วิจัยชี้ ติดเชื้อดื้อยา สาเหตุหลักป่วยหนักหลังเข้า รพ.

20 มิ.ย. 2558 | อ่านแล้ว 4773 ครั้ง


	วิจัยชี้ ติดเชื้อดื้อยา สาเหตุหลักป่วยหนักหลังเข้า รพ.

งานวิจัยทางการแพทย์พบสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลหลังเข้ารับการรักษาคือ ติดเชื้อดื้อยา พบผู้ป่วยติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมีจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือการติดเชื้อจากในทางเดินปัสวะจากการคาสายปัสวะ (ขอบคุณภาพจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,hospitalforsalelease)

20 มิ.ย.58 สำนักข่าวhfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ เผยแพร่ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อ้างอิงงานวิจัยการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย Prevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Units  พบว่า สาเหตุหลักของของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในโรงพยาบาลมาจากการติดเชื้อดื้อยา

สำหรับ 3 สาเหตุแรก ของการติดเชื้อที่พบใน โรงพยาบาล คือ

1.ติดเชื้อจากปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 1,578 ราย มีค่าใช้จ่ายในการรักษต่อครั้งอยู่ที่ 19,477.00 บาท
2.ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ 893 ราย มีค่าใช้จ่ายในการรักษต่อครั้งอยู่ที่  9,313.84 บาท
3.ติดเชื้อที่กระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือด 176 ราย มีค่าใช้จ่ายในการรักษต่อครั้งอยู่ที่ 14,462.39 บาท

 

วิธีรับมือและป้องกัน

1.ผู้บริหาร โรงพยาบาล

มีนโยบายชัดเจน กระตุ้นบุคลากรให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อมติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง

2.เฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยา

มีการวินิจฉัยเชื้อดื้อยาตามเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมติดตามและวิเคราะห์ผลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งค้นหาการระบาดของเชื้อดื้อยาด้วย

3.ให้ความรู้แก่บุคลากร รพ. ผู้ป่วยและญาติ

เพื่อเข้าใจและเห็นความสำคัญของปัญหา พร้อมส่งเสริมให้มีพฤติกรรมป้องกันเชื้อดื้อยาอย่างเคร่งครัด เช่น การทำความสะอาดมือ การเก็บสิ่งส่งตรวจ ฯลฯ

4.การใช้ยาต้านจุลชีพ

จัดทำแนวทางการรักษาการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่าง เหมาะสม เช่น การกำหนดเงื่อนไขการสั่งใช้ยาให้ชัดเจน มีระบบกำกับและติดตามการใช้ยา ฯลฯ

5.ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

หากพบผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยทั้งเจ้าหน้าที่และญาติ ควรป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเคร่งครัด โดยการสวมอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น ถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก แว่นตา เสื้อคลุม ฯลฯ ไม่ใช้อุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยซ้ำ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ควรใส่ภาชนะมิดชิด เพื่อส่งทำความสะอาดและทำลายเชื้ออย่างเหมาะสม  

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: