เผยครึ่งแรกของปี 2559 มีเม็ดเงินในโฆษณาดิจิทัล 4,732 ล้านบาท และคาดว่าในครึ่งปีหลังจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยประมาณการณ์ครึ่งปีหลัง 5,150 ล้านบาท ดังนั้น เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 9,883 ล้านบาท คาดการณ์ปีนี้ว่า Facebook จะมีเม็ดเงินกว่า 2,842 ล้านบาท ส่วน Youtube จะมีเม็ดเงินกว่า 1,663 ล้านบาท อีกส่วนที่ตามมาเช่นกันคือ Display Ad ซึ่งเป็นเม็ดเงินโฆษณาที่ผ่านสื่อดิจิทัลภายในประเทศ 1,620 ล้านบาท
เว็บไซต์ brandinside.asia เผยแพร่บทความ "อยากรู้มั้ย Facebook/Google ได้เงินค่า Ads ไปแค่ไหน DAAT ทำสำรวจมาให้ดูแล้ว" เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมาว่างาน DAAT day 2016 โดยสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) ร่วมกับ ทีเอ็นเอส บริษัทวิจัยได้ทำการสำรวจมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของปี 2559 ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดการณ์ครึ่งปีหลัง จาก 24 เอเจนซี่หลักของไทย ซึ่งเป็นการเก็บแบบไม่ระบุแบรนด์ และแน่นอนว่า ไม่มีตัวเลขโดยตรงจากทั้ง Facebook และ Google แต่อย่างน้อยจะได้ตัวเลขจากฝั่งของ Buyer หรือผู้ซื้อโฆษณา ซึ่งจากการประเมินคาดว่าน่าจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
สำหรับการสำรวจครั้งนี้ จะเน้นใน 12 รูปแบบ ได้แก่ Search, Display, Online Video (ไม่รวม Youtube, Facebook Video), Youtube Ad, Facebook Ad, Instagram Ad, Twitter Ad, LINE, Instant Messaging, Social (เช่น Blogger, Influencer), Creative และอื่นๆ
จากการสำรวจพบว่า ครึ่งแรกของปี 59 มีเม็ดเงินในโฆษณาดิจิทัล 4,732 ล้านบาท และคาดว่าในครึ่งปีหลังจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยประมาณการณ์ครึ่งปีหลัง 5,150 ล้านบาท ดังนั้น เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 9,883 ล้านบาท เติบขึ้น 22% ในขณะที่สื่ออื่นๆ ทุกประเภทติดลบประมาณ 8% จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวม แต่ดิจิทัลยังเติบโตอยู่ โดยเกือบทั้งหมดเป็นตัวเลขที่ Buyer โยกจากสื่อเดิมมาลงดิจิทัลแทน
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการใช้จ่ายผ่านโฆษณาดิจิทัล
1 กลุ่มยานยนต์และดีลเลอร์ 1,011 ล้านบาท ซึ่งปกติอุตสาหกรรมยานยนต์มีการใช้เงินเยอะอยู่แล้ว และมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากกลุ่มดีลเลอร์ หรือตัวแทนจำหน่ายด้วย ทำให้กลุ่มนี้มีการใช้จ่ายมากที่สุด
2 กลุ่มผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ใช้จ่าย 974 ล้านบาท ปกติเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายกับโฆษณา TV มาก การที่กลุ่มนี้ขยับมาลงดิจิทัล แสดงว่า กลุ่มดิจิทัลมีความเป็น mass มากขึ้น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีทั้ง Gen X และY
3 กลุ่มสื่อสาร จากเดิมมีการใช้จ่าย 915 ล้านบาท ยังมีการใช้จ่ายเพิ่ม แต่เพิ่มน้อยลงเพราะปีที่ผ่านมา มีภาระค่าใช้จ่ายจากการประมูลคลื่นความถี่
หากพิจารณากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตด้านเม็ดเงินมากที่สุด ได้แก่
1 กลุ่มผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ที่เห็นข้อจำกัดของ TV ที่มีเวลาน้อย เทียบกับ ดิจิทัล โดยเฉพาะ Video ที่ใช้เวลาได้มากกว่า มีการเห็นบ่อยมากขึ้น สร้างได้ทั้ง Awareness และ Engagement
2 กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ เป็นผลมาจากครึ่งแรกของปีเป็นช่วงซัมเมอร์ ที่มีการกระตุ้นตลาดอย่างหนักของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อยู่แล้ว
3 กลุ่มการเงินและธนาคาร เป็นอีกกลุ่มที่มีการใช้จ่ายเงินในสื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากกระแส FinTech ที่เข้ามา รวมถึงการพัฒนาเป็น Digital Banking ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ TV ไม่สามารถทำได้เพียงพอ
Facebook และ Youtube ครองแชมป์ กวาดเม็ดเงินโฆษณาสูงสุด
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า Facebook และ Youtube ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดีย อันดับ 1 ในไทย กวาดเม็ดเงินโฆษณาไปได้มากที่สุด โดยจากการสำรวจและคาดการณ์ปีนี้ว่า Facebook จะมีเม็ดเงินกว่า 2,842 ล้านบาท ส่วน Youtube จะมีเม็ดเงินกว่า 1,663 ล้านบาท อีกส่วนที่ตามมาเช่นกันคือ Display Ad ซึ่งเป็นเม็ดเงินโฆษณาที่ผ่านสื่อดิจิทัลภายในประเทศ 1,620 ล้านบาท
ส่วนที่น่าสนใจคือ Facebook มีสัดส่วนมากที่สุด และมีการเติบโตสูงที่สุด จากการออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาได้มากขึ้น ขณะที่ Youtube ถือเป็น Video ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด จึงมีสัดส่วนมากอยู่แล้ว แต่การเติบโตน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Display Ad ที่เมื่อขนาดตลาดโตขึ้น แต่ Display Ad มีมูลค่าเท่าเดิม คือไม่เติบโต เป็นสิ่งที่ สื่อดิจิทัลในประเทศต้องปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโตให้ได้
สื่อที่น่าสนใจอีกรายคือ LINE ที่มีการเติบโตสูง มีเม็ดเงินกว่า 463 ล้านบาท แสดงว่าการมีผู้ใช้ 33 ล้านราย และความพยายามปรับตัวเองเป็น platform ที่ให้บริการได้อหลากหลาย สำหรับทุกเพศ ทุกวัย มีผลให้ Buyer ให้ความสนใจซื้อโฆษณามากขึ้น
โฆษณาดิจิทัลยังเติบโตได้ Buyer พร้อมโยกงบ แต่ยังขาดข้อมลสนับสนุน
DAAT คาดการณ์ว่าปีนี้เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลจะมีสัดส่วนประมาณ 8% ของงบโฆษณารวมทั้งหมด และคาดการณ์ว่าปี 2560 น่าจะแตะ 10% และมีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านบาท เมื่อดูจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ที่มีสัดส่วนดิจิทัล 17% แล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก Buyer หรือแบรนด์ต่างๆ ก็มีความพร้อมจะโยกงบโฆษณามาด้านดิจิทัลมากขึ้น แต่สิ่งที่ยังขาดคือ ข้อมูลสนับสนุน โดยจากการสำรวจของเอเจนซี่ทั้ง 24 รายว่า ปัญหาอะไรที่มีผลต่อการใช้จ่ายบ้าง
-
83% ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ
-
61% ขาดมาตรฐานในการเปรียบเทียบ
-
48% ขาดผลงานวิจัยเพื่อช่วยในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า แม้ 83% จะระบุว่าขาดความรู้ แต่เมื่อดูประเด็นถัดมา เป็นเรื่องของข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผนด้านการใช้สื่อทั้งสิ้น
Credit Image: Daat
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ