สหภาพแรงงานในออสเตรเลียขู่บอยคอตไอศกรีม ค้านการลดค่าจ้างพนักงานถึง 46% ของบริษัทในเครือยูนิลีเวอร์

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ 7 ต.ค. 2560 | อ่านแล้ว 2728 ครั้ง

สหภาพแรงงานในออสเตรเลียขู่บอยคอตไอศกรีม ค้านการลดค่าจ้างพนักงานถึง 46% ของบริษัทในเครือยูนิลีเวอร์

สหภาพแรงงานในออสเตรเลียมีแผนการบอยคอตไอศกรีม เพื่อคัดค้านการลดค่าจ้างพนักงานถึง 46%ของบริษัทในเครือยูนิลีเวอร์ ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเผยผู้บริโภคมีปฏิกิริยาในทางลบเมื่อสหภาพแรงงานออกมารณรงค์คัดค้านในแนวทางนี้ ที่มาภาพ: Australian Manufacturing Workers Union

สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมการผลิตออสเตรเลีย (Australian Manufacturing Workers Union หรือ AMWU) ซึ่งเป็นตัวแทนพนักงานบริษัทสตรีท (Streets Ice Cream) เปิดเผยกระนั้นว่าจะทำการรณรงค์กระตุ้นให้ผู้บริโภคคว่ำบาตรไอศกรีมของบริษัทฯ เช่น ไอศกรีมยี่ห้อ Magnum Cornetto Paddle Pop และ Golden Gaytime เพื่อประท้วงการลดการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งก่อนหน้าได้มีการเจรจาต่อรองเป็นเวลาถึง 16 เดือน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยูนิลิเวอร์ (Unilever) บรรษัทข้ามชาติซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทสตรีท ให้ยกเลิกการไม่บังคับใช้ข้อตกลงของบริษัทฉบับปัจจุบัน ที่จะมีผลในเดือน เม.ย. ปีหน้า ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างของพนักงานลดลงถึง 46%

สตีฟ เมอร์ฟี่ เลขาธิการ AMWU รัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่าสหภาพแรงงานจะไม่เรียกร้องการนัดหยุดงานของพนักงานโรงงานสตรีทในเมืองมินโต้ เขาระบุว่าอัตราค่าจ้างปัจจุบันจะถูกตัดลง 46%  จากการประชุมสมาชิกและพูดคุยกับคนงาน สมาชิกบางส่วนเป็นพนักงานที่จงรักภักดีต่อบริษัทมาก ซึ่งพวกเขาก็ไม่เชื่อว่ายูนิลิเวอร์จะทำเช่นนี้ ทั้ง ๆ ที่ทำงานที่นี่มาเป็นเวลา 20 ปี คนงานบางคนกล่าวว่าการตัดค่าจ้างเป็นการทำลายครอบครัวชัด ๆ เพราะพวกเขาจะไม่สามารถจ่ายค่าเช่าบ้านและค่าการศึกษาลูก รวมทั้งมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างอื่นด้วย คนงานคนหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาเป็นกังวลมากว่าจะเลี้ยงดูลูกที่เป็นออทิสติกได้อย่างไร  อีกคนหนึ่งบอกว่า พวกเขาอาจสูญเสียครอบครัว ถ้าบริษัทยกเลิกข้อตกลงดังกล่าว

ด้านโฆษกของยูนิลีเวอร์ ให้สัมภาษณ์ว่าคณะกรรมการว่าด้วยงานที่เป็นธรรมกำลังประเมินการเพิกถอนข้อตกลงบริษัทอยู่ และเพิ่มเติมว่าสภาพแรงงานมองว่าการตัดค่าจ้างลง 46% ไม่มีเหตุผล ซึ่งจริง ๆ แล้ว ต้นทุนการผลิตในสาขาเมืองมินโต้สูงมาตลอด ไม่สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้

แต่ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะไม่คว่ำบาตรไอศกรีมที่ตนชอบมากที่สุด โดยแกรี่ มอร์ติเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแห่งมหาวิทยาลัย Technology Queensland กล่าวว่า การเรียกร้องคว่ำบาตรนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนใจผู้บริโภค และมีแนวโน้มว่าจะไม่สนใจ เพราะไอศกรีมเป็นอะไรที่หาซื้อง่ายมาก นอกจากนี้ผู้บริโภคมีปฏิกิริยาในทางลบเมื่อสหภาพแรงงานออกมารณรงค์คัดค้าน

ดร.พอล แฮร์ริสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคแห่งมหาวิทยาลัย Deakin เห็นด้วยว่าการคว่ำบาตรไม่ส่งผลเสียหายต่อบริษัทนัก ยกเว้นแต่บริษัทจะเป็นที่นิยมชมชอบ

"ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากที่สุด คือ ความสะดวก อีกปัจจัยหนึ่งเมื่อเรื่องนั้นส่งผลกระทบต่อคุณโดยตรง ... มันไม่ใช่ว่าคนจะไม่ใส่ใจประเด็นปัญหานี้ แต่เรามีการตัดสินใจในแต่ละวันมากมาย บางคนอาจจะเลือกที่จะคว่ำบาตร แต่หลาย ๆ คนคงไม่ทำ" ดร.แฮร์ริสัน ระบุ

แปลและเรียบเรียงจาก

http://thenewdaily.com.au/news/national/2017/10/02/streets-ice-cream-boycott/

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: