จับเทรนด์ 7 กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพดาวเด่นปี 2561

กองบรรณาธิการ TCIJ 9 ส.ค. 2560 | อ่านแล้ว 1753 ครั้ง

จับเทรนด์ 7 กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพดาวเด่นปี 2561

เว็บไซต์ moneychannel.co.th ประเมินแนวโน้มในปี 2561 สตาร์ทอัพที่จะเติบโตมากขึ้นจะอยู่ในภาคการเกษตร-อาหาร-ท่องเที่ยว-สุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ คือ 1.กลุ่มธุรกิจภาครัฐและการศึกษา 2.กลุ่มการเกษตรและอาหาร 3.กลุ่มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต 5.กลุ่มไลฟ์สไตล์และความบันเทิง 6.กลุ่มเทคโนโลยีท่องเที่ยว 7.กลุ่มเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ ที่มาภาพประกอบ: bykst (CC0)

เว็บไซต์ moneychannel.co.th รายงานเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2560 ว่าปัจจุบันแนวโน้มการทำธุรกิจ “สตาร์ทอัพ” ในเมืองไทย โดยเฉพาะในบรรดากลุ่มนักศึกษาจบใหม่มีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็มีมากขึ้น ทั้งการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน // มาตรการทางภาษี หรือแม้แต่การพัฒนา “LIVE” platform ตลาดหุ้นสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพโดยเฉพาะ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ปีนี้ หลังได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

อันเป็นการขยายโอกาสและช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านการระดมทุนและเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายเปลี่ยนมือ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจในอนาคต ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพหลังจากนี้ ล่าสุดปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม “นายสมชาย หาญหิรัญ” ได้ออกมาบอกว่า การประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ จะไม่ได้มีแค่เทค-ดิจิทัล สตาร์ทอัพเท่านั้น

แต่จะต้องมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น อย่างครอบคลุมตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งแนวโน้มในปี 2561 สตาร์ทอัพที่จะเติบโตมากขึ้นจะอยู่ในภาคการเกษตร // อาหาร // ท่องเที่ยวและสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ คือ 1.กลุ่มธุรกิจภาครัฐและการศึกษา 2.กลุ่มการเกษตรและอาหาร 3.กลุ่มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต 5.กลุ่มไลฟ์สไตล์และความบันเทิง 6.กลุ่มเทคโนโลยีท่องเที่ยว 7.กลุ่มเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์

ขณะที่ภาพรวมในปี 2560 นี้ มีการเปิดเผยข้อมูลจากสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีว่า มีการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพทั่วไปกว่า 8,000 ราย หรือเพิ่มขึ้นราว 80% เทียบจากช่วง 2 - 3 ปีก่อนที่มีเพียง 100 รายเท่านั้น โดยในจำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่ยังเป็นสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงของการพัฒนาแนวคิดและช่วงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มของแพลทฟอร์ม // แอพพลิเคชั่น // ระบบฟินเทค // อีคอมเมิร์ซ ผ่านช่องทางออนไลน์

ขณะที่สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้จริงอยู่ที่ราว 1,500 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ ช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ถึง 7,500 อัตรา หรือคิดเป็นสัดส่วน 1:5 สอดคล้องกับข้อมูลที่นายวัชระ เอมวัฒน์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (ไทยเทคสตาร์ทอัพ) ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า 69% ของสตาร์ทอัพทั้งหมด สามารถสร้างรายได้จากการทำธุรกิจได้ในเวลา 1 ปี และ 23% สามารถสร้างกำไรทางธุรกิจได้ ส่วนงบประมาณที่ใช้ค้นคว้า หรือพัฒนานวัตกรรมเมื่อเริ่มต้นธุรกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 5 แสนบาท

โดยที่สัดส่วนการสร้างรายได้ แบ่งเป็น การสร้างรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 500,000 บาท ที่ 44% // สร้างรายได้ 500,000 – 5,000,000 บาท ที่ 21% // สร้างรายได้มากกว่า 5,000,000 บาทที่ 5% และอีก 30% ยังไม่มีรายได้ ส่วนแหล่งเงินระดมทุนในช่วงแรกจะมาจากเงินทุนส่วนตัวถึง 72% // เงินทุนครอบครัว เพื่อน หรือญาติ 18% // เงินทุนรัฐ 4% // จากการเข้าร่วมโครงการแอคเซอลีเรเทอร์ (Accele rator) 4% // และมาจากโครงการบ่มเพาะ (Incubators) 2%

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: