เตรียมปันฐานฐานค่าจ้างสูงสุดที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท ยืดอายุเกษียณเพิ่มเป็น 57 ปี 59 ปี และ 61 ปี
เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ รายงานเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2560 ว่าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคมที่กำลังปรับปรุงใหม่อยู่ระหว่างเสนอเข้า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเราได้ทำประชาพิจารณ์ เพื่อเตรียมการรองรับผู้สูงอายุ การสร้างความเพียงพอที่ว่าเมื่อเกษียณแล้วต้องมีเงินใช้เพียงพอต่อความเป็นอยู่ จากปัจจุบัน ฐานค่าจ้างสูงสุดที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบคือ 15,000 บาท ใช้มานาน 27 ปียังไม่เคยปรับและหาก 10 ปีข้างหน้ายังใช้ฐานเดิม คนทำงานสูงสุด 35 ปี จะได้เงินบำนาญชราภาพสูงสุดที่ 7,500 บาท และตํ่าสุด 15 ปี จะได้เพียง 3,000 บาท (20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) ตอนนั้นก็คงไม่พอ แต่หากจะรอไปถึงเวลานั้นและปรับขึ้นทีเดียวก็ต้องปรับเยอะทั้งลูกจ้างและนายจ้างเองก็คงไม่พร้อม ฟังความคิดก็เห็นว่า ควรปรับฐานคำนวณเป็น 20,000 บาทและเป็นแบบขั้นบันได เช่นขยับขึ้นทุกๆ 3 ปี
ประกอบกับคนไทยมีอายุยืนขึ้น ฉะนั้นการยืดอายุทำงานก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ในกลุ่มที่ทำงานหนักมาตลอดก็ละเลยเขาไม่ได้หากจะเกษียณอายุที่ 55 ปี ก็ยังได้ในรูปแบบเดิมเหมือนปัจจุบัน แต่ถ้าจะยืดอายุเกษียณต้องมีมาตรการจูงใจ ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคมได้พิจารณาไว้แล้วตามกฎหมายที่แก้ไขจะปรับแนวทางนี้ไว้ด้วยเช่นอายุเกษียณ จะค่อย ๆ ขยับเพิ่มเป็น 57 ปี 59 ปี และ 61 ปี (ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมกำหนดอายุเกษียณที่ 55 ปี) คนที่อยากทำงานต่อจะให้ได้รับเงินประโยชน์ทดแทนเช่น ให้เงินก้อนก่อน ส่วนที่เหลือก็ทำงานต่อและไปรับบำนาญชราภาพตอนท้ายอีกส่วนหนึ่งตอบสนองได้ทั้งฝ่ายที่พร้อมทำงานต่อและฝ่ายที่พอแล้วก็มีทางเลือกการยืดอายุเกษียณยังช่วยให้นายจ้างสามารถวางแผนทางการเงิน ทำให้รายจ่ายนายจ้างที่ต้องจ่ายตามกฎหมายแรงงานได้ยืดออกไปด้วย
เลขาธิการสปส. กล่าวต่อว่า การสร้างความเพียงพอเงินกองทุนประกันสังคม ที่สำคัญยังขึ้นกับลงทุนอย่างไรที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี และต้องไม่เสี่ยงไปสิ่งที่เราเน้นคือลงทุนให้กว้างหลากหลายและกระจายความเสี่ยงเนื่องจากกองทุนประกันสังคมมีเงินขนาดใหญ่ (1.604 ล้านล้านบาท) ถ้าตลาดเงินไม่นิ่งพอ ก็อาจมีความเสี่ยง หรือกองทุนสปส.ขยับนิดหนึ่งก็อาจกระทบตลาดเงินได้ เพราะกองทุนมีขนาดใหญ่ดังนั้นจึงต้องลงทุนทางเลือกเพิ่มเช่น โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคหรือไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศและเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ฯลฯ
“ทางเลือกในการลงทุนปัจจุบันมีเยอะ แต่ด้วยระเบียบกฏเกณฑ์ที่เขียนมานานยังไม่รู้จักการลงทุนเหล่านี้มาก่อน ทำให้ตอบแทนที่ได้ไม่เต็มที่ ขณะที่การหามืออาชีพก็มีข้อจำกัด จากความเป็นราชการ ทำให้การแย่งมือดีแข่งกับภาคเอกชนได้ยาก ดังนั้นในพ.ร.บ.ปรับปรุงใหม่ จึงได้เสนอแยกหนว่ ยลงทุนออกไปเป็นองค์กรภายใต้การกำกับของรัฐ เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิผลมากขึ้นโดยให้แยกระหว่างหน่วยฝ่ายกำกับ และหน่วยปฏิบัติออกจากกัน กล่าวคือคณะกรรมการสปส.จะทำหน้าที่กำกับดูแลให้นโยบายเรื่องของความเสี่ยงและประโยชน์ทดแทนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะต้องให้ผู้ประกันตนเท่าไร
ขณะที่หน่วยลงทุนจะเป็นหน่วยปฏิบัติ จะดูในเรื่องการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทน โดยที่ความเสี่ยงต้องไม่ให้สูงเกินกว่าที่คณะกรรมการสปส.กำหนด ด้านกรรมการและผู้บริหาร ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการลงทุน มีกระบวนการสรรหาที่ชัดเจน ซึ่งการแยกหน่วยลงทุน จะทำให้การตัดสินใจในการลงทุนได้รวดเร็วกว่า เช่นการจะลงทุนต่างประเทศในปัจจุบันกว่าจะทำได้ ต้องใช้เวลาร่วม 2 ปี ทำให้สปส.เสียโอกาสไปมาก”
ทั้งนี้ในปี 2559 กองทุนสปส.สามารถสร้างผลตอบแทนรวม 52,800 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสะสม3.29% และ 4 เดือนแรกของปีนี้(มกราคม-เมษายน 2560) มีผลตอบแทน 17,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีทีี่แล้ว680 ล้านบาท หรือเพิ่ม 4.11%
ต่อคำถามที่ว่า ตามที่นักวิชาการบางท่านตั้งข้อสังเกตเรื่องการใช้สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จนเบียดบังงบประมาณ น.พ.สุรเดชแจงข้อเท็จจริงว่า แรงงานต่างชาติที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม ณ เดือนเมษายน 2560 มีจำนวน 494,049 คน คิดเป็น 4.69% ของจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยการใช้บริการกรณีเจ็บป่วย (ยังไม่รวมเหมาจ่ายและค่าใช้จ่ายสูง) ของผู้ประกันตนต่างชาติ ในปี 2559 มีผู้มาใช้บริการรวมทั้งสิ้น 12,631 ราย (เฉลี่ยเดือนละ 1,053 ราย)จ่ายประโยชน์ทดแทน 16.82 ล้านบาท และใน 4 เดือนแรกของปี2560 มีผู้มาใช้บริการรวม 5,656 ราย (เฉลี่ยเดือนละ 1,414 ราย)จ่ายประโยชน์ทดแทน 8.99 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 347 ราย หรือเพิ่ม 40.63%
“การดูแลแรงงานต่างชาติต้องยึดหลักความเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติตามที่ไทยได้ให้ความร่วมมือ โดยให้สัตยาบันกับยูเอ็น และองค์การแรงงานระหว่างประเทศในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และดูจากตัวเลขจริงก็ไม่ได้เยอะอย่างที่คิด การรักษาพยาบาลทั่วประเทศส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนไทยโดยแรงงานไทย 10 ล้านคน เบิกประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วยในปีหนึ่งๆ กว่า 1-2 หมื่นล้านบาทแต่ของแรงงานต่างด้าว โดยรวมปีหนึ่ง ๆเบิกจ่ายแค่หลักร้อยล้านบาท และยังไม่พบว่ามีการเบิกจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ