เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir Michael Gideon Marmot) ศ.ระบาดวิทยา ภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยลอนดอน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2558 ระบุวัยทำงานจากการศึกษาในคนไทยพบว่าประชากรไทย 40% ทำงานโดยที่ไม่มีนายจ้างชัดเจน ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมการทำงานไม่ดี เพราะต้องดูแลตัวเอง ขณะที่ผู้สูงอายุต้องมีผู้ดูแลและมีการใช้ชีวิตที่เหมาะสมเกิดประโยชน์ (ที่มาภาพ: theguardian.com)
29 ม.ค. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าเซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต (Sir Michael Gideon Marmot) ศ.ระบาดวิทยา ภาควิชาระบาดวิทยาและสาธารณสุข มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักรและนายกแพทยสมาคมโลก เป็นผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาวะและแนวทางแก้ไข ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2558 พบสื่อมวลชน “Meet the Press” เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยเซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต กล่าวว่า เป็นเกียรติสูงสุดที่ได้รับรางวัล และทำให้สาขาการลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพคนสนใจมากขึ้น ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมที่จะแก้ปัญหาช่องวางด้านสุขภาพ จะต้องมองตลอดเส้นทางตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงตาย จะต้องทำให้ให้ความเท่าเทียมตั้งแต่ที่เป็นทารก ให้มีจิตใจที่ดี ครอบครัวอบอุ่น จะช่วยประคับประคองให้เด็กและเยาวชนโตขึ้นมีสภาพทางอารมณ์ที่ดี ส่งผลต่อการมีสุขภาพดี ส่วนวัยทำงานจากการศึกษาในคนไทยพบว่าประชากรไทย 40% ทำงานโดยที่ไม่มีนายจ้างชัดเจน ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมการทำงานไม่ดี เพราะต้องดูแลตัวเอง ขณะที่ผู้สูงอายุต้องมีผู้ดูแลและมีการใช้ชีวิตที่เหมาะสมเกิดประโยชน์
เพราะฉะนั้น ถ้าจะทำให้ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพลดลง ต้องพัฒนาครอบครัว สังคมและรัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือ พัฒนาอย่างเหมาะสมสังคมจะมีความสุข อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีการรณรงค์ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ถือว่ามีประสิทธิภาพมาก เพราะคนที่มีการศึกษาเท่านั้นที่จะเข้าร่วมรับฟังและปฏิบัติ ดังนั้น การจะลดปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพะเรื่องเหล้า บุหรี่จะใช้วิธีการบอกให้หยุดไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้การพิ่มภาษีจะช่วยลดปัญหาได้มาก
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ