สั่งอุตสาหกรรมจังหวัด จัดทำข้อมูลเชิงลึก เตือนภัยโรงงานรับมือผลกระทบในทุกด้าน หลังพบโรงงานที่ได้ใบ ร.ง.4 แล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดกิจการล่าสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.2559 มีผู้ที่ได้ใบ ร.ง.4 ทั้งสิ้น 13,225 โรง เงินลงทุน 1.85 ล้านล้านบาท มีแรงงาน 5.91 แสนคน แจ้งประกอบกิจการแล้ว 9,916 โรง คิดเป็น 75% เงินลงทุน 1.3 ล้านล้านบาท แรงงาน 4.56 แสนคน และมีโรงงานที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ 3,309 โรง คิดเป็น 25% เงินลงทุน 5.49 แสนล้านบาท แรงงาน 1.34 แสนคน (ที่มาภาพประกอบ: psrc.org)
เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่านายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสรุปผลการจัดทำฐานข้อมูลภาคอุตสาหกรรมเพื่อการเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับจังหวัด ว่า ได้กำชับให้อุตสาหกรรมจังหวัดทำข้อมูลภาคอุตสาหกรรมเชิงลึก เพื่อรองรับการลงทุนที่จะไหลเข้าสู่ภูมิภาคอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการมีฐานข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้องจึงสำคัญในการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัด
“อุตสาหกรรมจังหวัดจะต้องเห็นโครงสร้างอุตสาหกรรมในจังหวัดของตัวเองให้ชัดเจน ต้องทราบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องอัพเดททุกเดือน เพื่อทีส่วนกลางจะได้รู้ และวางแผนแก้ไขปัญหาในแต่ละจังหวัดอย่างทันท่วงที เช่น อุตสาหกรรมบางจังหวัดใช้วัตถุดิบทางเกษตรกรรมในพื้นที่ จึงต้องมีข้อมูลผลผลิตการเกษตรที่ชัดเจน ให้โรงงานวางแผนการผลิตได้ถูกต้อง จัดหาวัตถุดิบนอกพื้นที่มาป้อนโรงงาน ป้องกันการลดกำลังการผลิตและการเลิกจ้างงานในช่วงขาดแคลนวัตถุดิบ” นายสมชาย กล่าว
ส่วน ตัวเลขโรงงานที่ได้ใบ ร.ง.4 แล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดกิจการล่าสุดตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.2559 มีผู้ที่ได้ใบ ร.ง.4 ทั้งสิ้น 13,225 โรง เงินลงทุน 1.85 ล้านล้านบาท มีแรงงาน 5.91 แสนคน แจ้งประกอบกิจการแล้ว 9,916 โรง คิดเป็น 75% เงินลงทุน 1.3 ล้านล้านบาท แรงงาน 4.56 แสนคน และมีโรงงานที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ 3,309 โรง คิดเป็น 25% เงินลงทุน 5.49 แสนล้านบาท แรงงาน 1.34 แสนคน
ทั้งนี้ โรงงานที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ 3,309 โรง นั้น มีอยู่ 1,692 โรง ยังไม่ครบกำหนดแจ้งประกอบกิจการ และมีอยู่ 1,617 โรง ที่ครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ โดยในจำนวนที่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขาดตลอดรองรับมากที่สุด รองลงมาเป็นการก่อสร้างโรงงานล่าช้ากว่ากำหนด , เงินทุนไม่พออยู่ระหว่างหาแหล่งเงินทุนหรือผู้ร่วมทุน , ติดปัญหานำเข้าเครื่องจักรไม่เป็นไปตามแผน และติดกฎหมายอื่นๆ เช่น อีไอเอ ป่าไม้ พลังงาน เป็นต้น
สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงานที่ครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่แจ้งประกอบกิจการ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และปรับปรุงอาคารโรงงาน 45% รองลงมายังไม่ได้ก่อสร้างโรงงาน 27% อยู่ระหว่างติดตั้งและทดลองเครื่องจักร 26% ไม่ระบุอีก 2% ซึ่งโรงงานเหล่านี้ ส่วนใหญ่ต้องการเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 47.5% รองลงมาขอขยายเวลา 9% สนับด้านตลาดเพื่อรองรับสินค้า 4% และอื่นๆ 36%
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ