พบแนวโน้วมคนไทยเกือบครึ่งรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ขณะที่ผู้ป่วยไม่รู้สิทธิรักษาฟรี

28 ส.ค. 2558 | อ่านแล้ว 2411 ครั้ง


	พบแนวโน้วมคนไทยเกือบครึ่งรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ขณะที่ผู้ป่วยไม่รู้สิทธิรักษาฟรี

28 ส.ค.58 สำนักข่าว hfocus รายงานเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์  เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ดีดีซีโพล (DDC Poll) และการเสวนา DDC Forum เรื่อง “การตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสังคมไทย” (ขอบคุณภาพจาก www.nmt.or.th)

กรมควบคุมโรค ได้สำรวจทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง “การตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในสังคมไทย” จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3,024 ตัวอย่าง ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค 4 ภาค รวม 24 จังหวัด จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญพบว่า 

1.คนไทยยังมีความกลัว รังเกียจ กีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ไม่แสดงอาการ) และไม่แน่ใจ สูงถึงร้อยละ 48.9 

2.ในผู้ป่วยเอดส์(แสดงอาการป่วยแล้ว) คนไทยยังมีความกลัว รังเกียจ และกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 43.3 ซึ่งสูงกว่าปี 2557 ถึงร้อยละ 14.2 

3.การบังคับให้ตรวจเอชไอวี/เอดส์ ทั้งก่อนเข้าเรียน ก่อนบวช และก่อนสมัครงาน มีแนวโน้มลดลงจากปี 2557 โดยเฉพาะก่อนสมัครงานที่ลดลงจากร้อยละ73.1 เหลือร้อยละ 58.5     

4.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ มีแนวโน้มที่จะไม่บอกคนในครอบครัวว่าตนเองติดเชื้อหรือป่วยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 28.9 จากเดิมปี 2557 ที่ร้อยละ 9.1  

5.คนไทยร้อยละ 56.5 ไม่รู้ว่าทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการตรวจเอชไอวี/เอดส์ ฟรี ปีละ 2 ครั้ง   

6.คนไทยถึงร้อยละ 80.4 ไม่รู้ว่าเมื่อติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แล้ว ทุกคนมีสิทธิ์จะได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ฟรี

จากข้อมูลสถานการณ์  ปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอดส์ยังคงมีอยู่จริงในสังคม กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จึงได้กำหนดมาตรการและการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ในแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2557–2559 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ มาตรการกลุ่มแรก เน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการตีตรา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ 1.การส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐเป็นตัวอย่างในการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ภายใต้แนวคิดองค์กร “ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกันเอดส์” 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: