เมื่อทําการวิเคราะห์ถึงข้อมูลปัจจัย เชิงสาเหตุแล้วจะพบว่า “เด็กซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว” อาทิได้ทํากิจกรรมกับครอบครัวได้รับ การชื่นชมเมื่อทําดีได้รับการใส่ใจดูแลจากครอบครัว ฯลฯ บ่อยครั้งถึงเป็นประจํา มีแนวโน้มที่จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเฉลี่ยดีกว่าเด็กซึ่งครอบครัวห่างเหินกัน ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าเด็กซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับ ครอบครัวมีแนวโน้มในทางพฤติกรรมเสี่ยงอาทิการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เล่น พนัน ฯลฯ ที่น้อยกว่าเด็กซึ่งครอบครัวห่างเหินกัน และจากข้อมูลดังกล่าวนี้เองย่อมสะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยในมิติด้านครอบครัวนี้เองที่มีส่วนสําคัญและส่งผลต่อระดับสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนของเราอย่างมีนัยยะสําคัญ ซึ่งหากพ่อแม่ผู้ปกครองในปัจจุบันในฐานะ “รั้วแรก” ให้เวลาแสดงความรัก ใส่ใจเพื่อพูดคุย และทํากิจกรรมร่วมกันกับบุตรหลานของตนให้บ่อยครั้งยิ่งขึ้น เด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยสร้างด้านครอบครัวเช่นนี้ก็ย่อมห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายที่จะเข้ามาทําร้ายและอาจนําพาเด็กไปสู่ทางเสี่ยงเด็กได้ โดยในท้ายที่สุดแล้วเด็กเหล่านี้ก็จะสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ต่อไป
ที่มา : Child Watch
จำนวนประชากรเด็กและเยาวชนปี 2556
22.39 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34.74 ของประชากรทั้งประเทศ
เด็ก 14.9 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 23.16
เยาวชน 7.5 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 11.59
ที่มา : kapook.com
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ