ปมปั่นราคาที่ดินดึง‘นิคมฮาลาล’ฝันค้าง รัฐหวังแค่ทางผ่านดัน‘เซาท์เทิร์นซีบอร์ด’

รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด ศูนย์ข่าว TCIJ 14 ก.พ. 2557 | อ่านแล้ว 3525 ครั้ง

หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 กระทั่งปัจจุบัน “โครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” ที่จ.ปัตตานี คืบหน้าไปได้ไม่มากนัก ทั้งที่ส่วนหนึ่งเป็นความต้องการของคนในท้องถิ่น ที่คาดหวังว่าหากมีนิคมฯ แห่งนี้เกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อคนในท้องถิ่น มีการจ้างงานเกิดขึ้น และทำให้แรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซีย กลับมาทำงานที่บ้าน ขณะที่มุมมองที่แตกต่างออกไปกลับมองว่า ค่าแรงขั้นต่ำในเมืองไทยวันละ 300 บาท ไม่เพียงพอที่จะดึงดูดให้คนกลับมา และแรงงานส่วนใหญ่อายุเกินกว่า 40 ปี ซึ่งไม่ได้เป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งมองว่าอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน และก่อมลพิษให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นด้วย

10 ปี ทุ่มงบหนุนเกือบ 600 ล้าน

แต่ความไม่คืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งทางความคิดของคนในชุมชน 3 จังหวัดภาคใต้ แต่อย่างใด แต่กลับถูกมองว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลที่ไม่จริงจังที่จะดำเนินการมากกว่า แม้ว่าที่ผ่านมา มีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินการในส่วนต่างๆ ไปเกือบ 600 ล้านบาทแล้วก็ตาม

ปีงบประมาณ

รายการ

อนุมัติ(ล้านบาท)

2548

จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล

รายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล

84

 

12.183

 

โครงการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง(ภายใต้ (แผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ 2552-2555)

415.14

2553

กนอ.ว่าจ้าง ม.เกษตรฯ ศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียด(โครงการเดิม)

9.02

2555

สำนักงานชลประทานที่ 17 ซ่อมแซมท่อส่งน้ำข้ามคลองน้ำจืด และท่อแยกสามทางที่เสียหายจาการถูกเผาทำลาย

36

 

รวมงบประมาณ

566.343

จริงใจจะเดินหน้าหรือแค่เป็นทางผ่านของโครงการอื่น

ขณะที่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของนิคมฯ แห่งนี้คือ การลงตรวจพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ที่จ.ปัตตานี ของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นสัญญาณของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ต้องการสานต่อนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างจริงจัง หรือเพียงเพราะนิคมฯฮาลาล เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่บรรจุในแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส) ภายใต้แผนงานพัฒนาเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งในนั้นปรากฏโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปัตตานี และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับท่าเรือน้ำลึก นั่นหมายความว่า หากโครงการนิคมฯ แห่งนี้ เดินหน้าอย่างจริงจังโครงการท่าเรือน้ำลึกปัตตานี อาจเป็นโครงการต่อไปที่ตามมา

ปมขัดแย้งกว้านซื้อที่ดิน

นอกจากข้อสันนิษฐานข้างต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ถูกจับตามองว่า นิคมฯฮาลาลสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ปัตตานี นั่นคือ ความผันผวนของราคาที่ดิน จนหลายรายผันแปรเป็นความขัดแย้ง ในการกว้านซื้อที่ดินทั้งข้ออ้างว่าเพื่อดำเนินโครงการนี้ หรือพื้นที่โดยรอบ ที่จะเปลี่ยนจากที่ดินราคาถูกมาเป็นทำเลทองในพริบตา

รายงานวิจัย “วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการที่ดิน บริเวณลุ่มน้ำสายบุรี” ระบุว่า ที่ดินย่าน อ.ปานาเระ สายบุรี มีปัญหาสืบเนื่องจากการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล บริเวณพื้นที่ต.น้ำบ่อ บ้านท่าสู ต.บางเก่า อ.สายบุรี ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นพื้นที่ที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ในระยะที่ 1 รวม 933 ไร่ และในระยะที่สองอีกประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะสร้างที่ไหน

งานวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มทุนซื้อไปแล้วในหลายพื้นที่ ที่ดินได้หลุดมือจากชาวบ้านไปอยู่ในมือกลุ่มทุนหลาย กลุ่ม ส่วนพื้นที่สร้างนิคมฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวบ้านเดิม บางพื้นที่มีปัญหาเอกสารสิทธิทับซ้อนกัน แย่งชิงที่ดินกันอยู่แต่เดิม โดยไม่คิดว่าในอนาคตที่ดินจะเปลี่ยนมือ แต่ในระยะหลังที่ดินมีราคาสูง เมื่อมีการพัฒนานิคมฯ จึงมีการจับจองบ้าง ขายสิทธิบ้าง และมีความขัดแย้งเรื่องแนวเขตทับซ้อนกันบ้าง แม้จะมีแผนกำหนดเขตนิคมฮาลาลในเนื้อที่ 933 ไร่ แต่ความเป็นจริงสามารถทำได้เพียงสิบไร่กว่า ส่วนที่เหลือชาวบ้านไม่ยอมขาย เหตุเพราะเดิมพื้นที่ที่ชาวบ้านถือครองนั้น จะขายให้กับนายหน้าที่มาติต่อซื้อที่ดินทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในราคาเพียงไร่ละ 40,000-60,000 กว่าบาท แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ตอนหลังทราบว่า มีบริษัทในจ.ปัตตานี ต้องการซื้อที่ดินในราคาสูงกว่า โดยเสนอราคาเป็นไร่ละแสนบาท ชาวบ้านจึงไม่ขายให้นิคมฯ แม้จะกำหนดแผนไว้แล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นจากการระดมความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า ที่ดินเกิดการเปลี่ยนมือมากที่สุด นับแต่เริ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด

พื้นที่เป้าหมายโครงการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

จุดที่

สถานที่

เนื้อที่

ลักษณะพื้นที่/การใช้ประโยชน์

เอกสารสิทธ์

ผู้ขาย/สาเหตุ

ผู้ซื้อ/สาเหตุ

หมายเหตุ

1

ตำบลไม้แก่น (อ่าวละเวงถึงสายบุรี)

ระยะทางประมาณ 2.5 ก.ม.

ป่าชายหาดผสมพรุ ปลูกพืชล้มลุก เช่น แตงโมข้าวโพด มันขี้หนู

มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ(พื้นที่ฟันหลอ)

ชาวบ้านขายเนื่องจากที่ดินไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้

เดิมนายทุนซื้อเพื่อขุดทราย ปัจจุบันหยุดแล้ว อำเภอสั่งหยุด จากนั้นโครงการราชินีมาซื้อต่อ

 

2

อำเภอตากใบ ปูลาเจ๊มูดอทั้งเกาะ ในอำเภอตากใบ

 

เป็นชุมชนที่ตั้งมานานพอควร พื้นที่ยางส่วนยังมีคนอาศัยอยู่

 

ชาวประมงต้องการเงินจากการขายที่ดินเพื่อใช้จ่า/วิธีการขายต้นมะพร้า2ต้น

ซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้โดยมิได้ใช้ประโยชน์/อดีต สส.คนภาคเหนือ สุชาติ ตันเจริญ

หลักการรอบครองที่ดินใช้หลักคิด บ้านอยู่ตรงไหนเอาความยาวของที่ดินไปจนถึงสุดทะเล

3

อ.เมืองถึงตำหนักกะลุวอ เหนือ บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งหมด

ไปตามยาวริมทะเล

เดิมเป็นป่าเสม็ด มีป่ามะพร้าว

มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ

 

นายทหารนอกราชการขายโรงงานทำท่อก๊าซ ราคาประมาณ 8 หมื่นบาต่อไร่

ขายที่ดินริมชายฝั่งย้ายบ้านริมถนน

4

ต.โคกเคียน

จาก อ.เมือง ประมาณ 1 กิโลเมตร

ที่ดินชายฝั่ง ที่ดินพรุใช้ในการปลูกปาล์ม เป็นของนิคมสหกรณ์ฝ่ายผู้นำศาสนา โรงเรียนเอกชน นักการเมือง นายทุนคนมีเงิน

 

 

สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ขายให้นายทุน ซื้อเพื่อจะทำโครงการท่าน้ำลึก รีสอร์ท เพื่อรอรับการทำท่าเรือน้ำลึก สมัยรัฐบาลชวน หลักภัย เป็รโครงการของประเทศมาเลเซีย 4,000 ไร่ ติดพรุบาเจาะ

ขายไปจนถึงสนามบินบ้านทอนบางจุดเท่านั้นที่ไม่ขาย เช่า 30 ปเพื่อปลูกปาล์ม จากนั้นจะคืนจัดสรรที่ดินให้กับคนยากจนในพื้นที่ การจัดสรรที่ดินแปลงละ 18-20 ไร่ และทำเมืองใหม่

5

อ.ปะนาเระ บ้านน้ำบ่อ ท่าสู พ่อมิ่ง บ้านกลาง ท่าข้าม บางส่วนของต.บางเก่า แป้น เป็นของ อ.สายบุรี

ประมาณ 10,000 ไร่ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ราคาที่ดินไร่ละ 7 หมื่น ถึง 130,000 บาท

น้ำบ่อ พื้นที่นา สวนมะพร้าว แตงโม พื้นที่พรุสาคู ป่าเสม็ด ท่าสู พ่อมิ่งป่าเสม็ด พรุ บ้านกลางพื้นที่นา บ้านดอน

 

มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ

ชาวบ้านขายเพราะโดนบีบ/พอใจที่จะขายชาวงเปิดโครงการอาหารฮาลาล

บริษัท

มีการบีบบังคับให้ขายที่ดิน มีการตายของผู้นำ เพราะแย่งเป็นนายหน้า

6

พรุ รามัน

ประมาณ600 ไร่

บึ่งโต๊ะแนแว เป็นพื้นที่ทำนาเดิมของชาวบ้านในอดีต ปัจจุบันเป็นพื้นที่ว่างเปล่า สามารถทำโฉนด แต่อีกที่หนึ่งทำโฉนด

สค.1 แต่มีการยกเลิก

 

 

 100 กว่าราย เนื้อที่ประมาณครึ่งไร่

7

ศรีสาคร

แบ่งเป็นโซนพื้นที่นิคมกาหลง และพื้นี่ป่าที่ชาวบ้านทำสวน ราคาประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อไร่ (สำหรับพื้นที่เปล่า หากเป็นพื้นที่สวนราคาจะแพงขึ้น ประมาณ 70,000-100,000 บาทต่อไร่)

พื้นที่ภูเขา ทำสวนยางสวนผลไม้

ไม่มี

ขายเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย (กลัวโจร)

ทำสวนยาง ยุคแรทำสวนผลไม้แลพแปลงเป็นทำสวนยาง

ตั้งแต่อดีต คนสายบุรีย้ายไปอยู่กันมากที่ศรีสาคร

8

สุคิริน

 

พื้นที่ภูเขา ทำสวนยาง สวนผลไม้

ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนน้อยที่มี สค.1

ไม่มีความมั่นคงในที่ดินทำกิน เนื่องจากที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์

ซื้อทำสวนยางสวนผลไม้ สภาพของที่ดินสมบูรณ์

มาในรูปแบบมูลนิธิ เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านช่วยหาที่ดิน

9

จะแนะ

 

พื้นที่ภูเขา ทำสวนยางสวนผลไม้

 

 

หมอโอภาค สมัยสัมปทานป่าไม้ ขายต่อทหาร จัดสรรให้คนนอกพื้นที่

 

10

เมืองยะลา

พื้นที่พรุแบเมาะ เป็นพื้นที่เปล่า ถูกถมให้สูง

 

ที่ดินราคาสูง

 

เป็นการขยายพ้นที่เป็นเขตเมืองธุรกิจใหม่ เป็นโครงการสร้างบ้านอาคารพาณิชย์

 

ความไม่สงบอีกปมที่ถูกโยง

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอีกประเด็น ที่ถูกนำมาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการดำเนินการแทบทุกอย่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นคือสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ยูโซะ (นามสมมติ) ผู้นำชุมชน กล่าวถึงเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบริเวณเขตนิคมฯ ว่า ชาวบ้านโดยมากเชื่อว่าเป็นฝีมือการสร้างสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้เสียประโยชน์ทางธุรกิจ มากกว่าเป็นฝีมือของขบวนการก่อความไม่สงบ ยูโซะตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์ยิงถล่มอาคารศูนย์บริการฯ เผาทำลายสิ่งปลูกสร้าง มักเกิดในระหว่างรอยต่อรัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อมีคำสั่งเดินหน้าโครงการ เหตุการณ์ยิงถล่มด้วยอาวุธสงคราม 66 นัด เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ส่งผลให้ตัวอาคาร กระจก และฝาผนัง อาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรได้รับความเสียหายและยังไม่ได้รับการซ่อมแซมจนบัดนี้

หากย้อนรอยถอยกลับไป เมื่อต้นปี 2550 เคยเกิดเหตุการณ์ข่มขวัญในลักษณะแบบเดียวกันนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก เป็นเหตุการณ์เผาท่อน้ำขนาดใหญ่ ที่ทางนิคมฯ ฮาลาล นำมากองเตรียมต่อท่อดึงน้ำจากแม่น้ำสายบุรี มาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมฯ ส่งผลให้ผู้ดำเนินโครงการเร่งนำท่อฝังดิน ต่อท่อเชื่อมสู่แม่น้ำสายบุรีในเวลาต่อมา ครั้งต่อมาเป็นเหตุการณ์เผารถแบคโฮ ที่เข้ามาเกลี่ยพื้นที่เตรียมสร้างถนน 4 เลน เข้านิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ส่งผลให้การก่อสร้างถนนไม่คืบหน้าเท่าที่ควร กระทั่งถึงบัดนี้แม้จะมีการปักเสาไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปในพื้นที่นิคมฯฮาลาลเสร็จไปแล้วก็ตาม แต่ทุกอย่างก็ยังสงบเงียบ และไม่มีทีท่าว่าจะเดินหน้าต่อไปเมื่อใด กระทั่งล่าสุด ที่มีเสียงตอบรับอย่างชัดเจนจากประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะให้เกิดนิคมฯ ฮาลาลภาคเหนือขึ้น และดูแนวโน้มจะเป็นจริงมากขึ้นด้วย

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: