เลาะไปตามถนนสี่เลนส์ มุงหน้าสู่จังหวัดยะลาห่างจากตัวเมืองทางทิศตะวันออกราว 6 กิโลเมตร เราเดินทางเข้าเขตหมู่บ้านหรือเซะ มิสยิดอายุกว่า 200 ปี ตระหง่านริมข้างทางเคียงกับสุสานเจ้าแม่ลิ้วกอเหนี่ยว แม้จะถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและทําการบูรณะ เมื่อปี 2478 แต่การใช้งานใช้งานเดิมยังคง ถูกสวงนรักษาไว้โดยมีเสียงอาซาน[1]เป็นเครื่องยืนยัน
นอกจากการเป็นศาสนสถาน มัสยิดกรือเซะยังเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่น โดยเฉพาะ ชาวจีนจากประเทศมาเลเซียท่ีมาเที่ยวชมสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นผลพวงจากตํานานเรื่องเล่าที่ว่า มัสยิดแห่งนี้ถูกสาปจากเจ้าแม่ลิ้มกอเนี่ยวให้สร้างไม่เสร็จ เน้ือหาหลักของตํานานใจความเล่าถึงความโกรธแค้นท่ีไม่สามารถนําพี่ชายท่ีสมรสกับธิดาเจ้าเมืองปัตตานีและเข้ารับศาสนาอิสลามกลับไปยังมาตุภูมิ จึงสาปให้มัสยิดไม่มีวันสร้างสมบูรณ์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูดนักท่องเที่ยว ล้านกว้างใกล้มัสยิดถูกแปรสภาพเป็นตลาดนัดย่อมๆ ขายสินค้ามือสองและสิ้นค้าท้องถ่ินในช่วงเย็น
การรื้อฟื้นตํานานเกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กระแสฟื้นฟูอิสลามแพร่สะพัดไปทั่วปัตตานี จนเกิดเป็นการประท้วงของชาวมุสลิมที่ตั้งคําถามต่อประเด็นตํานานคําสาปแช่ง และสถานภาพของการเป็นโบราณสถาน เพราะตํานานเรื่องที่มาและสาเหตุที่ไม่สามรถสร้างมัสยิดให้เสร็จสมบูรณ์ยังเป็นที่ถกเถียงถึงความน่าเชื่อถือของหลักฐานในแต่ละคำอธิบาย[2]
อย่างไรก็ตามความเก่าแก่และตํานานเร่ืองเล่าอาจไม่ใช่ส่ิงที่ทําให้ศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่รู้จักของ ผู้คนนอกพ้ืนท่ี ผู้เขียนรู้จักมัสยิดกรือเซะครั้งแรกผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ในพาดหัวข่าวกรอบเช้าของวันที่ 29 เมษายน 2547 แทบทุกสํานักลงข่าวเรื่องเหตุการณ์ปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ก่อความไม่สงบ กว่า 300 ชีวิต จับมีดและดาบเข้าปะทะกับอาวุธหนัก
หากมองจากมุมของรัฐไทยฝ่ายตรงข้ามที่เข้าปะทะคือผู้ร้ายสังกัดกองกําลัง หากมองจากมุมของคนใกล้ตัวผู้เสียชีวิต พวกเขาคือนักรบศักด์ิสิทธ์ิ ศพของผู้เสียชีวิตถูกฝังโดยไม่มีพิธีอาน้ําศพ ถือเป็นการให้เกียรติต่อวีรกรรมที่พวกเขาได้ทําลงไป แม้เวลาจะล่วงมากว่าหนึ่งทศวรรษ โศกนาฏกรรมและความสูญเสียยังคงถูกเอ่ยถึงผ่านรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบของพิธีกรรมและงานรําลึก ทั้งการระลึกถึงตํานานคําสาป ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยวและอาถรรพ์คําสาป พิธีกรรมรําลึกถึงโศกนาฏกรรมและความสูญเสียเมื่อวันที่ 28 เมษายน โดยครอบครัวของผู้เสียชีวิต นํามาสู่ข้อชวนสงสัยว่าอะไรที่ทําให้ตํานานและ ความทรงจําเหล่านี้ยังคงถูกผลิตซ้ําและส่งต่อถึงปัจจุบัน
ปากคําจากความทรงจํา
หมัด (นามสมมติ)[3]เล่าให้ฟังถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นว่า คืนก่อนวันเกิดเหตุรู้ว่ามีการรวมตัวกันที่มัสยิดเพื่อทําอะไรบางอย่าง เจ้าของร้านอาหารในละแวกนั้นเล่าให้ฟังว่า มีคนต่างถิ่นเข้ามากินข้าวที่ร้าน พร้อมเอ่ยทํานองว่า เป็นอาหารมื้อสุดท้าย ล่วงเข้าวันใหม่ก่อนเวลาละมาดครั้งแรก หมัดถูกปลุกด้วยเสียงไซเรนดังระงม ราวสองชั่วโมงให้หลังจึงรู้ว่ามีเหตุปะทะเกิดขึ้นที่มัสยิด จากการปะทะกันเป็นระยะเปลี่ยน เป็นเข้าโจมตีด้วยอาวุธหนัก เมื่อผู้ก่อเหตุหลายร้อยคนเข้ามาชุมนุมพร้อมด้วยมีดพร้า ภายหลังจึงรู้ว่าหลายคนในจํานวนผู้เสียชีวิตนับร้อยคือเพื่อนร่วมสถาบัน[4]
มูซา (นามสมมติ) เป็นอีกหนึ่งคนที่อยู่ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ดังกล่าว แม้เรื่องราวจะเกิดขึ้นเมื่อครั้ง ที่คนยังเป็นเพียงนักเรียนมัธยมต้น แต่เรื่องราวที่ถูกถ่ายถอดจากคนในครอบครัว และเพื่อนนักกิจกรรมยัง สร้างความรู้สึกร่วมทุกครั้งที่มาเยือนสถานที่เกิดเหตุ และทุกครั้งที่เพื่อนต่างศาสนาจากต่างถิ่น โดยเฉพาะ ที่มาจากรุงเทพฯ มาเที่ยวปัตตานี มูซาจะพามาเที่ยวมัสยิดกรือเซะ พร้อมเล่าถึงเหตุการณ์ปะทะอย่างมี อารมณ์ร่วม[5]
ความทรงพลังของสถานที่ไม่อาจเกิดขึ้นลําพังโดยปราศจากเหตุการณ์และความทรงจํา และเพื่อให้ความทรงจํายังคงอยู่ จึงต้องมีพิธีกรรมที่ดึงพลังของความทรงจํานั้นไว้ ในงานเขียนเรื่อง ‘เราลืมเลือนได้ อย่างไรในสังคมสมัยใหม่ (How Modernity Forgets )’ ของ พอล คอนเนอร์ตัน (Paul Connerton)[6]ว่าด้วย ความลืมเลือน (forgetting)ในสังคมสมัยใหม่ ในบทหนึ่งของหนังสือ คอนเนอร์ตันเสนอให้แยกแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ (place) กับความทรงจํา (memory) ผ่านความทรงจําที่ยึดโยงเข้ากับสถานที่ เขาใช้คําว่า “place memory” มี 2 ลักษณะคือ[7]
- memorial หมายถึงสถานที่ที่เป็นสิ่งเตือนความทรงจําบางอย่าง เช่น อนุสรณ์สถาน รวมไปถึง การตั้งชื่อสถานที่ หรือการให้ความหมายจําเพาะเจาะจงกับบางสถานที่ว่ามีความสําคัญ หรือเป็นสิ่งเตือนความทรงจําบางอย่าง การจาริกไปยังสถานที่ที่มีนัยสําคัญ[8]
- locus หรือตําแหน่งแห่งที่ หมายถึงสถานที่ไม่ได้ถูกระบุอย่างเป็นทางการว่าเป็นอนุสรณ์ หรือสิ่งเตือนความทรงจํา แต่กลับมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชีวิตประจําวันของผู้คน อาทิ บ้านเรือนหรือห้องต่างๆ ภายในบ้าน ท้องถนน หรือพื้นที่ในชีวิตประจําวันของผู้คน[9]
ในทัศนะของคอนเนอร์ตันเขาเห็นว่า ‘ตําแหน่งแห่งที่’ กลับมีความสําคัญยิ่งกว่าสิ่งเตือนความจํา เนื่องจากเป็นทั้งที่ตั้งและพาหนะของความทรงจํา ดังนั้นการจําหรือการลืมในสังคมสมัยใหม่จําเป็นต้องตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างตําแหน่งแห่งที่ และสถานที่เตือนความจํา เพราะการสร้างสิ่งเตือนความทรงจํากับการลืม ล้วนส่งอิทธิพลซึ่งกันและกัน[10]
กรณีของมัสยิดกรือเซะซับซ้อนไปกว่านั้น พิจารณาในทางกายภาพ ความเก่าแก่ของสถานที่ซึ่งถูกรับรองโดยกรมศิลปากรในฐานะโบราณสถาน เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองของอาณาจักรโบราณในอดีต บวกกับตํานานเรื่องเล่าคําสาปเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ทําให้โดยตัวสถานที่แล้ว มัสยิดกรือเซะเป็นที่รู้จักในนามแหล่งท่องเที่ยวของปัตตานี ขณะที่โศกนาฏกรรมที่เกิดทําได้ให้ความหมายใหม่กับสถานที่ เป็นอนุสรณ์เตือนความจําถึงการพลีชีพของเหล่านักรบศักดิ์สิทธิ์ และความรุนแรงในพื้นที่ ในทางกลับกันไม่เพียงแต่สถานะของเครื่องเตือนความจําและโบราณสถาน มัสยิดยังถูกสวงนคุณค่าการใช้งานเดิมไว้ในนามของ ศาสนสถาน ชาวมุสลิมบางกลุ่มยังคงใช้โบราณสถานเป็นแหล่งทําพิธีกรรมทางศาสนาเป็นกิจวัตร เชื่อมความสัมพันธ์กับชีวิตประจําวันของผู้คนผ่านพิธีกรรมที่พวกเขาปฏิบัติ ซึ่งก่อนหน้านั้นมัสยิดถูกทิ้งร้างมาหลายสิบปี หลังการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไม่อนุญาติให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ เป็นที่มาของการดื้อแพ่งเข้าไปละมาดในมัสยิด[11]จนเกิดเป็นกระแสเรียยกร้องให้ถอดมัสยิดกรือเซะออกจากทะเบียนโบราณสถาน และคืนคุณค่าการใช้งานเดิมให้กับคนในพื้นที่
หลากความทรงจําในหนึ่งสถานที่
พิจารณาเฉพาะถึงความทรงจําต่อสถานที่สามารถแบ่งความทรงจําที่มีต่อมัสยิดกรือเซะได้เป็นสองความทรงจําหลักใหญ่ๆ แบบแรกคือ ความทรงจําเรื่องตํานานการสร้างมัสยิด และเหตุที่ไม่สามารถสร้างให้แล้วเสร็จได้ แบบที่สองคือความทรงจําเรื่องโศกนาฏกรรมวันที่ 28 เมษายน 2547 ซึ่งจุดร่วมของทั้งสองความทรงจําหลัก คือต่างนําไปสู่การที่คนในพื้นที่เข้าไปเป็นผู้เล่นสําคัญในความทรงจํา
ความทรงจําแบบแรก เรื่องตํานานการสร้างมัสยิดและสาเหตุที่ถูกทิ้งร้างปรากฏอยู่ด้วยกันหลายตํานาน แต่ตํานานที่ได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่นิยมคือตํานานที่เกี่ยวข้องกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว แม้จะมีผู้สันนิฐานจากหลักฐานทางประวัติศาตร์อาทิ พงศาวดาร และบันทึกต่างๆ โดยตีความสาเหตุจากสงครามกับอาณาจักรใกล้เคียง แต่กลับไม่ได้รับการกล่าวถึงเท่ากับแบบแรก สาเหตุหนึ่งที่ทําให้ตํานานคําสาปได้ รับความนิยมนั้นเป็นผลมาจากการโปรโมตการท่องเที่ยว โดยเฉพาะงานสมโภชเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยวเป็น งานประจําปีที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดปัตตานี
ขณะที่อีกฝากอิทธิพลของกระแสฟื้นฟูอิสลามที่เริ่มขยายเข้ามาในพื้นที่ ปฏิเสธความเชื่อเรื่องอิทฤิทธิ์ปาฏิหารย์ของตํานานมัสยิดและตั้งคําถามกับเรื่องเล่าดังกล่าวจนลุกลามกลายเป็นเหตุประท้วงใหญ่ ที่สืบเนื่องจากการเข้าไปปฏิบัติศาสนกิจใจมัสยิดที่เป็นเขตโบราณสถานในปี 2530 การประท้วงที่มัสยิดกรือเซะดําเนินเรื่อยมาประมาณ 3 ปี จนถึง วันที่ 3 มิถุนายน 2533 การชุมนุมในช่วงนั้นเป็น ระยะเวลาเดียวกับที่ภาครัฐได้ทาการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายปีท่องเที่ยวไทย จังหวัดปัตตานีมีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียคือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวข้างมัสยิดกรือเซะ[12]
“มีการเผยแพร่ตํานานที่ว่าด้วยคาสาปแช่งให้มัสยิดกรือเซะ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จของหญิงชาวจีน ก่อนที่เธอจะผูกคอตาย...เรื่องเล่าเหล่านี้ยิ่งเร่งเร้าให้สรยุทธและเพื่อนต้องการจะชําระประวัติศาสตร์ที่ดูจะ เป็นการหมิ่นต่อหลักการศรัทธาของศาสนาอิสลาม ”[13]
สรยุทธ สกุลนาสันติศาสน์ หรือหมอดิง เป็นแกนนําคนสําคัญในการประท้วงที่มัสยิดกรือเซะ สรยุทธตั้งประเด็นที่สังคมปัตตานีต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และการขัดแย้งกับหลักคาสอนของศาสนาอิสลาม เมื่อการชุมนุมนาไปสู่แนวคิดเรื่องการก่อสร้างโดมครอบมัสยิดให้สมบูณ์เพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์คําสาปของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ข้อขัดแย้งไม่ได้อยู่ที่การต่อรองระหว่างคนสองเชื้อ ชาติสองศาสนา หากแต่เป็นการต่อรองระหว่างประชาชนกับภาครัฐ เพราะการก่อสร้างเพิ่มเติมใดๆ ที่มัสยิดกรือเซะซึ่งเป็นเขตโบราณสถานนั้นขัดกับกฎหมายโบราณสถาน ดังนั้นประเด็นของการประท้วงให้ถอนทะเบียนมัสยิดกรือเซะจากการเป็นโบราณสถานและคงคืนสถานะของความเป็นศาสนสถาน จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งของการ ประท้วง[14]
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ให้ความหมายกับมัสยิดกรือเซะว่า เป็นเวทีแห่งการปะทะต่อรองเชิงอัตลักษณ์ครั้งใหม่ของชาวมุสลิมกับชาวจีน ในฝั่งหนึ่งชาวมลายูมุสลิมต้องการแสดงออกถึงศรัทธาอันปราศจากเงื่อนไขที่มีต่ออัลลอฮ์ โดยไม่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อื่นใดเหนือจากพระเจ้า ในช่วงที่อิทธิพลของกระแสฟื้นฟูอิสลามกําลังแผ่ขยายไปทั่วปัตตานี ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งใช้ตํานานเป็นจุดขายเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวในการดึงดูดชาวจีนจากมาเลเซียซึ่งกําลังอยู่ในช่วงภาวะของความขัดกันทางชาติพันธุ์ในประเทศของตน[15]
14 ปีต่อมา มัสยิดกรือเซะถูกใช้อีกครั้ง วิธีการใช้ “มัสยิดกรือเซะ” ครั้งนี้ เป็นสัญลักษณ์และ เงื่อนไขของการต่อสู้ ด้วยความรุนแรง คือเหตุการณ์ความรุนแรงที่มัสยิดกรือเซะในวันที่ 28 เมษายน 2547
ข้อมูลจากรายงานคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ กล่าวถึง เหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวโดยเรียงลําดับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 ที่มีกลุ่มบุคคลจํานวนหนึ่งใช้อาวุธเข้าปล้นค่ายทหารและได้มีการสังหารทหารและนำอาวุธปืนจำนวนมากไป หลังจากนั้นต่อมามีการ ทำร้ายพระภิกษุ ราษฎรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนทําลายสถานที่ของทางราชการในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส และปัตตานี อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งวันที่ 28 เมษายน 2547 มีการโจมตีที่ตั้งหน่วยราชการต่างๆ พร้อมกัน 11 จุด ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และ สงขลา สําหรับจังหวัดปัตตานี เกิดเหตุการณ์ รุนแรงที่ตําบลตันหยงลุโละ อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี[16]
“.....โดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจํานวนหนึ่งได้บุกเข้าโจมตีจุดตรวจของเจ้าพนักงานตํารวจทหารที่กรือเซะ และปล้นอาวุธปืน กระสุนปืนของทางราชการไปจํานวนหนึ่ง ฆ่าและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกําลังทําหน้าที่แล้วได้หลบหนีเข้ําไปยึดครองมัสยิดกรือเซะซึ่งเป็นศาสนสถานและโบราณสถานที่สําคัญของจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับจุดตรวจฯ ดังกล่าว โดยในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ตํารวจและทหารได้เข้าดําเนินการควบคุมสถานการณ์โดยใช้อํานาจตามกฎหมายจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ณ มัสยิดกรือเซะ รวม จํานวน 32 คน” [17]
ตํานานต่างๆ เกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะและการใช้มัสยิดกรือเซะในเชิงสัญลักษณ์ถูกย้อนกล่าวถึงหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับศาสนสถานซึ่งบรรจุนัยยะสำคัญทางประวัติศาสตร์ การเมือง ชาติพันธุ์ นอกจากนี้เหตุการณ์สําคัญทั้งสองครั้งยังมีส่วนสําคัญในการประกอบสร้างความทรงจําของปัจเจกบุคคลทั้งในฐานะที่เป็นความทรงจําส่วนบุคคลและความทรงจําร่วม
การประกอบสร้างความทรงจํา
งานเขียนว่าด้วยความทรงจําของคอนเนอร์ตัน เรื่อง ‘สังคมจําได้อย่างไร (How Societies Remember)’[18]รวบรวมประเด็นศึกษาเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของความทรงจําทั้งของปัจเจกและสังคม เขาตั้งคําถามต่อความทรงจําทางสังคมว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีหน้าที่ใดในสังคม คอนเนอร์ตันจําแนกความทรงจําออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- ความทรงจําปัจเจกบุคคล (personal memory) เป็นความทรงจําของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ กระทําขึ้น
- ความทรงจําที่เกิดจากการรับรู้ (cognative memory) ความทรงจําประเภทนี้มักใช้ร่วมกับคํา ว่า “จํา” (remember) คล้ายกับความทรงจําประเภทแรก แต่จุดที่ต่างกันคือความทรงจําประเภทนี้เป็นสิ่งที่ ผู้คนอ้างถึงจากการจดจําในสิ่งที่พวกเขารับรู้ต่อเหตุการณ์ในอดีต เช่น การับรู้เกี่ยวกับมัสยิดกรือเซะ บาง คนอาจรับรับในฐานะของสถานที่เกิดโศกนาฏกรรม ขณะที่บางคนรับรู้ในฐานะโบราณสถานหรือศาสน สถาน แหล่งท่องเที่ยวใกล้กับสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
- ความทรงจําที่เคยชิน (habit-memory) เป็นความทรงจําประเภทนี้รวมเอาความสามรถที่เกิด จากการจําและปฏิบัติได้ อาทิ ความสามารถในการจดจําวิธีการอ่านเขียน เราสามรถปฏิบัติได้ทันทีโดยไม่ จําเป็นต้องระลึกถึง (recollection) ส่วนที่เรียกว่าความเคยชินมักกล่าวถึงการกระทําท่ีเกิดข้ึนทางจิตใจ กล่าวอีกทางหนึ่งความทรงจําที่เคยชินน้ีอาจเทียบได้กับลักษณะนิสัยเฉพาะบุคคล[19]
อย่างไรก็ตามความทรงจําทั้ง 3 ประเภทนั้นไม่สามรถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด คลังความทรงจําของบุคคลหนึ่งอาจประกอบด้วยความทรงจํามากกว่าหนึ่งประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความทรงจําส่วนบุคคคลทั้งที่เกิดจากการะทําและการรับรู้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจําร่วม หรือความทรงจําทางสังคม
เช่นนั้นแล้วความทรงจําทางสังคมก่อรูปขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อตอบคําถามดังกล่าว มัวร์ริค ฮอล์บลัช (Mauric Halbwachs) [20]ศึกษาวิธีประกอบสร้างความทรงจํา ที่ประกอบขึ้นจากการสังกัดกลุ่มทางสังคม จนท้ายที่สุดความทรงจําเหล่านั้นกลายเป็นความทรงจําทางสังคม
ฮอล์บลัชกล่าวถึงการระลึกถึงความทรงจําของบุคคลในแต่ละวันที่เชื่อมโยงพวกเขาเข้ากับสมาชิกในกลุ่มสังคมว่า พวกเขารับความทรงจําเหล่านั้นมาจากไหน ใครหรือส่ิงใด และในทางกลับกัน ผู้อื่นเชื่อมโยงตนเองเข้ากับความทรงจําในสังคมอย่างไร และด้วยความทรงจําแบบไหน ฮอล์บลัชค้นพบว่า ความเป็นกลุ่ม ได้จัดวางผู้คนเข้ากับกรอบบางอย่างภายใต้ความทรงจําของกลุ่ม โดยตัวเองหรือกลุ่มสมาชิกได้จัดวางการระลึกถึงอดีตไว้ภายใต้พื้นที่ทางจิตใจที่ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มที่สมาชิกสังกัด[21]
ฮอล์บลัชอธิบายต่อเรื่องพื้นที่ทางจิตใจว่ามาจากการอ้างอิงเข้ากับพื้นที่ในเชิงกายภาพ วัตถุที่บรรจุเรื่องราว และความทรงจําต่างๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความทรงจําจะถูกบรรจุไว้ในพื้นที่ เก็บเรื่องราวของอดีตและมักถูกรําลึกถึงจากกลุ่มและสังคมที่มีความทรงจํารวมในแบบต่างๆ กับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเขาเรียกพื้นที่ทางความรู้สึกนี้ว่า พื้นที่ทางสังคม และส่งผลต่อการสังกัดกลุ่มของสมาชิก[22]
พื้นที่ทางสังคมของฮอล์บลัชสามารถเทียบเคียงได้กับสถานที่เตือนความจํา (memorial) ของ คอนเนอร์ตัน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาร่วมกับกรณีของมัสยิดกรือเซะ และเนื่องจากการใช้งานถูกให้ความหมายว่าเป็นศาสนพิธี โดยตัวสถานที่จึงเป็นพาหนะเชื่อมสมาชิกในสังคมที่สังกัดศาสนาเดียวกันเข้าไว้ ในทางหนึ่งมัสยิดจึงเป็นพื้นที่ทางสังคมที่เป็นทั้งสถานที่เตือนความจําและตําแหน่งแห่งท่ี (locus) ไปโดยปริยาย
ส่งความทรงจําผ่านพิธีกรรม สรรเสริญ-สูญเสีย
การปฏิบัติการในชีวิตประจําวันของผู้คนที่มีร่วมกับสถานที่เช่น การปฏิบัติศาสนกิจ แม้จะเป็นรูปแบบหนึ่งของพิธีกรรมที่ช่วยรักษาสถานะของความเป็นตําแหน่งแห่งที่เอาไว้ กระนั้นก็ตามความทรงจําบาง อย่าต่อตัวสถานที่โดยเฉพาะ ความทรงจําที่บรรจุเหตุการณ์สําคัญ อย่างโศกนาฎกรรมและการสูญเสีย เพื่อให้สมาชิกในรุ่นต่อไปยังคงความรู้สึกร่วมและส่งผ่านความทรงจําต่อได้ พิธีกรรมเพื่อระลึกถึงความทรง จํา จึงถูกผลิตขึ้นเพื่อทําหน้าที่ตอกย้ํา และผลิตซ้ําให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สําหรับมัสยิดกรือเซะ พิธีกรรมเพื่อส่งผ่านความทรงจํานั้นปรากฏชัดอยู่สองกรณี กรณีแรกเป็น พิธีกรรมสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จัดโดยชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดปัตตานี เพื่อระลึกถึงตํานานความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและความกตัญญูต่อครอบครัวของนางลิ้มกอเหนี่ยว ที่ผูกคอตายหลังจากไม่สามารถตามพี่ชายกลับไปพบมารดาได้พร้อมสาปแช่งให้สัมยิดกรือเซะไม่สามารถสร้างเสร็จสมบูรณ์ได้[23]
กรณีที่สอง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นโดยครอบครัวของผู้ถูกสังหารในเหตุการณ์ปะทะเมื่อวันที่ 28 เมษายน จัดขึ้นที่บริเวณมัสยิดในละแวกชุมชน ผู้เข้าร่วมจะขอดุอาร์[24]ให้กับญาติที่เสียชีวิตพร้อมกล่าวต่อพระอัลลอฮ์ว่า หากสิ่งที่ทําเป็นสิ่งที่ถูกต้องขอให้ผู้สละชีพทั้งหลายต่างได้รับผลบุญจากสิ่งที่ได้กระทําในค่ําคืน พร้อมขออภัยโทษหากเป็นเรื่องผิดบาป อีกทั้งเป็นการระลึกถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่และเป็นอุทาหรณ์ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ํารอย[25]
คอนเนอร์ตันกล่าวถึงบทบาทของพิธีกรรมรําลึกที่ก่อรูปความทรงจําของสมาชิกสังกัดกลุ่มว่าสามารถ อธิบายได้ 3 มุมองหลัก
- มุมมองด้านจิตวิทยา พิธีกรรมเป็นรูปแบบของความจริงเชิงสัญลักษณ์ซึ่งเป็นภาพแทนของ ประวัติศาสตร์ ภาพแทนเชิงสัญลักษณ์ถูกผลิตขึ้นผ่านพิธีกรรมรําลึก
- มุมมองด้านสังคมศาสตร์ พิธีกรรมเป็นรูปแบบของภาพแทนที่ส่งผ่านกันในกลุ่มคน ครอบคลุม ถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้การรับรู้ สามารถขยายและเปลี่ยนแปลงได้ และ
- มุมมองด้านประวัติศาสตร์ ในมุมนี้พิธีกรรมไม่สามารถเข้าใจได้ผ่านโครงสร้างภายนอกของพิธีกรรม ขึ้นอยู่กับว่าพิธีกรรมเกิดขึ้นในบริบทใด อีกทั้งจําเป็นต้องพิจารณาพิธีกรรมตั้งแต่ต้นกําเนิดของ พิธีกรรม และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและการถูกแทนที่ด้วยพิธีกรรมใหม่[26]
เมื่อพิจารณาจุดร่วมกันของทั้งสามมุมมองจะพบว่า จุดร่วมที่มีเหมือนกันต่อพิธีกรรม คือหน้าที่ของพิธีกรรม ที่คอยเก็บรักษาความทรงจําที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ พิธีกรรมรําลึกที่เกี่ยวพัยกับมัสยิดกรือเซะทั้งสองพิธีกรรมต่างมีเป้าหมายเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญที่เกิดขึ้นกับสถานที่ในอดีต
ขณะที่ความต่างของทั้งสองพิธีกรรมคือ ความทรงจําที่ถูกระลึกถึง และผู้คนที่ระลึกถึงต่างสังกัดกันคนละกลุ่มสังคมโดยมีศาสนาและความเชื่อเป็เครื่องจําแนก แม้จะเป็นการรําลึกถึงสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน แต่เป็นเพราะพวกเขามีความทรงจําที่เกิดจากการรับรู้ที่ต่างกันโดยเป็นผลมาจากการสังกัดคนละกลุ่มสังคม โดยเฉพาะพิธีกรรมที่ระลึกถึงโศกนาฏกรรมเกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งระหว่างความทรงจําส่วนบุคคลและการรับรู้
วันคล้ายโศกนาฏกรรมกําลังเดินทางถึงในอีกไม่กี่สิบวันข้างหน้า ทําให้ชวนคิดต่อไปว่า มัสยิดกรือเซะ ในฐานะของสถานที่บรรจุความทรงจํา จะถูกระลึกถึงและส่งผ่านความทางจําผ่านพิธีกรรมแบบใด ในขณะที่ ไม่กี่เดือนต่อมา มัสยิดกรือเซะ จะถูกอ้างถึงอีกครั้งในนามส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลอง
บรรณานุกรม
ภาษาอังกฤษ
Connerton Paul, How societies remember. (1991).
______________ (2009). How modernity forgets / Paul Connerton. Cambridge, UK ; New York : Cambridge University Press, 2009.
Halbwachs, M., & Coser, L. A. (1992). On collective memory. Chicago : University of Chicago Press, 1992.
Satha-anand, C. (1993). Kru-ze: A Theatre for Renegotiating Muslim Identity. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, (1)
ภาษาไทย
คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ. (กรกฎาคม 2547). รายงาน คณะ กรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์
รินนา, ท. (2015). พิพิธภัณฑ์สงครามในจังหวัดกาญจนบุรี : การสร้างพื้นที่และความทรงจํา. [กรุงเทพฯ] : คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558 [2015], หน้า 19-22
รอมฎอน ปันจอร์. (ธันวาคม 2552). ฮิญาบและกรือเซะ : ประวัติศาสตร์ปาตานีระยะใกล้และการ ต่อรอง ทางการเมืองที่หายไป. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, The Phantasm in Southern Thailand : Historical Writings on Patani and the Islamic World, International Conference, กรุงเทพฯ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ASTVผู้จัดการออนไลน์ (28 เมษายน 2557). ใน เหยื่อกรือเซะร่วมรําลึกครบ 10 ปีโศกนาฏกรรม วอนขอ อย่าให้เกิดซ้ําอีก. สืบค้นสืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th
ท่องทั่วไทย. ใน งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี ตํานานความรัก สู่ความศรัทธา. สืบค้นเมื่อ สืบค้น เมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.xn--72c5aba9c2a3b8a2m8ae.com/
รวิวรรณ รักถิ่นกําเนิด.(20 ธันวาคม 2558). ใน ‘เด็ก’ในกองกําลังติดอาวุธชายแดนใต้ ‘ความเชื่อ-ความ แค้น’เหตุร่วม ขบวนการ. สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http:// www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=5953
สัมภาษณ์
หมัด, ปัตตานี, 20 มีนาคม 2559
มูซา, ปัตตานี, 20 มีนาคม 2559
[1] การเรียกเพื่อละมาดของอิสลาม
[2] Satha-anand, C. (1993). Kru-ze: A Theatre for Renegotiating Muslim Identity. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, (1), p195.
[3] สัมภาษณ์ หมัด, ปัตตานี, 20 มีนาคม 2559
[4] รวิวรรณ รักถิ่นกําเนิด.(20 ธันวาคม 2558). ใน ‘เด็ก’ในกองกําลังติดอาวุธชายแดนใต้ ‘ความเชื่อ-ความแค้น’เหตุร่วม ขบวนการ. สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=5953
[5] สัมภาษณ์ มูซา, ปัตตานี, 20 มีนาคม 2559
[6] Connerton, P. (2009). How modernity forgets / Paul Connerton. Cambridge, UK ; New York : Cambridge University Press, 2009.
[7] Connerton, P. (2009). How modernity forgets, p 4.
[8] Connerton, P. (2009). How modernity forgets, p 10.
[9]Connerton, P. (2009). How modernity forgets, p 18
[10]Connerton, P. (2009). How modernity forgets, pp 8-34
[11] รอมฎอน ปันจอร์. (ธันวาคม 2552). ฮิญาบและกรือเซะ : ประวัติศาสตร์ปาตานีระยะใกล้และการ ต่อรองทางการเมือง ที่หายไป. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, The Phantasm in Southern Thailand : Historical Writings on Patani and the Islamic World, International Conference, กรุงเทพฯ, หน้า 236
[12] Satha-anand, C. (1993). Kru-ze: A Theatre for Renegotiating Muslim Identity, pp 195-218
[13] รอมฎอน ปันจอร์. (ธันวาคม 2552). ฮิญาบและกรือเซะ, หน้า 240
[14] รอมฎอน ปันจอร์. (ธันวาคม 2552). ฮิญาบและกรือเซะ, หน้า 236-240
[15] Ibid.
[16] คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ. (กรกฎาคม 2547). รายงาน คณะกรรมการอิสระ ไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์
[17] คณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ.(กรกฎาคม2547).รายงานคณะกรรมการอิสระ ไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ, หน้า 8
[18] Connerton Paul, How societies remember. (1991).
[19] Ibid.
[20]Halbwachs, M., & Coser, L. A. (1992). On collective memory. Chicago : University of Chicago Press, 1992.
[21] รินนา, ท. (2015). พิพิธภัณฑ์สงครามในจังหวัดกาญจนบุรี : การสร้างพ้ืนท่ีและความทรงจํา. [กรุงเทพฯ] : คณะ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558 [2015], หน้า 19-22
[22] รินนา, ท. (2015). พิพิธภัณฑ์สงครามในจังหวัดกาญจนบุรี, หน้า 22
[23] ท่องทั่วไทย. ใน งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี ตํานานความรัก สู่ความศรัทธา. สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.xn--72c5aba9c2a3b8a2m8ae.com/
[24] การกล่าวขอพรต่อพระอัลลอฮ์
[25] ASTVผู้จัดการออนไลน์ (28 เมษายน 2557). ใน เหยื่อกรือเซะร่วมรําลึกครบ 10 ปีโศกนาฏกรรม วอนขออย่าให้เกิดซ้ํา อีก. สืบค้สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx? NewsID=9570000047303
[26] รินนา, ท. (2015). พิพิธภัณฑ์สงครามในจังหวัดกาญจนบุรี, หน้า 23
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ