ไล่รื้อริมคลองกรุงเทพ ชาวบ้านหลายหมื่นคนเสี่ยงสูญอาชีพเดิม

30 ก.ย. 2558 | อ่านแล้ว 4346 ครั้ง


	ไล่รื้อริมคลองกรุงเทพ ชาวบ้านหลายหมื่นคนเสี่ยงสูญอาชีพเดิม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุการไล่รื้อเพื่อพัฒนาริมคลอง 9 สายหลักของกรุงเทพมหานครเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมแค่การย้ายความเสี่ยง ใช้งบประมาณราว 10.2 ล้านบาท ทำชาวบ้านกว่าหมื่นคนสูญงานเดิม (ที่มาภาพข่าว: เพจคนคูคลอง)

30 ก.ย. 2558 เพจคนคูคลองรายงานเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมาว่าจากข่าวการปรับปรุงพื้นที่ริมคอลงทั้ง 9 สายหลักของกรุงเทพมหานครเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยหนึ่งในนโยบายคือ การขยายพื้นที่คลองให้กว้างขึ้น ผลให้เกิดการไร่ลื้อชุมชนริมคลิงทั้ง 9 สาย กระทบต่อชาวบ้านหลายหมื่นคนที่อาศัยริมคอลง 

ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว่าถึงการพัฒนาพื้นที่คลองเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมว่า ที่จำเป็นต้องนำมาชั่งน้ำหนักกันระหว่างผลได้และผลเสีย ซึ่งนำไปสู่การคิดหาแนวทางการลดผลกระทบ ในแบบวิน-วิน ไม่มีใครได้ทั้งหมดและสูญเสียทุกอย่าง

“ถ้าย้ายคนออกจากพื้นที่จะกระทบยังไง เราก็คำนวณออกมาเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายจากการย้ายบ้าน เช่น ค่าหาที่เรียนใหม่ให้ลูก หางานใหม่ หรือต้องให้สมาชิกบางคนในครอบครัวย้ายกลับไปอยู่ต่างจังหวัด  และเมื่อคำนวณพบว่า ต่อหลังจะมีรายจ่ายประมาณ 170,000 บาท เฉพาะค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการย้ายบ้าน 6,000 ครัวเรือนก็คูณเข้าไป นี่คือความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่” 

เริ่มต้นจากตัวตั้งในการคิดเรื่องคน คลอง และเมือง นั่นก็คือประโยชน์สาธารณะ คำนี้จึงไม่ใช่การทำทำเพื่อคนจน เพื่อสำนักระบายน้ำ หรือเพื่อรัฐบาล เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากต้องกินความผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ทั้งคนที่อยู่ในพื้นที่เดิม คนที่ประกอบกิจการโดยรอบ และคนเมืองทั่วไป เพราะการพัฒนาเมืองต้องคิดแบบองค์รวม มิเช่นนั้น บรรดาโครงการใด ๆ ก็จะเป็นแค่การโยกย้ายความเสี่ยงจากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้นเอง

ผศ.ดร.วิจิตรบุษบา กว่าต่อว่า ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ทำอะไรเลย แต่การพัฒนาเมืองต้องดูด้วยว่าศักยภาพที่ดินในอนาคตเป็นยังไง ไม่ใช่แค่ทำเพื่อคนรายได้น้อย แล้วให้เขาอยู่ริมน้ำไปโดยไม่คืนอะไรสังคมเลย ไม่ใช่ คนทั่วไปก็อาจจะอยากได้ระบบขนส่งที่ดีขึ้น ตรงนั้นกำลังจะมีรถไฟฟ้า เราอาจปรับใช้คลองให้เป็นระบบเชื่อมต่อการขนส่งได้มั้ย หรือทำเป็นทางจักรยาน

เมื่อต้องคำนึงถึงหลายฝ่ายและภาพอนาคตของเมือง ทางทีมวิจัยจึงพยายามคุยกับชุมชนว่าแค่ดึงชุมชนขึ้นมาจากคลองคงไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องจัดผังการใช้ที่ดินและที่อยู่อาศัยใหม่ ต้องมองศักยภาพที่ดิน เพราะหลายพื้นที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้ที่ดินราคาสูงขึ้นและจะเป็นแรงกดดันที่จะก่อให้เกิดการไล่รื้อชุมชนในอนาคต

“ถามว่าด้วยศักยภาพที่ดินตรงนั้น มันควรเป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยของคนมีรายได้น้อยอย่างเดียวหรือเปล่า ในเชิงหลักการก็ไม่ควร เราจึงพยายามใส่แนวคิดว่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างรถไฟฟ้ากับเรือได้ แล้วก็เปิดพื้นที่สาธารณะให้คนใช้คลองได้มากขึ้น ไม่ใช่เป็นชุมชนปิดอย่างที่ผ่านมา”

ขณะเดียวกันก็พยายามให้ชุมชนได้อยู่ที่เดิมให้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งคืนให้กับเมืองไปพร้อม ๆ กัน โดยชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในทุกกระบวนการ

“พอเป็นอย่างนี้การออกแบบที่อยู่อาศัยของแต่ละชุมชนจึงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของชาวบ้านและสภาพพื้นที่ ทีมอาจารย์ที่ลงไปก็บอกข้อจำกัดด้วย แต่หลักๆ คือให้ชาวบ้านมีส่วนในการตัดสินใจและมีกลไกทางสังคมออกมา เช่น ต่อไปนี้ห้ามมีบ้านเช่านะ เพราะรัฐช่วยแล้วเรื่องผลประโยชน์ก็ต้องไม่มี ไม่อย่างนั้นทำบ้านเสร็จก็ให้คนอื่นเช่า เป็นต้น”

 

 
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: