ขอบเขตการฝึก 10 สัปดาห์
- สัปดาห์ที่ 1-2 จะเป็นการฝึกที่เน้นไปที่การฝึกเบื้องต้น เช่น ความสมบูรณ์ของร่างกาย การฝึกบุคคลท่ามือเปล่า การฝึกแถวชิด การอบรม และการแจ้งระเบียบปฏิบัติต่างๆ
- สัปดาห์ที่ 3-8 จะเป็นการฝึกที่เน้นไปที่การฝึกวิชาทหารทั่วไป การฝึกใช้อาวุธ การฝึกทางยุทธวิธี
- สัปดาห์ที่ 9 จะเป็นช่วงของการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี การพักแรม และฝึกภาคสนาม
ทั้งนี้ในส่วนของเนื้อกาการฝึกอบรมต่างๆ เช่น เนื้อหาทางทฤษฎี แบบธรรมเนียมทหารและอื่นๆ จะถูกสอดแทรกในทุกๆ วัน และจะถูกปรับเปลี่ยนเพื่อความคล่องตัวอยู่เสมอ แต่จะมีระเบียบปฏิบัติประจำวันของการฝึกทหารใหม่โดยหลักดังนี้
เนื้อหา/ หลักสูตรการฝึก ประกอบด้วย
- การฝึกเบื้องต้น (การฝึกบุคคลท่ามือเปล่า, การฝึกบุคคลท่าอาวุธ และการฝึกแถวชิด)
- การทดสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย
- การฝึกวิชาทหารทั่วไป (วิชาการติดต่อสื่อสาร, วิชาการอ่านแผนที่ และการใช้เข็มทิศ, วิชาการปฐมพยาบาล และสุขวิทยาอนามัย, วิชาการอ่านข่าวเบื้องต้น การสังเกตและการสะกดรอย และวิชาทุ่นระเบิดกับระเบิด วิชาการป้องกันนิวเคลียร์ เคมี ชีวะ)
- การฝึกใช้อาวุธ (การฝึกใช้อาวุธประจำกาย ปลย.เอ็ม 16 หรือ ปลย.เอ็ม 11 และการปรนิบัติบำรุง และการใช้ระเบิดลูกขว้าง)
- การฝึกทางยุทธวิธี (การกำลังและการซ่อนพราง, การฝึกบุคคลทำการบในเวลากลางวัน, การฝึกบุคคลทำการบในเวลากลางคืน, การฝึกเรื่องป้อมสนาม, การฝึกเรื่องเครื่องกีดขวาง, การยิงประกอบการเคลื่อนที (เป็นคู่), การลาดตระเวน, การระวังป้องกัน และการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธีและการพักแรมในสนาม)
- การอบรม (เช่น คุณลักษณะทหาร, แบบธรรมเนียมทหาร, คุณธรรมของทหาร, มารยาทและวินัยทหาร, หน้าที่พลเมืองดี, ความรักและป้องกันประเทศชาติ, การปกครองในระบอบประชาธิปไตย, พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย, ประวัติศาสตร์ชาติไทย, วิชาเศรษฐกิจพอเพียง และยาเสพติด)
- การยิงปืน จำนวน 18 นัดต่อคน
ภายหลังการฝึกสำเร็จ
เมื่อพลทหารกองประจำการรับราชการจนครบกำหนดแล้วจะปลดเป็นทหารกองหนุนในชั้นยศพลลูกแถวและเข้ารับการบรรจุตามระบบกำลังสำรองต่อไป
แหล่งที่มาข้อมูล : วิทยานิพนธ์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องความเหลื่อมล้ำในการผลิตกำลังพลสำรองของกองทัพ เผยแพร่เมื่อปี 2557 โดย ณัฐวุฒิ สมบูรณ์ยิ่ง
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ