ได้แก่ 1.กลุ่มการกระทำอนาจารออนไลน์ อาทิ การนำเข้า ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามก [พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 (4)] การเป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจาร (ปอ.มาตรา 283) ค้าสิ่งลามก (ปอ.มาตรา 287) 2.การหลอกลวงออนไลน์ อาทิ ฉ้อโกง (ปอ.341) ยักยอกทรัพย์ (ปอ.352) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม [พ.ร.บ.คอมฯ 14 (1)] 3.การบุกรุกออนไลน์ อาทิ การทำลายปลอมเอกสาร ลักทรัพย์ เจาะระบบ-ทำลายข้อมูล-ขัดขวางการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อการกระทำผิด (พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 5, 7, 9-11, 13) และ 4.การใช้ความรุนแรงออนไลน์ อาทิ หมิ่นสถาบัน (ปอ.112) ยุยงปลุกปั่น (ปอ.116) หมิ่นประมาท (ปอ.326-328) นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม [พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 (1)] นำเข้าข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคง [พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14 (2-3)]
ตั้งแต่ปี 2550-2558 สำนักงานอัยการพิเศษได้รับแจ้ง 587 คดี แต่สั่งดำเนินคดีได้ 206 คดี สาเหตุหลักคือไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำความผิดได้ (268 คดี) โดยเฉพาะเมื่อผู้เสียหายเป็นหน่วยงานภาครัฐสำหรับคดีที่สั่งดำเนินการได้ 20.87% คือกลุ่มความผิดจากการอนาจารออนไลน์ 16.99% เป็นการหลอกลวงออนไลน์ 10.68% เป็นการบุกรุกออนไลน์ และ 51.46% เป็นการใช้ความรุนแรงออนไลน์ โดย "หมิ่นประมาท" คือฐานความผิดที่ถูกสั่งคดีมากที่สุด (81 คดี) ไม่ใช่อาชญากรรมทางไซเบอร์โดยแท้ เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันกับจำนวนคดีที่ได้รับแจ้งเข้ามา ในด้านช่วงอายุของผู้กระทำความผิดพบว่า ในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 29 ปี จะกระทำความผิดในกลุ่มอนาจารออนไลน์และบุกรุกออนไลน์มากที่สุด โดยในกลุ่มการอนาจารออนไลน์กว่า 60.41% มีอายุต่ำกว่า 29 ปี 31.25% อายุ 30-39 ปี 8.33% อายุ 40-49 ปี ขณะที่กลุ่มความผิด จากการบุกรุกออนไลน์ 52.63% อายุ ต่ำกว่า 29 ปี รองลงไปคืออายุ 30-39 ปี 31.57% อายุ 40-49 ปี 10.52% และอายุ 50 ปีขึ้นไป 5.26% ส่วนกลุ่มความผิดจากการหลอกลวงออนไลน์ ผู้กระทำผิดที่อายุต่ำกว่า 29 ปี และอายุ 30-39 ปี มีสัดส่วนเท่ากันคือ 37.83% รองลงไป 13.51% อายุ 40-49 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป มี 10.81% ขณะที่การใช้ความรุนแรงออนไลน์ ในทุกช่วงวัยมีการกระทำผิดใกล้เคียงกัน โดย 26.37% อายุต่ำกว่า 29 ปี 31.86% อายุ 30-39 ปี 28.57% อายุ 40-49 ปี 13.18% อายุ 50 ปีขึ้นไป
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 487 คน มี 21% ที่มีแนวโน้มจะกระทำความผิดทางเทคโนโลยีได้ง่าย เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าอินเทอร์เน็ตระบุตัวตนไม่ได้ ตามตัวเมื่อกระทำความผิดไม่ได้ และมีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้บนโลกไซเบอร์ เพราะไม่มีกฎทางสังคมมากดทับ ซึ่งกลุ่มที่มีทัศนคติเช่นนี้จากการวิจัยพบว่าเป็นหญิงหรือชายอายุ 35-45 ปี วุฒิปริญญาตรีหรือต่ำกว่า (มี 18% จากกลุ่มตัวอย่าง) รวมถึงกลุ่มชายอายุ ไม่เกิน 35 ปี วุฒิปริญญาตรีหรือต่ำกว่า (3% จากกลุ่มตัวอย่าง)
ที่มาข้อมูล: โครงการวิจัยแนวโน้มพฤติการณ์การกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาภาพ: huffingtonpost.com
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ