การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาของตัวรัฐธรรมนูญเพื่อให้การจัดการการปกครองของรัฐ เป็นไปในลักษณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามบริบททางสังคมที่ก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่โดยตลอดนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ซึ่งหากเจตนารมณ์ในการแก้ไขปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อให้การปกครองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ย่อมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิผลแก่ประชาชนในชาตินั้นๆ นั่นคือการมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี
หากตรรกะดังกล่าวเป็นจริง ประชากรของประเทศที่มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ย่อมต้องอยู่ดีกินดีกว่าประเทศที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อ TCIJ ทำการเปรียบเทียบระหว่าง จำนวนครั้งของการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญกับค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากร (GDP per capita) ซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้วัดมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ กลับพบว่า ประเทศที่เปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยๆ ไม่สามารถที่จะพัฒนามาตรฐานการครองชีพได้อย่างที่ควรจะเป็น
เป็นไปได้หรือไม่ว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง คือภาพสะท้อนถึงการไร้ซึ่งเสถียรภาพ ทางการเมืองและเศรษฐกิจ อันเกิดจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างชนชั้นนำในสังคม ที่ต้องการชิงความได้เปรียบในการจัดการปกครองเมื่อพวกพ้องของตนได้อำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ