ในด้านพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของคนไทยในจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ทั้ง 12 เขตสุขภาพในรอบ 3 ปี พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเขตสุขภาพที่ 1, 8 และ 9 ซึ่งเป็นภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยภาคเหนือมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าภาคอื่น คือ 10 คนต่อประชากรแสนคน สูงสุดที่ จ.ลำพูน 20 คนต่อประชากรแสนคน
สาเหตุการฆ่าตัวตายมาจากความขัดแย้งในครอบครัว ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เกิดจากความน้อยใจ คนใกล้ชิดดุด่า ทะเลาะกับคนใกล้ชิด และทุกข์ทรมานจากการป่วยโรคเรื้อรัง โดยผู้ชายที่ฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 3 จะมีการทำร้ายคนอื่นร่วมด้วย ส่วนผู้หญิงร้อยละ 2 จะทำร้ายคนอื่นก่อนฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุการฆ่าตัวตายที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรังพบว่าอัตราสูงขึ้น 5.9 เท่า รองลงมาเกิดจากการติดสุราเรื้อรัง เพิ่มขึ้น 4.3 เท่า ทั้งนี้ผู้ที่ฆ่าตัวตายเกือบครึ่งจะแสดงท่าทีหรือสัญญาณเตือนล่วงหน้าตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 1 เดือน จะพบมากที่สุดในช่วง 3 วันแรกก่อนเสียชีวิต และร้อยละ 79 จะมีเหตุกระตุ้นก่อน เช่น ดื่มสุรา และทะเลาะกับคนใกล้ชิด เป็นต้น
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ