เบื้องหลังชุดทหารอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

24 ก.พ. 2558


1. สีกากีเกิดขึ้นครั้งแรกในอินเดีย

คำว่า กากี เป็นภาษาฮินดู Harry Lumsden (ผู้ก่อตั้งหน่วยทหาร cops of guide ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอังกฤษในอินเดีย) ถูกคาดว่าเป็นผู้เริ่มใช้สีกากีในชุดทหารในปีค.ศ. 1846  เขาใช้ผ้าขาวที่ได้มาจาก Lahore (เมืองหลวงของรัฐปันจาบ ปากีสถาน) นำไปคลุกกับโคลน เพราะเชื่อว่าสีกากีจะทำให้พลทหารกลมกลืนในดินแดนแห่งโคลน ส่งผลให้หลังสงครามโลกครั้งหนึ่ง ชุดกองทัพอังกฤษได้เปลี่ยนจากสัแดงเป็นสีกากีจนถึงปัจจุบัน

2. สีย้อมกากีของอังกฤษมาจากเยอรมัน

ก่อนสงครามโลก เยอรมันคือศูนย์กลางอุตสาหกรรมแหล่งย้อมสีสังเคราะห์ ภายในปีค.ศ. 1913 เยอรมันส่งสีย้อมสังเคราะห์เข้าประเทศอังกฤษมากขึ้นเป็นยี่สิบเท่า และในช่วงสงคราม สีย้อมในอังกฤษทั้งหมดถูกผลิตขึ้นในเยอรมัน ซึ่งในช่วงแรกเป็นการนำเข้าอย่างลับๆ

3. สีกากีผลิตไม่ทัน ต้องใช้สี “Kitchener Blue” หรือสีกรมท่า

เมื่อปีค.ศ. 1914 ชุดทหารสีกรมท่าเข้ามาแทนที่ชุดสีกากีเพราะสีย้อมกากีขาดสต๊อค กรมทหารจึงตัดสินใจให้ทหารใหม่ใส่ชุดสีกรมท่าในช่วงเปิดสงครามอาทิตย์แรก พวกเขาต้องสั่งชุดชุดยูนิฟอร์มสีกรมท่าห้าแสนตัวจากคลังของไปรษณีย์ ซึ่งก็คือการนำชุดยูนิฟอร์มของบุรุษไปรษณีย์มาย้อมสีกรมท่า และต้องสั่งโค้ทห้าแสนตัวจากตลาดใหญ่ นอกจากนั้นกรมทหารอังกฤษยังต้องสั่งแจ็กเกต และกางเกงสีกรมท่าจำนวนมากจากแคนาดา และอเมริกา

4. ยูนิฟอร์มส่วนใหญ่ไม่ได้ผลิตโดยทหาร

เกิดความต้องการมากขึ้น กรมทหารไม่สามารถผลิตให้เท่ากับความต้องการได้ ทำให้ในปีค.ศ. 1914 ผู้บัญชาการทหารของอังกฤษจึงตกลงทำสัญญา 'Khaki Contracts' กับบริษัทเสื้อผ้าของอังกฤษ ซึ่งตัดสินโดยการประมูลสาธารณะ ทำให้สงครามกลายเป็นเรื่องที่ดีและทำกำไรสำหรับธุรกิจเสื้อผ้าในยุคนั้น

5. ลายและสีถักนิตติ้งถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

ด้วยสาเหตุที่พลเมืองวุ่นกับการถักนิตติ้ง เพื่อทำถุงเท้า ถุงมือ แจกเก็ต หมวก สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือน กำลังใจให้เหล่าทหาร จนกลายเป็นกระแสที่รุนแรงมาก ส่งผลให้ทางการทหารเริ่มไม่สบายใจกับเสื้อผ้านิตติ้งหลายสีสัน หลากรูปทรงที่ทหารได้รับ จนกระทั่งพวกเขาสั่งให้พลเมืองต้องใช้ด้ายสีกากีในการถักนิตติ้งเท่านั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ให้หลังได้ไม่นาน ประชาชนไม่พอใจ กระทั่งขู่ว่าจะออกมาเปิดโปงกองทัพ ทำให้กองทัพยอมผ่อนปรน และประกาศให้ใช้ด้ายสีกรมท่าได้เพิ่มอีกหนึ่งสี 

6. ทหารแนวหน้าในฝั่งตะวันตกใส่ผ้าโพกหัว

ก่อนช่วงพฤศจิกายน ค.ศ. 1914 หนึ่งส่วนสามของทหารกองทัพอังกฤษที่ประจำการในตะวันตกมาจากอินเดียและเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรบนอกประเทศของอินเดีย พวกเขาใส่ผ้าโพกฟัว ที่มีผ้าต่อยาวถึงเข่า รวมถึงทหารชาวชิกส์เช่นกัน การแต่งการของพวกเขาสื่อให้เห็นถึงลำดับชั้นว่าเป็นแค่พลหทารชั้นล่างในแนวหน้าตะวันตกเท่านั้น 

7. Trench Coat ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

อาจไม่ถูกทั้งหมดที่จะกล่าวแบบนี้ เพราะเสื้อโค้ทแบบกันน้ำมีมาตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แล้ว แต่ Trench Coat กลับมาได้รับความนิยมและถูกกลับมาใช้อย่างแพร่หลายหลังจากการใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งTrench coat เป็นชิ้นส่วนเสื้อผ้าที่ทหารประจำการแนวหน้าแถบตะวันตกเลือกใส่ ในช่วงแรกมีการจัดสรรเสื้อโค้ตอีกแบบหนึ่งให้ทหาร แต่เนื้อกลับหนักเกินกว่าที่จะโดนฝนและโคลน หลังจากที่บริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าให้ทหารล่มไป  ทำให้บริษัทเสื้อผ้าเอกชนต้องผลิตให้แทน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แบรนด์อย่าง  Burberry and Aquascutum ผลิต Trench Coat ออกมาอย่างหลากหลายน้ำหนักของเสื้อโค้ตที่เบาสบายนี้เป็นเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวให้กับทหารได้เป็นอย่างดี 

8. ผู้ปฏิเสธการเป็นทหารถูกใช้กำลังบังคับให้ใส่ชุดทหาร

Conscientious Objectors (CO) หรือผู้ปฏิเสธเข้ารับการเป็นทหารจะถูกจับกุม เนื่องจากไม่ตอบรับเข้าเป็นทหาร ซึ่ง CO ก็มักจะปฏิเสธการใส่ชุดทหารด้วยเช่นกัน พวกเขาอาจได้รับโทษหนักถึงจำคุกเลยทีเดียว CO มักจะปฏิเสธการเข้าตรวจร่างกาย และบ่อยครั้งที่พวกเขาอาจจะโดนใช้กำลังให้ถอดเสื้อผ้าและสวมชุดทหารเพื่อทำให้อับอาย

9. ทางการสนับสนุนค่าชุดให้ทหาร

ในขณะที่สงครามดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง กองทัพอังกฤษก็เริ่มเห็นความจำเป็นในการสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายในการตัดชุดของพลทหารใหม่จำนวนมากที่ไม่มีเงิน เพื่อตัดความกังวลใจดังกล่าว กองทัพอังกฤษจึงต้องออกค่าชุดให้

10. ทางการแจกเสื้อผ้ากว่า 1 ล้านชุดในแก่ทหารปลดประจำการหลังสงครามยุติ

โดยทางกฎหมายแล้ว ทหารไม่สามารถใส่ชุดทหารได้หลังจากที่ปลดประจำการแล้วเกิน 28 วัน เพราะฉะนั้น Royal army clothing department จึงจะจัดชุดไปรเวทไว้ให้พลทหารเหล่านี้ ก่อนที่ออกจากหน่วยประจำการ ทหารเหล่านี้จะได้รับชุดไปรเวทและใบรับรองการเป็นทหาร เมื่อพวกเขาไปถึงศุนย์ปลดประจำการ เขาจะได้รับใบประกาศนียบัตร ตั๋วรถไฟ เชคเงิน ตั๋วอาหารสำหรับสองอาทิตย์ และ Voucher สำหรับคืนเสื้อโค้ต พวกเขาสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินไปซื้อเสื้อผ้าหรือรับเสื้อผ้าแบบธรรมดาไป กองทัพได้แจกชุดถึง 1,413,760 ตัวซึ่งมีสีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลและเทา ให้แก่ทหารปลดประจำการหลักสงครามสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม สื่อก็ออกมาวิพากษ์กองทัพเกี่ยวกับคุณภาพของชุดเหล่านี้ว่า คุณภาพแย่มาก ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติเหล่าทหารกล้าที่เพิ่งกลับจากสงครามเลย

 

ที่มา: www.historyextra.com (The official website of BBC History Magazine)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: