หลายฝ่ายยังห่วงจุดอ่อน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ

26 ก.พ. 2558 | อ่านแล้ว 2326 ครั้ง

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ​กรณีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มีเรื่องน่าเป็นห่วง​3 เรื่อง คือ 1.ระยะห่างระหว่างการชุมนุมกับสถานที่สำคัญต้องอยู่ห่าง 150 เมตร จากสถานที่สำคัญ อาทิ ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ฯลฯ  2.การขออนุญาตเพื่อชุมนุมล่วงหน้าอาจมีปัญหารายละเอียดในการขออนุญาต ซึ่งน่าจะมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้ และ 3. การดูแลผู้ชุมนุมที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมอย่างไรก็ตามเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่เป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากยังสามารถเข้าร้องเรียนกับทางราชการได้

 “สนช.มีความเห็นตรงกันว่าการชุมนุมจะต้องปราศจากอาวุธ และผู้ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษที่หนักกว่าความผิดอื่นเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้รูปแบบการชุมนุมเปลี่ยนแปลงไปเพราะการบังคับใช้กฎหมายกับบทบัญญัติเป็นคนละเรื่องกัน สังคมไทยมีความยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ได้ ซึ่งการพิจารณากฎหมายเป็นหน้าที่และเอกสิทธิของสนช.ในการพิจารณาอย่างเต็มที่ แม้กฎหมายนี้จะผ่านสนช.แล้ว จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกแล้ว”นายวัลลภ กล่าว

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ... ดังกล่าว ในประเด็นเกี่ยวกับนิยามของผู้จัดการชุมนุมที่เปิดโอกาสให้มีการตีความอย่างกว้างขวาง, การจำกัดพื้นที่และระยะห่างในการชุมนุม, การวินิจฉัยว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่, เขตอำนาจศาลที่จะตรวจสอบการใช้เสรีภาพในการชุมนุม และการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบริหารจัดการและเข้าควบคุมการชุมนุม และแนวทางการบริหารจัดการการชุมนุมสาธารณะเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ร่วมชุมนุม โดยมีรายละเอียดข้อสังเกต ดังนี้

1. นิยามของผู้จัดการชุมนุม หมายถึง ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะและหมายความรวมถึงผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะ และผู้ซึ่งเชิญชวนหรือนัดให้ผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมสาธารณะโดยแสดงออกหรือมีพฤติการณ์ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้จัดหรือร่วมจัดให้มีการชุมนุมนั้น การให้นิยามเกี่ยวกับการเป็นผู้จัดการชุมนุมในร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะเป็นการให้ความหมายเพื่อการตีความอย่างกว้าง ซึ่งอาจส่งผลต่อการที่ต้องรับผิดหากการชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2. การจำกัดพื้นที่และระยะห่างในการชุมนุมตามมาตรา 7  ห้ามชุมนุมในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ภายในรัศมี 150 เมตร ห้ามชุมนุมในรัฐสภา ทำเนียบ และศาลเว้นแต่จะจัดพื้นที่ไว้เพื่อสำหรับการชุมนุมซึ่งอาจส่งผลให้การชุมนุมไม่บรรลุเป้าหมายของการชุมนุมเพราะในวรรคท้ายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจสามารถสั่งห้ามการชุมนุมในพื้นที่ในรัศมีไม่เกิน 50 เมตรแม้เป็นพื้นที่ที่จัดให้ชุมนุมได้

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: