่ทะ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 42 คน ณ หอประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 29 คน ณ หอประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอลอง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 21 คน ณ ห้องประชุมอำเภอ ที่ว่าการอำเภอเด่นชัย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 37 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ : สถาบันการศึกษา 10 ราย ศาสนสถาน 6 ราย สถานพยาบาล 6 ราย ผู้ประกอบการริมทางโครงการ 9 ราย และประชาชน 523 ราย หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และบริษัทที่ปรึกษา จำนวน 15 ราย หน่วยงานราชการในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 273 ราย NGO ด้านสิ่งแวดล้อม/องค์กรพัฒนาเอกชน 10 ราย
จากผลการสำรวจความคิดเห็นการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ได้รับผลกระทบตามแนวเส้นทาง ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบระบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2558 เพื่อศึกษาแนวเส้นทางและเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 จังหวัด 10 อำเภอ คือ 1. จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย อำเภอเด่นชัย และอำเภอลอง 2. จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย อำเภอแม่เมาะ อำเภอแม่ทะ อำเภอเมืองล าปาง และอำเภอห้างฉัตร 3. จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย อำเภอแม่ทา และอำเภอเมืองลำพูน และ 4. จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย อำเภอสารภี และอำเภอเมืองเชียงใหม่
พบว่ามีผู้เข้าร่วมการประชุม 873 คน ในจำนวนนี้มีผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็น จำนวน 506 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.96 ของผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด) โดยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ร้อยละ 85.18 เห็นด้วย เพราะ ระบบรถไฟเดิมมีความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้การเดินทาง การขนส่งสินค้า การคมนาคมมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว สามารถเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้โดยระบบรถสาธารณะ ลดเวลาในการเดินทาง ประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นทางเลือกในการเดินทาง ลดปริมาณการใช้รถยนต์บนท้องถนน ลดปัญหาการจราจรติดขัดลดอุบัติเหตุมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการพัฒนารถไฟรูปแบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้ามาใช้ นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น มีอาชีพรองรับ ช่วยพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้า ทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่อาเซียน ลดปัญหามลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นระบบเศรษฐกิจในประเทศ ในทางตรงข้ามไม่เห็นด้วยกับการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ร้อยละ 6.32 เพราะ การคมนาคมพลุกพล่าน รู้สึกไม่มีความปลอดภัย ส่งผลต่อการประกอบอาชีพ การลงทุน การประกอบธุรกิจ เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมากในการลงทุน ทำให้ค่าโดยสารมีราคาสูง เป็นผลให้ประเทศอื่นขาดแรงจูงใจในการลงทุน และที่สำคัญการถูกเวนคืนมีผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว เนื่องจากทำให้ผู้ถูกเวนคืนไม่มีที่อยู่อาศัย หรือการหาที่อยู่อาศัยใหม่ในอนาคตที่มีความสะดวกสบายเหมือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งค่าชดเชยที่ได้รับจาการเวนคืนอาจไม่เพียงพอที่จะไปหาที่อยู่อาศัยใหม่ได้เช่นเดิม ดังนั้น การดำเนินการโครงการจึงไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนโดยแนวทางเลือกที่ผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะสมมากที่สุดคือ แนวทางเลือกที่ 4 ร้อยละ 43.08 แนวทางเลือกที่ 3 ร้อยละ 20.16 แนวทางเลือกที่ 2 ร้อยละ 9.88 และแนวทางเลือกที่ 1 ร้อยละ 3.95 ตามลำดับ
ในด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น การพัฒนารถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นส่วนใหญ่มีความกังวลในเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนารถไฟทางคู่ โดยผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนส่วนใหญ่กังวลมากที่สุดคือการชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน ร้อยละ 76.09 รองลงมาคือ เรื่องทรัพยากรป่าไม้ การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เพื่อก่อสร้างโครงการ ร้อยละ 67.00 ระดับเสียงดัง และแรงสั่นสะเทือน ร้อยละ 66.80 การฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง/มลพิษทางอากาศ ร้อยละ 64.43 ผลกระทบด้านการคมนาคมขนส่งในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุและการจราจรติดขัดบริเวณการก่อสร้างโครงการ ร้อยละ 67.71 การกีดขวางการจราจรระหว่างก่อสร้าง ร้อยละ 57.51 ผลกระทบต่อแหล่งโบราณสถาน สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ร้อยละ 44.07 ผลกระทบด้านการระบายน้ำในเรื่องปัญหาการกีดขวางการไหลของน้ำ ร้อยละ 42.09 ผลกระทบเรื่องของการแบ่งแยกชุมชนเนื่องจากแนวทางรถไฟ ร้อยละ 41.30 และผลกระทบทางด้านคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง ร้อยละ 32.81 ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ร้อยละ 32.02 ตามลำดับ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ