พื้นที่เพาะปลูก ‘ข้าว-ยางพารา-ลำไย’
ข้อมูลจาก รายงานสถิติการเกษตรของไทย ปี 2558 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่าในปี 2558 ประมาณการว่าประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าว (นาปีและนาปรัง) ประมาณ 62,315,000 ไร่, พื้นที่ปลูกยางพารา 23,332,000 ไร่ และพื้นที่ปลูกลำไย 1,102,000 ไร่
เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนการใช้เนื้อที่ทางการเกษตรแล้วพบว่า การปลูกข้าวใช้พื้นที่มากที่สุด โดยจากข้อมูลในปี 2557 ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 149,225,195 ไร่ เป็นเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรแบ่งเป็นนาข้าว 69,958,965 ไร่ พืชไร่ 31,150,032 ไร่ สวนไม้ผล ไม้ยืนต้น 34,917,895 ไร่ สวนผักไม้ดอก/ไม้ประดับ 1,397,770 ไร่ เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่น 11,800,533 ไร่
เม็ดเงิน-มูลค่า
ในรายงานสถิติการเกษตรฯ ยังระบุถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ปี 2558 โดยยางธรรมชาติมีมูลค่าส่งออกสูงสุด 193,938 ล้านบาท ตามมาด้วยข้าวและผลิตภัณฑ์ 172,778 ล้านบาท ส่วนลำไยในปี 2558 มีมูลค่าของผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายได้ (ไม่ใช่มูลค่าการส่งออก) ที่ 24,913 ล้านบาท
สำหรับการส่งออกข้าวนั้น ไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาหลายสิบปี แต่หลังจากที่ไทยมีนโยบายรับจำนำข้าวทุกเม็ดตั้งแต่ปี 2554 ไทยก็สูญเสียตำแหน่งนี้ไป โดยจากการรวบรวมข้อมูลของ worldstopexports.com ประมาณการผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก 10 อันดับแรกในปี 2558 ประกอบไปด้วย 1. อินเดีย มูลค่าการส่งออก 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 30.1% ของมูลค่าการส่งออกรวม) 2. ไทย 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 21.4%) 3. สหรัฐอเมริกา 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 9.7%) 4. ปากีสถาน 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 9.1%) 5. เวียดนาม 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 7.5%) 6. อิตาลี 591.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 2.8%) 7. อุรุกวัย 377.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1.8%) 8. บราซิล 350.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1.7%) 9. กัมพูชา 335.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1.6%) และ 10. ออสเตรเลีย 301.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1.4%)
ส่วนยางพาราจากการรวบรวมข้อมูลของ worldstopexports.com ระบุว่าไทยเป็นประเทศที่ส่งออกยางดิบ (Natural Rubber) รายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2558 โดยประเทศผู้ส่งออกยางดิบ 10 อันดับแรกในปี 2558 ประกอบไปด้วย 1. ไทย มูลค่าการส่งออก 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 35.8% ของมูลค่าการส่งออกรวม) 2. อินโดนีเซีย 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 31.5%) 3. เวียดนาม 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 7.5%) 4. มาเลเซีย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 7.4%) 5. ไอเวอรีโคสต์ 660.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 4.7%) 6. เยอรมัน 242.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1.7%) 7. กัวเตมาลา 138.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 1%) 8. เบลเยียม 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 0.9%) 9. เมียนมา 117.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 0.8%) และ 10. สิงคโปร์ 113.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดเป็น 0.8%)
ชาวนาไทย vs ชาวนาญี่ปุ่น
ภายในปี 2559 นี้ จำนวนเกษตรกรญี่ปุ่น (ซึ่งรวมถึงชาวนา) จะลดลงต่ำกว่าระดับ 2 ล้านคน จากที่เคยมีสูงเกือบ 6 ล้านคนในปี 2528 (ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/emrank/CC BY 2.0) เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าว ราคาข้าว และชาวนา ก็มักจะมีการหยิบยกถึงความสำเร็จของชาวนาในประเทศญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบอย่างผิวเผิน ข้อมูลต่อไปนี้คือข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างชาวนาไทยและญี่ปุ่นที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ จากการประเมินของ TDRI เมื่อปี 2555 ระบุว่าปัจจุบันมีชาวนาในไทยประมาณ 17.6 ล้านคน (เป็นชาวนาฐานะยากจน 7.7 ล้านคน เป็นชาวนาที่มีฐานะปานกลางและร่ำรวย 9.9 ล้านคน) ส่วนในญี่ปุ่นเมื่อเดือน ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Boombergได้อ้างอิงตัวเลขของ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงของญี่ปุ่นระบุว่าภายในปี 2559 นี้ จำนวนเกษตร (ซึ่งรวมถึงชาวนา) จะลดลงต่ำกว่าระดับ 2 ล้านคน จากที่เคยมีสูงเกือบ 6 ล้านคนในปี 2528 ทั้งนี้ในด้านเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตในฤดูกาล 2557/58 นั้นข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) ระบุว่าไทยอยู่อันดับ 6 ของโลก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 48,688,000 ไร่ ผลผลิต 28,240,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 580 กก./ไร่ ส่วนญี่ปุ่นอยู่อันดับ 10 ของโลก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยว 10,063,000 ไร่ ผลผลิต 7,840,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 779 กก./ไร่ |
ย้อนรอย ‘ข้าว-ยาง-ลำไย’ ราคาตกปี 2540-2559
TCIJ รวบรวมข้อมูลผ่านหน้าสื่อต่าง ๆ ระหว่างปี 2540-2559 พบว่าในรอบ 19 ปีที่ผ่านมานี้ 'พืชหลัก-พืชการเมือง' ของประเทศไทยอย่าง 'ข้าว-ยางพารา-ลำไย' จะเผชิญปัญหาราคาตกต่ำจนมีการประท้วง หรือรัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือแทบทุกปีสลับกันไปทั้ง 3 ชนิดนี้ รวมทั้งราคาตกต่ำพร้อม ๆ กันในปีเดียวก็มี ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ