"ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ"
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดย วิจารณ์ พานิช ระบุว่า “สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ “
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)
ที่มาภาพ: กรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning Framework) (http://www.qlf.or.th/)
การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้านนั้น ครูจะเป็นผู้สอนฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
อะไรคือองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้จากปัญหา
- ปัญหาในโลกจริงที่ช่วยส่งเสริมทักษะการสืบค้นและครอบคลุมแนวคิดหลัก เช่น การเปลี่ยนแปลง ความเสมอภาค และสิ่งแวดล้อม
- ตัวเลือกเกี่ยวกับเนื้อหา รวมถึงวิธีการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเข้าใจ
- วัตถุประสงค์ที่สะท้อนความท้าทายทางปัญญาในขั้นสูง รวมถึงความต้องการที่จะตั้งคำถาม การทำวิจัยอย่างมีเป้าหมาย การคิดเชิงวิพากษ์ การตัดสินใจ และการหาข้อสรุปที่สมเหตุผลและมีหลักฐานรองรับ
- ประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มเล็ก เช่น การฟัง การให้เหตุผล การต่อยอดความคิดของสมาชิกในทีม
- ความเห็นตอบกลับที่นักเรียนได้รับจากเพื่อนร่วมชั้นและครู ระหว่างซ้อมนำเสนอขั้นสุดท้าย ความเห็นอย่างเช่น สิ่งที่เราชอบคือ... และคำถามคือ... มีประโยชน์อย่างมากและสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง
- โอกาสที่จะทบทวน ปรับแก้ และขยายผลการค้นพบ
- การมีส่วนร่วมวางแผน ติดตาม และคิดทบทวนเกี่ยวกับงาน ความก้าวหน้า และผลลัพธ์
- โอกาสที่จะได้รับข้อมูลการประเมินทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
- โครงสร้างหลักสูตรที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ซึ่งเน้นปัญหาและการสืบค้นในสถานการณ์จริง
- ครูและนักเรียนตัดสินใจ สอน และเรียนรู้ร่วมกัน
ที่มาข้อมูล: ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 หน้า 276
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ