โดยคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพิจารณาไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 2) และอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจำนวน 432 ราย เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2556 จำนวน 24 ราย หรือร้อยละ 6 โดยในปีพ.ศ. 2557 คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตมีจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจทั้งสิ้นจำนวน 64,438 ล้านบาท ทั้งนี้ ประเทศที่คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 48) สิงคโปร์(ร้อยละ 17) และฮ่องกง (ร้อยละ 6) และธุรกิจที่มีการลงทุนสูงสุดได้แก่ ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือและในกลุ่ม (ร้อยละ 33) และธุรกิจสำนักงานผู้แทนและสำนักงานภูมิภาค (ร้อยละ 20)
คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 346 ราย เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2556 จำนวน 42 ราย หรือร้อยละ 14 ทั้งนี้ประเทศที่คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 56) สิงคโปร์(ร้อยละ 12) และฮ่องกง (ร้อยละ 6) และธุรกิจที่มีการลงทุนสูงสุดได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง (ร้อยละ 24) และธุรกิจบริการทางวิศวกรรม (ร้อยละ 12)
คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามสนธิสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีหรือมีพันธกรณีจำนวน 80 ราย ลดลงจากปีพ.ศ. 2556 จำนวน 7 ราย หรือร้อยละ 8 ประเทศที่คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 100) และธุรกิจที่มีการลงทุนสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจนายหน้าตัวแทน ค้าปลีก และค้าส่ง (ร้อยละ 36) และธุรกิจก่อสร้างและบริการทางวิศวกรรม (ร้อยละ 4)
สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน ในปีพ.ศ. 2557 ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 82 ราย เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2556 จำนวน 28 ราย โดยคนต่างด้าวจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 89) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 8) โดยประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ธุรกิจบริการในเครือและในกลุ่ม และธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทน
ทั้งนี้การออกหนังสือรับรองให้ประเทศสมาชิกอาเซียนกรณีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 50ราย เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ.2556 จำนวน 17ราย ซึ่งคนต่างด้าวจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียเข้ามาลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ในประเภทธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้าและบริการเป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
สำหรับประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ 1) ธุรกิจบริการอื่น (เช่น บริการให้แก่บริษัทในเครือและในกลุ่มให้เช่าพื้นที่อาคารและเครื่องจักร) จำ นวน 47 ราย 2) สำ นักงานผู้แทนและสำ นักงานภูมิภาค จำ นวน 23 ราย3) นายหน้าตัวแทน ค้าปลีก และค้าส่ง จำ นวน 10 ราย และ 4) ก่อสร้าง บริการทางวิศวกรรม และเป็นที่ปรึกษาโครงการให้แก่ภาครัฐ จำ นวน 2 ราย ขณะที่ธุรกิจขนาดย่อมที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานเช่น ค้าปลีกขนาดเล็ก เกษตรกรรม หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนในประเทศจะถูกสงวนไว้ตาม พรบ.ประกอบกิจประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
ที่มาข้อมูล: รายงานประจำปี 2557 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เรียงเรียงโดย : TCIJ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ