หลังจากที่ประเทศติมอร์-เลสเตเริ่มมีสเถียรภาพทางการเมือง จากความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในดือนมีนาคมที่ผ่านมา รวมถึงการเลือกตั้งผู้แทนในสภาที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ เป็นหมุดหมายที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านประชาธิปไตยของประเทศติมอร์-เลสเต ซึ่งสวนทางกับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม สภาพสังคมและเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตสอดคล้องกับเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น โดยปัญหาหลักของประเทศมาจากการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันมากเกินไป นับตั้งแต่ประธานาธิบดีคนเก่านาย Xanana Gusmao ที่ขนะการเลือกตั้งในปี 2007 ผู้นำพรรค National Congress for Timorese Reconstruction (CNRT) เพื่อนำประเทศให้พ้นจากวิกฤติจึงต้องหารายได้จากราคาน้ำมันที่สูงมากในขณะนั้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าวติมอร์-เลสเตสามารถทำรายได้จากน้ำมันเข้าประเทศได้ถึง 16 พันล้านดอลลาร์ จนกลายเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันมากที่สุดในโลกคิดเป็น 90 % ของรายได้ทั้งหมด
อีกหนึ่งปัญหาที่น่ากังวลของรัฐบาลติมอร์-เลสเตคือ โครงการสร้างสาธารณูปโภคที่ทะเยอทะยาน โดยตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าให้ได้ 80% ของทั้งประเทศ รวมถึงโครงการซ่อมถนนโดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาตามฤดูกาลโดยเฉพาะหน้าฝน ทำให้ต้องใช้เงินในส่วนนี้ถึงสองเท่า ซึ่งเป็นเงินที่มาจากกองทุนน้ำมัน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดปัจุบันตั้งความหวังด้านเศรษฐกิจไว้ที่โครงการก๊าซธรรมชาติ "Greater Sunrise" ที่มาจากทะเลของติมอร์-เลสเต โครงการดังกล่าวอยูนอกเหนือจากกิจการน้ำมันของติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นความพยายามของรัฐบาลชุดนี้ที่ต้องการจะกระจายที่มาของรายได้ไปยังกิจการอื่นๆ แต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้กับออสเตรเลียเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ทำให้อยู่ระหว่างการพิจารณาจากศาลโลกว่าติมอร์-เลสเต จะได้รับอำนาจให้สามารถควบคุมกิจการและรับผลประโยชน์นี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ และแม้จะมีการตัดสินจากศาลโลก ติมอร์-เลสเตก็จะยังไม่ได้รับผลกำไรให้อีก 6-7 ปีข้างหน้า
Damien Kingsbury ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองต่างประเทศ Deakin University คาดว่าติมอร์-เลสเตจะ "ถังแตก" ภายในทศวรรษนี้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลพยายามจะลดค่าใช้จ่ายแต่สถานการณ์ก็ยังจะไม่ดีขึ้นในเร็ววัน นอกจากนี้ปัญหาที่จะตามมาในอนาคตคือภาวะของประชากรในวัยทำงานล้นตลาด แต่ตลาดแรงงานไม่สามารถรองรับได้ทั้งหมด
ที่มาข่าวและภาพประกอบ: East Asia Forum, 28/4/2017
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ