ขณะที่ศาลอุทธรณ์ มีคดี 51,201 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 42,954 คดี คิดเป็นร้อยละ 83.89 มีคดีคงค้าง 8,247 คดี ส่วนศาลฎีกา มีคดี 27,746 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 14,061 คดี คิดเป็นร้อยละ 56.82 มีคดีคงค้าง 10,685 คดี อย่างไรก็ตามจากสถิติดังกล่าวจะเห็นว่า ศาลได้แก้ไขปัญหาคดีคงค้างได้มากขึ้น
โดยขณะนี้สำนักงานศาลยุติธรรมอยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมายการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในปี 2558 มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 300,000 คน ซึ่งประมาณ 1 ใน 4 คน เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาและจำเลยกว่า 27,000 คน ที่ถูกปล่อยชั่วคราวแต่หลบหนี ซึ่งหากไทยมี Court Marshall หรือตำรวจศาลเหมือนเช่นต่างประเทศ อาจจะสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันสำหรับไทยอาจจะเป็นไปได้ยากเพราะต้องใช้งบประมาณสูงมาก ที่ผ่านมาจึงใช้มาตรการออกหมายจัับ ปรับนายประกันและ ขณะนี้ยังได้แก้กฎหมายให้นำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM มาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการหลบหนีและให้ติดตามตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากผู้ต้องหาและจำเลยด้วย แต่หากผู้ต้องหาและจำเลยไม่ยินยอมจะให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวที่อาจจะไม่ได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ดีขณะนี้ก็พยายามจะเสนอแก้กฎหมายในส่วนของประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนเรื่องของการนับอายุความ ที่จะให้เหมือนการพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ที่จะไม่ให้อายุความสิ้นสุดแม้จำเลยจะหลบหนี
ที่มาข้อมูล: สำนักงานศาลยุติธรรม
ที่มาภาพประกอบ: adadfirst.com
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ