ตัวอย่างหนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อทักท้วงของ สตง. ต่อ อปท.

ทีมข่าว TCIJ : 27 พ.ย. 2559 | อ่านแล้ว 28380 ครั้ง


ข้อมูลจาก 'เอกสารรวบรวมข้อทักท้วงของสตง.ในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น' รวบรวมจากเอกสารกองตรวจสอบระบบการเงินและบัญชีท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดย ตำแหน่งเทศบาล คัดลอกเผยแพร่โดย ประพันธ์ เวารัมย์ ได้รวบรวมตัวอย่างหนังสือสั่งการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อทักท้วงของ สตง. ต่อ อปท. ไว้ดังนี้

ตัวอย่างหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่มท 0808.2/ว 3475 ลงวันที่ 11 ต.ค.2550 เรื่องขอให้ทบทวนและกำหนดมาตรการป้องปราม กรณี อปท.ใช้งบประมาณทางราชการจัดซื้อสิ่งของแจกราษฎรโดยใส่ชื่อของตนลงบนสิ่งของ กำหนดว่าการประชาสัมพันธ์ผลงานของ อปท. เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ปฏิทิน เป็นต้น หากมีภาพกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องเป็นกรณีที่องค์ประกอบของภาพบ่งบอกถึงกิจกรรมนั้น ๆ และการให้ความช่วยเหลือ จะกระทำได้เฉพาะกรณีจำเป็น และเป็นไปอย่างประหยัด และดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ส่อไปในทางหาเสียง เพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองท้องถิ่น รวมทั้ง อปท.ควรให้ความสำคัญในการจัดทำโครงการที่ใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่สมควรตั้ง งบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นต่อการปฏิบัติราชการ หรือตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ว 1308 ลงวันที่ 28 เม.ย. 2551 เรื่องการใช้งบประมาณของทางราชการ จัดซื้อสิ่งของแจกราษฎร โดยใส่ชื่อของตนลงบนสิ่งของกรณี อปท.มีการร่วมมือกับบริษัทเอกชนทำโครงการ โดยจัดทำหนังสือและสื่อมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับโครงการรณรงค์และป้องกันแก้ไขยาเสพติด ซึ่งบริษัทเอกชนเป็นผู้จัดทำแบบฟอร์ม โดยเว้นช่องว่างให้ อปท.ที่สนใจใส่ชื่อ จำนวนสิ่งที่ต้องการ จำนวนงบประมาณที่ใช้ ผู้เสนอโครงการ และผู้อนุมัติโครงการ อปท.จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเมื่อดำเนินการตามโครงการนั้นได้ ย่อมเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมส่อไปในทางหาเสียงเพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองท้องถิ่น อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ว 524 ลงวันที่ 19 ก.พ. 2552 เรื่อง การใช้งบประมาณของทางราชการจัดซื้อสิ่งของแจกราษฎรโดยใส่ชื่อของตนเองบนสิ่งของ และการตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล กำหนดให้ กรณี อปท.ใช้เงินงบประมาณของทางราชการจัดซื้อสิ่งของแจกให้ราษฎรโดยใส่ชื่อของตนลงบนสิ่งของและการตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคลตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2/ว 3475 ลงวันที่ 11 ต.ค.2550 โดยเคร่งครัด

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท 0808.2/ว 2072 ลงวันที่ 14 มิ.ย. 2554 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ข้อ 4 วรรค 7 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญในการจัดทำโครงการที่ใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างจริงจัง ไม่สมควรตั้งงบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น หรือตั้งงบประมาณจัดซื้อวัสดุเพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ราษฎรในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยจัดทำแผ่นพับ ใบปลิว โปสเตอร์ เอกสารสรุปผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตัวอย่างหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกีฬา

หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0808.4/ว 2589 ลงวันที่ 3 ส.ค. 2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินในการแข่งขันกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดไว้ดังนี้ 1. อปท.ส่งนักกีฬาหรือนักกรีฑาเข้าร่วมการแข่งขันให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ 1.1 ค่าพาหนะเดินทาง 1) ผู้ควบคุมและผู้ที่ฝึกสอน ให้เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริงตามสิทธิที่กำหนดไว้ในระเบียบ มท.ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 2) นักกีฬาหรือนักกรีฑา ให้เบิกจ่ายในอัตราต่ำสุดของระเบียบ 1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเช่าที่พัก 1) พนักงานส่วนท้องถิ่นให้จ่ายได้ตามสิทธิตามระเบียบฯ 2) นักกีฬาหรือนักกรีฑา ให้เบิกจ่ายในอัตราต่ำสุดของระเบียบฯ กรณีมีความจำเป็นต้องเก็บตัวก่อนการแข่งขันในแต่ละครั้ง ให้เก็บตัวนักกีฬาหรือนักกรีฑาไม่เกิน 30 วันพร้อมทั้งโค้ชและผู้ควบคุม 1.3 ค่าอุปกรณ์การกีฬาหรือกรีฑา ค่าชุดนักกีฬา หรือชุดนักกรีฑา พร้อมรองเท้า ถุงเท้า และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็น และประหยัด 1.4 กรณีที่แต่งตั้งบุคคลภายนอกสังกัด อปท.เป็นเจ้าหน้าที่ในการควบคุมและผู้ฝึกสอน หรือเจ้าหน้าที่อื่นจำเป็นให้เบิกค่าตอบแทนในอัตราคนละไม่เกิน 400 บาทต่อวัน 2. กรณี อปท.รับเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันให้เบิกค่าใช้จ่ายได้ดังนี้ 2.1 ค่าเช่าและค่าเตรียมสนามแข่งขัน (ถ้ามี) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง 2.2 ค่าอุปกรณ์การแข่งขันให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็น และประหยัด 2.3 ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ประจำสนาม กรณีที่เป็นพนักงานของ อปท.ให้เบิกในอัตราอาหารทำการนอกเวลาในวันหยุดราชการเฉพาะวันที่มีการแข่งขันกีฬาหรือกรีฑา 2.4 ค่าอาหารทำการนอกเวลาของเจ้าหน้าที่แข่งขันกีฬาหรือนักกรีฑาให้ปฏิบัติตามระเบียบการจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลา 2.5 ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน 1) บุคคลที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ ซึ่งไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดงานดังกล่าว ในอัตราคนละไม่เกิน 400 บาทต่อวัน 2) บุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ ในอัตราคนละไม่เกิน 800 บาทต่อวัน 2.6 กรณีที่แต่งตั้งบุคคลภายนอกสังกัด อปท.เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสนามหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่จำเป็นในการแข่งขันกีฬา ให้เบิกค่าตอบแทนในอัตราคนละไม่เกิน 400 บาทต่อวัน 2.7 คชจ.รายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็นและประหยัด 2.8 ค่าโล่หรือถ้วยรางวัล หรือของรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการแข่งขัน เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ชิ้นละไม่เกิน 1,500 บาท 2.9 เงินหรือของรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการแข่งขันเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของประมาณการค่าใช้จ่ายตามโครงการ

ตัวอย่างหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ

ระเบียบ มท.ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯ พ.ศ. 2547 ข้อ 67 กำหนดว่า อปท.จะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหนังสือสั่ง การกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ (ดังนั้น การซื้อสิ่งของแจกให้ประชาชน จึงมิใช่ความหมายค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ และไม่มีระเบียบกำหนดจึงไม่สามารถเบิกจ่ายได้)

หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 0313.4/ว 1347 ลงวันที่ 19 พ.ค. 2541 เรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ของ อปท. กำหนดให้ อปท.ถือปฏิบัติในการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ทั้งในกรณที่ดำเนินการเองหรืออุดหนุนหน่วยงานอื่นโดยให้เบิกได้ตามงบประมาณที่ตั้ง ไว้และเบิกจ่ายได้เท่าที่จำเป็นและประหยัดโดยคำนึงถึงฐานะการคลังของ อปท. เป็นสำคัญ

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่มท 0808.4/ว 3722 ลงวันที่ 10 ส.ค. 2555 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ ของ อปท. ดังนี้ 1) ต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือมีกฎหมายให้อำนาจโดย อปท.ต้องกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการไว้ในโครงการจัดงาน 2) กิจกรรมจะต้องเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนที่ให้ประโยชน์หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่ว ไป เช่น การให้ความรู้อันเป็นประโยชน์ หรือการส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและรักษาไว้ซึ่งศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 3) กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หากไม่ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ 4) หากมีการจัดประกวด แข่งขัน มีการมอบรางวัล มูลค่ารางวัลต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการ โดยเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นเหมาะสมและประหยัด

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่มท 0808.2/ว 3475 ลงวันที่ 11 ต.ค. 2550 เรื่องขอให้ทบทวนและกำหนดมาตรการป้องปราม กรณี อปท.ใช้งบประมาณทางราชการจัดซื้อสิ่งของแจกราษฎรโดยใส่ชื่อของตนลงบนสิ่งของ กำหนดว่า 1) วัสดุสิ่งของที่ อปท.นำไปช่วยเหลือประชาชน หรือเงินอุดหนุนหน่วยงานอื่น โดยใช้งบประมาณของ อปท. ไม่สามารถระบุข้อความหรือรูปภาพหรือระบุชื่อหรือสัญลักษณ์อื่นใดของผู้ช่วยเหลือ แต่สามารถระบุได้เฉพาะชื่อหน่วยงานของ อปท. 2) การประชาสัมพันธ์ผลงานของ อปท. เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ปฏิทิน เป็นต้น หากมีภาพกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องเป็นกรณีที่องค์ประกอบของภาพบ่งบอกถึงกิจกรรมนั้น ๆ 3) การให้ความช่วยเหลือ จะกระทำได้เฉพาะกรณีจำเป็น และเป็นไปอย่างประหยัด และดำเนินการดังกล่าว จะต้องไม่ส่อไปในทางหาเสียง เพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองท้องถิ่น 4) อปท.ควรให้ความสำคัญในการจัดทำโครงการที่ใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่สมควรตั้งงบประมาณในลักษณะฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นต่อการปฏิบัติราชการ หรือตั้งงบประมาณในลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ส่วนบุคคล

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่มท 0808.2/ว 1961 ลงวันที่ 8 พ.ค. 2556 เรื่อง ขอให้กำหนดมาตรการเพื่อใช้เป็นแนวทางกรณีการเบิกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจน ดังนี้ 1. การดำเนินการจัดงานต่างๆ ต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือมีกฎหมายให้อำนาจ โดย อปท.ต้องกำหนดกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการไว้ในโครงการจัดงาน 2. กิจกรรมจะต้องเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนที่ให้ประโยชน์หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่ว ไป เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้อันเป็นประโยชน์ หรือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และรักษาไว้ซึ่งศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 3. กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หากไม่ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้โครงการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ 4. หากโครงการที่มีการจัดการประกวด หรือแข่งขันและมีการมอบรางวัล มูลค่าต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการโดยเบิกค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น เหมาะสม และประหยัด

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่มท 0808.2/ว 1639 ลงวันที่ 17 เม.ย. 2556 เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมและบำรุงรักษาจารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของ อปท. กำหนดว่า อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ อปท. เกี่ยวกับการบำรุงรักษา จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น จะต้องมีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ หรืออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นการทั่ว ไป เช่น การจัดกิจกรรม ส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในการปฏิบัติตามแบบอย่างประเพณี หรือวัฒนธรรมไทย” มิใช่ส่งเสริมสนับสนุนหรือบำรุง จารีตประเพณี หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น โดยการออกค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งที่จะประกอบพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่บุคคลนั้น จะต้องกระทำตามประเพณี หรือวัฒนธรรมที่บุคคลนั้น เชื่อถือ หรือปฏิบัติซึ่ง บุคคลนั้นมีสิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 37 โดยบุคคลนั้นจะต้องกระทำด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: