ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ ที่เปิดเผยเมื่อปลายเดือน เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา ได้ประเมินเศรษฐกิจไทยล่าสุดว่าน่าจะคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้อยู่ที่ 2.5% แต่ก็ยอมรับว่ามีความเสี่ยงที่โตลดลงจากแนวโน้มการส่งออกที่อาจจะต่ำลงและการลงทุนภาคเอกชนที่อาจจะขยายตัวตามการลงทุนรัฐได้น้อยกว่าคาด เพราะที่ผ่านมารัฐมีการเร่งลงทุนก็จริง แต่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและอยู่ในรายการลงทุนขนาดเล็ก ทำให้ส่งผ่านสู่เศรษฐกิจได้น้อย ซึ่งยังต้องติดตามต่อไปโดยการประเมินรอบนี้เราคาดการส่งออกจะลดลงจาก 0% เป็นติดลบ 2.1% และคาดการลงทุนภาคเอกชน จาก 1.4% ลดลงเหลือ 1.2%
อย่างไรก็ดีสิ่งที่น่าห่วงคือ แม้ไทยจะมีอัตราการว่างงานต่ำกว่า 1% มานาน ล่าสุดเดือน ก.พ. ปีนี้อยู่ที่ 0.9% แต่โดยภาพรวมแรงงานมีชั่วโมงการทำงานที่ลดลง ทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร โดยเฉพาะในภาคบริการชั่วโมงทำงานล่วงเวลา (โอที) ลดลงถึง 3% เช่น โรงแรมและภัตราคาร เป็นต้น กลายเป็นภาวะความเสี่ยงรายได้ครัวเรือนชะงัก (Income Shock) ซึ่ง ภาวะเช่นนี้เมื่อบวกกับปัญหาภัยแล้งและหนี้ครัวเรือน อาจทำให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ และทำให้การบริโภคโดยรวมลดลงได้ โดยรอบนี้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลงจากเดิมที่คาดจะโต 1.4% เหลือ 1.9%
โดยกลุ่มแรงงานที่รายได้ลดลงมากที่สุดเป็นคนในภาคเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ซึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เป็นกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/เดือน เพราะมีหนี้ครัวเรือนในสัดส่วนที่สูงกว่า 60% ของรายได้ แต่กลุ่มนี้ไม่ใช่ลูกค้าของแบงก์พาณิชย์มากนัก และกลุ่มรายได้น้อยระดับถัดมาที่รายได้ต่อกว่า 15,000 / เดือน ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารัฐและสหกรณ์ก็เริ่มน่าห่วง
ที่มาข้อมูล: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์
ที่มาภาพ: pennypincherssociety.info
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ