ไทยขอจีนลดค่าที่ปรึกษาไฮสปีด จาก 6 หลือ 1 พันล้านบาท เวณคืนพุ่ง 1.3 ล้านบาท

2 ก.ค. 2559 | อ่านแล้ว 1832 ครั้ง


	ไทยขอจีนลดค่าที่ปรึกษาไฮสปีด จาก 6 หลือ 1 พันล้านบาท เวณคืนพุ่ง 1.3 ล้านบาท

ปรับลดค่าจ้างที่ปรึกษา ไฮสปีดไทย-จีน จาก 6 พันล้าน เหลือ 1 พันล้าน ค่าเวนคืนพุ่งแตะ 1.3 หมื่นล้านบาท เตียมรื้อท่อก๊าซ ปตท. 80 กม. รองรับระบบรางใช้เงินลงทุน กม.ละ 500 ล้าน ครม.อนุมัติโปรเจ็กต์ ปักหมุดช่วงแรก 3.5 กม. สถานีกลางดง-ปางอโศก

2 มิ.ย. เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้รายงานผลการประชุมครั้งที่ 11 โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน หรือไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ โดยจะแบ่งการก่อสร้าง 4 ตอน ได้แก่ ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ช่วงที่ 2 

ระยะทาง 10 กม. ช่วงที่ 3 ระยะทาง 120.5 กม. และช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงจะเริ่มสร้างช่วงที่ 1 เป็นลำดับแรก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่มีทางยกระดับ ทางฝ่ายจีนจะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างส่งมอบให้ฝ่ายไทยภายใน 1 เดือนนี้ จากนั้นจะถอดแบบและประมาณการค่าก่อสร้าง ตั้งเป้าจะประกวดราคาและเริ่มสร้างเดือน ก.ย.นี้ ส่วนช่วงที่ 2-4 ฝ่ายจีนจะทยอยออกแบบรายละเอียดและส่งมอบให้ฝ่ายไทยได้ภายใน 8 เดือน คาดว่าเดือน ก.พ. 2560 จะก่อสร้างได้ครบทั้งโครงการ 

"ขอให้จีนจัดคณะทำงานออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างทั้ง 4 ตอนไปพร้อม ๆ กัน ไม่ต้องรอให้ตอนใดตอนหนึ่งเสร็จก่อน สาเหตุที่เลือกสร้าง 3.5 กม.ก่อน เพราะเป็นพื้นที่พร้อมที่สุด เป็นเขตทางรถไฟ ไม่ผ่านภูเขาหรือสะพาน หากมีการก่อสร้างระยะทางที่ยาวกว่านี้จะทำให้การออกแบบรายละเอียดนาน และไม่สามารถเริ่มสร้างได้ทันกำหนดเวลาปีนี้" อาคมกล่า;

อีกทั้งเร่งให้คณะทำงานยกร่างกรอบความร่วมมือรูปแบบการก่อสร้างโครงการ จะดำเนินการรูปแบบ EPC ใน 2 ส่วน เพื่อเสนอ ครม.อนุมัติภายในเดือน ก.ค.นี้ คือ งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยเข้าร่วมก่อสร้างโครงการ และเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วที่สุด และงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ฝ่ายจีนจะคัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนมีผลงานด้านรถไฟความเร็วสูงที่มีคุณภาพ ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งเร่งสรุปกรอบวงเงินลงทุนทั้งก่อสร้างและงานระบบที่กำลังต่อรองกับฝ่ายจีนเสนอราคาอยู่ที่ 189,981 ล้านบาท จะให้ไม่เกิน 1.8 แสนล้านบาท 

ประชาชาติธุรกิจยังอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมว่า ฝ่ายไทยจะขอจีนให้ปรับลดเงินลงทุนโครงการอยู่ที่กว่า 179,300 ล้านบาท โดยจะปรับลดค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบโครงการ จากเดิมคิดอยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.5 ของมูลค่าโครงการ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท จะขอให้คิดที่ร้อยละ 1.25 หรืออยู่ที่กว่า 1,000 ล้านบาท 

ส่วนค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนที่ดินยังเท่าเดิม ซึ่งค่าก่อสร้างประเมินไว้อยู่ที่ประมาณ 160,000 ล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนที่ดินและค่ารื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคอยู่ที่กว่า 13,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากเดิมเนื่องจากต้องรื้อย้ายท่อก๊าซของ ปตท.ที่กีดขวางแนวเส้นทางอยู่ประมาณ 80 กม. ช่วงจากกรุงเทพฯ-ภาชี และมีเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสถานีสระบุรีจะไม่สร้างในตำแหน่งเดิม ขณะที่สถานีตลอดเส้นทางมี 5 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปากช่อง และโคราช

ทั้งนี้การก่อสร้างแบ่งเป็น 4 ตอน ช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ช่วงที่ 2 ระยะทาง 10 กม. จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ช่วงที่ 3 ระยะทาง 100 กม. จากแก่งคอย-โคราช (เว้นพื้นที่ช่วงแรก) ช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. จากกรุงเทพฯ-แก่งคอย โดยค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ล้านบาท/กม

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: