มติ ครม. เห็นชอบร่างตกลงความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร 'ไทย-เบลารุส'

18 ก.พ. 2559 | อ่านแล้ว 2485 ครั้ง


	มติ ครม. เห็นชอบร่างตกลงความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร 'ไทย-เบลารุส'

สาระสำคัญคู่ภาคี 'ไทย-เบลารุส' จะต้องดำเนินความร่วมมือในด้านการพัฒนาและวิจัยการผลิต และส่งกำลังบำรุงในเรื่องอาวุธและยุทธภัณฑ์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการบำรุงรักษาในส่วนต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เช่น อาวุธและยุทธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ การป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก ยุทธภัณฑ์และอาวุธทางอิเล็กทรอนิกส์  ระบบบังคับบัญชาและควบคุมอัตโนมัติ การติดต่อสื่อสาร การถ่ายโอนข้อมูล การลาดตระเวนและระบบการสงครามทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรทางทหารและผู้เชี่ยวชาญ (ที่มาภาพ: crossed-flag-pins.com)

18 ก.พ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสนอ เรื่อง "ขอความเห็นชอบต่อร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเบลารุสว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) จัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเบลารุสว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคนิคทางทหาร

2. ให้เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)

3. หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างความตกลงฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ให้ กห. พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม

ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

1. คำนึงถึงความสำคัญของการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายในด้านเทคนิคทางทหาร

2. คู่ภาคีจะต้องดำเนินความร่วมมือในด้านการพัฒนาและวิจัยการผลิต และส่งกำลังบำรุงในเรื่องอาวุธและยุทธภัณฑ์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการบำรุงรักษาในส่วนต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เช่น อาวุธและยุทธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ การป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก ยุทธภัณฑ์และอาวุธทางอิเล็กทรอนิกส์  ระบบบังคับบัญชาและควบคุมอัตโนมัติ การติดต่อสื่อสาร การถ่ายโอนข้อมูล การลาดตระเวนและระบบการสงครามทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรทางทหารและผู้เชี่ยวชาญ

3. แนวทางในการทำความร่วมมือ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญที่เป็นทางการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลทางเทคนิค และข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนแบ่งปันทักษะความรู้การส่งผ่านทางเทคโนโลยีและองค์ความรู้ความชำนาญ การจัดตั้งองค์กรการร่วมลงทุน การมีส่วนร่วมทางด้านเทคนิคทางทหารของทั้งสองประเทศมีอยู่

 
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: