คนไทยรู้ยัง : คู่สมรสวัย 28-32 ปี มีอัตราการหย่าร้างต่ำกว่าช่วงวัยอื่น

ทีมข่าว TCIJ : 16 มิ.ย. 2559 | อ่านแล้ว 4885 ครั้ง

นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วง 5 ปีแรกหลังจากการแต่งงาน ส่วนใหญ่มีอัตราการหย่าร้างหรือแยกทางกันน้อยมาก ส่วนผู้ที่แต่งงานหลังอายุ 32 ปีไปแล้วอัตราการหย่าร้างจะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่คู่รักวัยรุ่นอายุระหว่าง 15–19 ปี เป็นช่วงวัยที่หากแต่งงานมักจะเกิดการหย่าร้างและเลิกรากันมากที่สุด

จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าอัตราการหย่าร้างจะสูงขึ้นได้ หากแต่งงานในช่วงอายุปลาย 30 ถึงต้น 40 ปี โดยหลังจากอายุ 32 ปีไปแล้ว โอกาสที่จะเกิดการหย่าร้างจะเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5 ต่อปี จึงเป็นเหตุผลที่คนอายุระหว่าง 28-32 ปี เหมาะที่จะแต่งงานมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากอย่างน้อยคนในวัยดังกล่าวมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นวัยที่จะรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเอง ว่าสามารถเข้ากันกับอีกฝ่ายหนึ่งได้จริง 2. สามารถเลือกเส้นทางชีวิตที่ตนเองต้องการได้แล้ว 3. เริ่มมีความรับผิดชอบต่อเรื่องต่าง ๆ ได้มาก 4. มีความมั่นคงทางการเงินในระดับหนึ่ง 5. ยังไม่สูงวัยเกินไปที่จะปรับตัว ปรับนิสัย ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต (lifestyle) รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน และเรื่องอื่น ๆ ให้เข้ากับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิตคู่ 6. คนวัยนี้ยังไม่เคยแต่งงานหรือมีลูกมาก่อนจึงทาให้ไม่ต้องแบ่งเวลาเพื่อไปดูแลลูก

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุผลที่สนับสนุนว่าช่วงอายุ 20 ปีตอนปลาย จนถึง 30 ปีตอนต้น เป็นช่วงวัยที่ดีที่สุด ในการเริ่มต้นชีวิตคู่กับใครสักคน ทั้งวูล์ฟฟิงเกอร์ได้เสนอเพิ่มเติมอีกว่าคู่แต่งงานที่จะประสบความสาเร็จในชีวิตคู่ได้นั้น ส่วนใหญ่มักเป็นคู่ที่รู้นิสัยใจคอกันเป็นอย่างดี ขณะที่ ฟิลลิป โคเฮน (Phillip Cohen) นักสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา มีข้อมูลที่เกี่ยวกับช่วงวัยที่เหมาะสมในการแต่งงานที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยได้อ้างถึงข้อมูลจากการสำรวจสภาพสังคมอเมริกันที่ชื่อ American Community Survey พบว่าคู่แต่งงานสูงวัยมักมีการเปลี่ยนแปลงชีวิตแต่งงานน้อย โดยอายุที่เหมาะสมสำหรับการมีชีวิตคู่และเลิกรากันน้อยที่สุด คือ ช่วงวัย 45–49 ปี ส่วนช่วงวัย 15–19 ปี จะเกิดการหย่าร้างมากที่สุด รองลงมาคือช่วงวัย 20–24 ปี 25–29 ปี และ 35–39 ปี ตามลำดับ

ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นผลจากการศึกษาที่แตกต่างกันในประเด็นของช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุดที่จะแต่งงาน แต่จะเห็นได้ว่าผลการศึกษาที่เหมือนกันคือ ช่วงวัยที่มีการหย่าร้างน้อยที่สุด คือ 35–39 ปี และ 25–29 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับของวูล์ฟฟิงเกอร์ที่ได้ศึกษาไว้ กล่าวคือช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีตอนปลาย จนถึง 30 ปีเป็นต้นไป จัดเป็นช่วงวัยที่ดีที่สุดสาหรับการแต่งงาน เพราะมีโอกาสที่จะเกิดการหย่าร้างได้น้อย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ โคเฮน (Cohen) เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ชีวิตคู่ยืนยาวขึ้นได้ คือ ความมั่นคงด้านการเงิน การศึกษาที่ดี การหมั้นก่อนย้ายมาอยู่ด้วยกัน และการแต่งงานก่อนการมีบุตร เหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้คู่สมรสมีชีวิตคู่ที่ยืนยาวได้

 

ที่มาข้อมูล: เอกสารข่าวสารงานวิจัยและพัฒนารัฐสภา ปีที่ 15 ฉบับที่ 162 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ที่มาภาพประกอบ: 
oddculture.com

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: