ชาญชัย ชัยสุขโกศล เสนองานวิจัยเรื่อง “Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย : ทางเลือกวิธีตอบโต้ทางการเมือง” (Hate Speech & Harmful Information : Alternatives for Political Response) นำเสนอด้านมืดของอินเทอร์เน็ตและประสบการณ์การรับมือของต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. “สันติวิธีและความรุนแรง ในสังคมไทย" เสนอประเด็นเรื่อง Harmful Information หรือ Do Harm Information หรือข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย หมายถึง ข้อมูลที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพ เช่น วิธีการสร้างระเบิด วิธีการปรุงยาพิษด้วยสารเคมีที่ซื้อได้จากร้านทั่วไป เช่น The Anarchist Cookbook/ The Mujahedeen Poisons Handbooks ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาควบคู่กับ Hate Speech และตั้งคำถามว่าควรทำอย่างไรเมื่อข้อมูลเหล่านี้เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
โดยวิธีคิดในการรับมือมีกรอบใหญ่ 2 แบบคือ
- เซ็นเซอร์ทางกฏหมาย เป็นการรับมือที่ใช้ในปัจจุบันต่อ Hate Speech โดยการตรวจจับและเซ็นเซอร์ แต่ชาญชัยก็เห็นว่าการตรวจจับและเซ็นเซอร์นั้นไม่จำเป็น แต่ทางเลือกในการโต้ตอบคือการใช้ข้อ
- ปฏิบัติการทางการเมือง Political action การใช้การโต้ตอบในรูปแบบอื่นๆ เช่น Counter speech อารยะขัดขืนอิเล็กโทรนิค และการป่วนทางวัฒนธรรม
ที่มา : สไลด์นำเสนอ "Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย : ทางเลือกวิธีตอบโต้ทางการเมือง"
ในงานวิจัยเริ่มต้นจากการชี้ชวนให้ลองหันมาพิจารณาด้านมืดของอินเทอร์เน็ตและสังคมข้อมูล ข่าวสาร โดยพิจารณา 2 เรื่องสำาคัญ คือ สิ่งที่บทความนี้เรียกว่า Hate Speech และข้อมูลข่าวสารที่เป็น อันตราย (Harmful Information) ซึ่งอันที่จริงแล้ว เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก่อนมี อินเทอร์เน็ตด้วยซำ้า แต่อินเทอร์เน็ตและสังคมยุคข้อมูลข่าวสารทำาให้ทั้งสองประเด็นนี้มีลักษณะที่เปลี่ยนไปเล็ก น้อย และจำาเป็นต้องช่วยกันขบคิดให้มากยิ่งขึ้นถึงท่าทีและวิธีการรับมือหรือตอบโต้กับทั้งสองเรื่องนี้ เพื่อให้ เห็นทางเลือกอื่นๆที่เป็นไปได้ มากกว่าเพียงแค่การใช้ความรุนแรงโต้กลับหรือการปิดกั้นเซ็นเซอร์ อันเป็นทาง เลือกที่คิดถึงกันทั่วไป
โดยชาญชัย ชัยสุขโกศล เสนอว่า ทางเลือกทั้งสองทางที่คนมักคิดถึงกันนี้ ไม่น่าพึงปรารถนาทั้งคู่ ทางเลือกแรกที่ใช้ ความรุนแรงตอบโต้กลับนั้น รังแต่จะยิ่งทำให้วงจรความรุนแรงขยายตัวไม่จบสิ้น ส่วนทางเลือกที่สองที่เน้น การปิดกั้นเซ็นเซอร์นั้น นอกจากไม่เห็นความสำาคัญของความละเอียดในเกณฑ์วินิจฉัยการเซ็นเซอร์แล้ว ยังชวน ให้สังคมหลงประเด็นไปกับเทคนิควิธี ความก้าวหน้าและความสลับซับซ้อนของวิธีการตรวจจับและการ เซ็นเซอร์อีกมากมาย ดังที่บทความนี้ยกกรณีตัวอย่างสหรัฐและจีนมาแสดงไว้
ส่วนเรื่อง hate speech นั้น บทความนี้เดินตามแนวทางของสำานักเสรีนิยม ที่ยอมรับให้มี “ทัศนะที่ผิดพลาด” และแม้กระทั่ง hate speech อยู่ร่วมในสังคมได้ โดยเสนอว่าทางเลือกที่ดีกว่าการเซ็นเซอร์นั้น มี อย่างน้อย 3 วิธี คือ การใช้ counter speech, การทำาอารยะขัดขืนอิเล็คทรอนิคส์ และการป่วนทางวัฒนธรรม วิธีการแบบ counter speech นั้น เป็นข้อเสนอเดิมจากสำานักเสรีนิยมอยู่แล้ว ส่วนสองวิธีการหลังนั้น เป็นข้อ เสนอที่ข้าพเจ้าทดลองเสนอขึ้นในที่นี้ แม้ทั้งสองวิธีการหลังนี้จะยังมีข้อจำากัดอันเป็นสิ่งท้าทายให้ต้องคิดค้นหา ทางปิดช่องโหว่กันต่อไป แต่วิธีการทั้งสอง อันเป็นวิธีการในระดับชั้นแนวหน้าของโลกยุคข้อมูลข่าวสารชุ่มโชก ที่พาเราไป “เล่น” กับมิติเชิงเทคนิคระดับมวลชน (สำาหรับอารยะขัดขืนอิเล็คทรอนิคส์) และมิติเชิงสัญญะ (สำาหรับการป่วนทางวัฒนธรรม) ก็ช่วยเปิดจินตนาการของเราในการรับมือกับ hate speech ให้กว้างไกลมาก ยิ่งขึ้น ยิ่งเราสามารถหาทางเลือกอื่นในการรับมือกับ hate speech ได้มากเท่าใด ก็เท่ากับว่าหลักเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นและหลักการไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ก็ยิ่งได้รับการปกป้องมากขึ้นเท่านั้น
ดาวน์โหลดสไลด์นำเสนอ "Hate Speech และข้อมูลที่อันตราย ทางเลือกวิธีตอบโต้ทางการเมือง"
ดาวน์โหลดงานวิจัยฉบับเต็มที่นี่
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ