ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุถึงตัวประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าของไทยที่ประกอบไปด้วยการใช้พลังงานสูงสุด (Peak), การใช้พลังงานไฟฟ้า และโหลดแฟกเตอร์ (Load Factor) ของประเทศไทยระหว่างปี 2552-2559 ไว้ดังนี้
ในปี 2552 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 22,044.9 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 24 เม.ย.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 145,253 ล้านหน่วย และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 75.22% ปี 2553 มีการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 24,009.9 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 10 พ.ค.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 160,113 ล้านหน่วย และค่า โหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 76.13% ปี 2554 มีการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 23,900.2 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 24 พ.ค.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 158,870 ล้านหน่วย และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 75.88%
ปี 2555 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 26,121.1 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 26 เม.ย.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 173,205 ล้านหน่วย และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 75.49% ปี 2556 มีการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 26,598.1 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 16 พ.ย.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 173,535 ล้านหน่วย และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 74.48%
ปี 2557 มีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 26,942.1 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 23 เม.ย.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 177,580 ล้านหน่วย และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 75.24% และปี 2558 มีการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 27,345.8 เมกะวัตต์ (เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.) ใช้ไฟฟ้าตลอดปีที่ 183,390 และค่าโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 76.56%
อนึ่ง ค่าโหลดแฟกเตอร์ (Load Factor) หรือค่าตัวประกอบการใช้ไฟฟ้า เป็นการแสดงถึงความสม่ำเสมอในการใช้ไฟฟ้า ซึ่งหมายถึง ถ้ามีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกๆ วัน โหลดแฟกเตอร์จะเท่ากับ 100% ดังนั้น โหลดแฟกเตอร์ของระบบไฟฟ้าที่ใกล้ 100% จะสะท้อนถึงการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่มีประสิทธิภาพ เพราะโรงไฟฟ้าต่างๆ จะ ทำงานได้เต็มที่คุ้มค่ากับการลงทุน ในทางตรงกันข้าม ถ้าโหลดแฟกเตอร์ที่ใกล้ 0% จะสะท้อนถึงการใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ