เมื่อพื้นที่ ‘เกษตรกรรมผลิตอาหาร’ ถูก ‘ภาวะโลกร้อน’ เล่นงาน

สมานฉันท์ พุทธจักร : 14 พ.ย. 2560 | อ่านแล้ว 5710 ครั้ง


สภาวะเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นมีผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์  เมื่อมนุษย์เราอาจหาญไปเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้จะถูกธรรมชาติเอาคืน เมื่อการผลิตอาหารหลายพื้นที่ในโลกถูกภาวะโลกร้อนเล่นงาน อาจส่งผลถึงความมั่นคงทางอาหาร เช่นเดียวกันผลิตอาหารของเราก็ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ที่มาภาพประกอบ: apr.org

อากาศเปลี่ยนอาหารเปลี่ยน

การทำเกษตรนั้นต้องพึ่งพาทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญ  การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรวดเร็วจึงส่งผลต่อการเกษตรอย่างมาก จากรายงานของ “องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ” หรือ FAO ได้เผยว่าภาคการเกษตรกรรมและอาหารเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยเฉพาะที่อยู่ในประเทศที่ยากจน จากรายงานชิ้นกล่าวกว่ามีงานศึกษาหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ที่มีผลต่อภาคเกษตรกรรมในด้านต่าง ๆ ทั้งเพาะปลูก ปศุสัตว์ หรือประมง ซึ่งงานส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลในแง่ลบต่อเกษตรกรมากขึ้นเรื่อย ๆ ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือการผลิตของเกษตรลดลง เป็นสาเหตุอาหารหลายอย่างจะมีราคาสูงขึ้น

โดยผลกระทบเหล่านั้นได้เกิดขึ้นจริงในหลาย ๆ พื้นที่ในปัจจุบัน  เช่นในมอนแทนา รัฐเกษตรกรรมสำคัญที่เป็นแหล่งผลิตอาหารหลักของสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับการผลิตที่เริ่มถดถอย โดยสมาพันธ์เกษตรกรของมอนแทนา ได้พยากรณ์ว่าในปี 2055 ผลิตด้านเกษตรกรรมของรัฐจะลดลงอย่างมาก เนื่องจากจะมีวันที่มีอากาศร้อนเพิ่มขึ้นอีกราว ๆ 5-15 วันต่อปี ส่งผลให้ในพื้นที่มีความชื้นที่เป็นส่วนสำคัญในการเพาะปลูกลดลง โดยคำนวณแล้วพื้นที่เกษตรกรรมในมอนแทนาจะลดลงถึงร้อยละ 25 และคาดว่าการปศุสัตว์จะลดลงร้อยละ 20 จากแหล่งน้ำที่จะเริ่มขาดแคลนทั้งยังมีคาร์บอนไดออกไซด์เจือปนเพิ่มขึ่น และจะพบปัญหาไม่มีหญ้าที่ใช้เป็นอาหารของสัตว์จะรวมไปถึงปัญหาวัชพืชที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย

ซึ่งคาดว่าในปี 2055 ประมาณการว่าวงการปศุสัตว์ในมอนแทนาต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นรวมแล้วมากกว่า 364 ล้านดอลลาร์และต้องจ้างงานเพิ่ม 12,000 ตำแหน่ง ส่วนวงการเพาะปลูกต้องสูญเสียเงิน 372 ล้านและจ้างงานเพิ่ม 12,500 คน

นอกจากนั้นยังมีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 พื้นทีปลุกกาแฟในโลกอาจจะหายเกือบครึ่งหนึ่งจากการเพิ่มขึ้นของศัตรูพืชสาเหตุมาจากสภาพอากาศของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  Guadalupe Advendo ผู้ปลูกกาแฟในเม็กซิโก กล่าวกับ ViceNews ว่าในปีเพาะปลูกที่ผ่านมาเป็นเหมือนวิกฤตร้ายแรงที่สุดในรอบ 20 ปีตั้งแต่ได้ปลุกกาแฟมา เธอจำเป็นต้องตัดต้นกาแฟของเธอไปกว่าครึ่งเพราะถูกกัดกินด้วยเชื้อรา เพราะเหตุที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ง่ายต่อการแพร่กระจายของเหล่าเชื้อรา  ศาสตราจารย์ Carlos Guadarrama ผู้ติดตามประเด็นการปลูกกาแฟในอเมริกาใต้ สังเกตเห็นว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านผลผลิตกาแฟเริ่มลดลงเรื่อยอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เป็นการบีบให้ผู้ปลูกกาแฟต้องเปลี่ยนวิธีการปลูกใหม่ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่ของโลก

ซึ่งเกษตรกรในทวีปอเมริกากลางรวมไปถึงส่วนอื่นของโลกเริ่มเกษตรกรเริ่มเปลี่ยนมาปลูก กาแฟสายพันธุ์ที่ทนต่อเชื้อราได้ดี โดยเฉพาะสายพันธุ์โรบัสต้าที่ทนต่อศัตรูพืชได้มากว่าอราบิก้า แต่ได้ผลผลิตที่ต่ำและได้ราคาที่น้อยกว่า แต่ถึงอย่างไรการเปลี่ยนสายพันธุ์กาแฟก็ไม่ได้สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด เพราะสภาพความชื้นที่เปลี่ยนไปยังส่งผลต่อรสชาติของกาแฟ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่พื้นที่อีกด้วย จนหลายพื้นที่ไม่สามารถปลุกกาแฟได้อีกต่อไป จึงมีแนวโน้มที่เป็นไปได้สูงว่าผลผลิตกาแฟในโลกจะลดลงมาก ผลที่ตามอาจจะทำให้การกินกาแฟในตอนเช้าของเราต้องมีราคาที่สูงขึ้นก็เป็นได้

อุตสาหกรรมอาหารเหตุภาวะโลกร้อน โคเนื้อบราซิลทำลายป่าอเมซอน

แม้ว่าภาวะโลกร้อนจะเปลี่ยนการผลิตอาหาร แต่ถึงอย่างไรการผลิตอาหารนี้เองก็สาเหตุใหญ่สาเหตุหนึ่ง ที่เป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศด้วยเช่นกัน รายงานจากการประชุม “คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หรือ IPCC พบว่า ภาคการเกษตรได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง ร้อยละ10-12 และหากรวมอุตสาหกรรมป่าไม้และการรุกพื้นที่ป่าเข้าไปด้วยจะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 25 

การเลี้ยงโคเนื้อที่ประเทศบราซิล ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากอินเดีย โดยมีโคเนื้ออยู่ที่ประมาณ 200 ล้านตัว อุตสาหกรรมโคเนื้อของบราซิลนี้เองที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของการทำลายป่าอเมซอน ผืนป่าที่คอยดูซับคาร์บอนเป็นเกราะกำบังป้องกันภาวะโลกร้อนอยู่ ซึ่งการปศุสัตว์นี้เองนับเป็นร้อยละ 60 ของกิจกรรมที่ทำลายป่าไม้ทั้งหมดของประเทศ ทำให้บราซิลเป็นประเทศที่มีการทำลายป่ามากที่สุดในช่วงระหว่างปี 1990 ถึง 2010 ส่งผลให้บราซิลปล่อยคาร์บอนสูงถึง 80 ล้านตันต่อปี และตลอด 10 ที่ผ่านมาการปศุสัตว์เป็นสาเหตุให้บราซิลสูญเสียต้นไม้ไปแล้ว 2.1 พันล้านต้น

 

เรียบเรียงจาก 
Climate change is shaping the future of food (Arielle Duhaime-Ross, vice.com, 8/7/2017) 
Latest IPCC Science on Implications for Agriculturev (unfccc.int, 1/8/2014) 
Montana Farmers Union Report: Climate Change Could Cost Montana Agriculture Industry almost 25,000 jobs and $726 million over the next50 years (montanafarmersunion.com, 24/2/2016)

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ z-world.co

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: