ตามไปดู ‘เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน’ พบการลงทุนไม่บูมอย่างที่ตั้งเป้าไว้

กองบรรณาธิการ TCIJ 3 ธ.ค. 2560 | อ่านแล้ว 12978 ครั้ง

 

จำได้หรือไม่ว่าหลังการรัฐประหาร 2557 รัฐบาล คสช. เคยผลักดันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเป็นไม้เด็ดด้านนโยบายเศรษฐกิจ ตั้งเป้าไว้ถึง 10 จังหวัด TCIJ ชวนดูข้อมูลของโครงการระยะที่ 1 ใน 5 จังหวัด พบระหว่างปี 2558-2559 ยอดจัดตั้งนิติบุคลใหม่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษบางจังหวัดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย บางจังหวัดยอดจดทะเบียนน้อยกว่าก่อนประกาศ ธุรกิจขนาดใหญ่ผุดน้อยมาก ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

หลังจากที่รัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง กำหนดพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (ประกาศ กนพ. ที่ 1/2558) ต่อมาในเดือน ก.ค. 2558 รัฐบาลมีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ Special Economic Zone (SEZ) ระยะแรกใน 5 พื้นที่ชายแดน ได้แก่ (1) แม่สอด/ตาก (2) อรัญประเทศ/สระแก้ว (3) ตราด (4) มุกดาหาร และ (5) สะเดา/สงขลา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ, สร้างงาน, กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ, จัดระเบียบบริเวณชายแดน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามายังพื้นที่ตอนในของประเทศ ซึ่งทั้ง 5 พื้นที่เป้าหมายดังกล่าว (เนื้อที่รวมประมาณ 1.83 ล้านไร่) ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในแง่ความได้เปรียบด้านตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ มีฐานการผลิตที่ค่อนข้างโดดเด่น มีความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและแรงงาน ไม่มีภัยพิบัติรุนแรง และไม่มีปัญหาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจที่ลงทุนใน SEZ จะได้รับสิทธิประโยชน์ใหม่ของ BOI โดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และลดหย่อนภาษีร้อยละ 50 เพิ่มอีก 5 ปี  แม้ว่าโดยปกตินโยบายการส่งเสริมการลงทุนของ BOI จะไม่เน้นสนับสนุนธุรกิจที่ใช้แรงงานแต่มุ่งเน้นสนับสนุนธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีสูง มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นหลัก แต่ในกรณีนี้ ธุรกิจที่ใช้แรงงานเป็นหลักที่ตั้งอยู่ใน SEZ จะได้รับการสนับสนุนตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนด โดยจะเป็นธุรกิจที่แต่ละพื้นที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่แล้ว เช่น อุตสาหกรรมรมสิ่งทอ, สินค้าเกษตรแปรรูป, เฟอร์นิเจอร์, การท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน เช่น คลังสินค้า โลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น [1]

TCIJ ได้รวบรวมข้อมูลจาก ข้อมูลธุรกิจเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ข้อมูล ณ 19 ธ.ค. 2559, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30 พ.ย. 2560) เพื่อติดตามความคืบหน้าของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 1 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก สระแก้ว มุกดาหาร ตราด และสงขลา จนถึงปลายปี 2559 พบว่า ยอดจัดตั้งนิติบุคลใหม่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษบางจังหวัดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย บางจังหวัดยอดจัดตั้งนิติบุคลใหม่ในเขตเศรษฐกิจน้อยกว่าก่อนประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ส่วนการจัดตั้งนิติบุคลใหม่ที่มีขนาดใหญ่มีน้อยมาก โดยรายละเอียดที่น่าสนใจของทั้ง 5 จังหวัดมีดังนี้

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก

ความเป็นมา จ.ตาก ถูกจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรก ตามประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.ตั้งอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) 2.ฝั่งตะวันตกสามารถเป็นประตูเชื่อมไปยังย่างกุ้งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของพม่า และสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและจีนตอนใต้ และ 3.พื้นที่ชายแดนฝั่งพม่ายังมีแรงงานจำนวนมากพร้อมรองรับการพัฒนาที่แม่สอด รวมทั้งสามารถร่วมดาเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วม (co-production) กับนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี (พม่า)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตากครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 14 ตำบล รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 886,875 ไร่ (1,419 ตร.กม.) ดังนี้ 1.อำเภอแม่สอด ครอบคลุม 8 ตำบล ได้แก่ แม่สอด พระธาตุผาแดง ท่าสายลวด แม่ตาว แม่กาษา แม่ปะ แม่กุ และมหาวัน 2.อำเภอพบพระ ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่ พบพระ ช่องแคบ และวาเล่ย์ 3.อำเภอแม่ระมาด ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่ แม่จะเรา แม่ระมาด และขะเนจื้อ

ข้อมูลนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ ก่อนที่รัฐบาลมีประกาศกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2558 จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ฯ ในปี 2557 มีจำนวน 150 ราย เฉลี่ยเดือนละ 12 ราย โดยหลังประกาศฯ จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ฯ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 180 ราย เฉลี่ยเดือนละ 16 ราย แสดงถึงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งสูงสุดในปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) คือ ธุรกิจขายส่งสินค้าทั่วไป รองลงมาได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร

ข้อมูลนิติบุคคลคงอยู่ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก มีนิติบุคคลคงอยู่จำนวน 1,313 ราย ทุนจดทะเบียน 4,657.67 ล้านบาท ส่วนนอกพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 561 ราย ทุนจดทะเบียน 2,221.04 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น (จ.ตาก) 1,874 ราย ทุนจดทะเบียน 6,878.71 ล้านบาท

ขนาดธุรกิจ ธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตากเป็นธุรกิจ SMEs (ขนาดเล็กและขนาดกลาง) จำนวน 1,310 ราย คิดเป็น 99.8% โดยแบ่งเป็น ขนาดเล็ก 1,295 ราย (98.6%) ขนาดกลาง 15 ราย (1.2%) และขนาดใหญ่ 3 ราย (0.2%) (*แบ่งขนาดธุรกิจจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวร ตามนิยามของ สสว.)

ประเภทธุรกิจ ธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ก่อสร้างอาคารทั่วไป 125 ราย (10%) ทุนจดทะเบียน 230.80 ล้านบาท (5%) 2.ขายส่งสินค้าทั่วไป 97 ราย (7%) ทุนจดทะเบียน 155.70 ล้านบาท (3%) 3.อสังหาริมทรัพย์ 52 ราย (4%) ทุนจดทะเบียน 397.30 ล้านบาท (9%) 4.ขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืช 46 ราย (4%) 281.70 ล้านบาท (6%) และ 5.ผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก 40 ราย (3%) 150.30 ล้านบาท (3%)

การลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก มีมูลค่าทั้งสิ้น 555.53 ล้านบาท คิดเป็น 12% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยประเทศที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ไต้หวัน ทุนจดทะเบียน 172.86 ล้านบาท (31%) 2.ฮ่องกง 56.49 ล้านบาท (10%) 3.ญี่ปุ่น 52.12 ล้านบาท (9%) 4.พม่า 41.45 ล้านบาท (7%) 5.จีน 23.01 ล้านบาท (4%)

ประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ผลิตเครื่องจักร ทุนจดทะเบียน 105.00 ล้านบาท (19%) 2.ผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 63.85 ล้านบาท (11%) 3.ผลิตชุดชั้นในและชุดนอน 56.49 ล้านบาท (10%) 4.ตัดเย็บเสื้อผ้าตามคำสั่งซื้อ 53.73 ล้านบาท (10%) และ5.ผลิตสิ่งทอ 46.00 ล้านบาท (8%)

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

ความเป็นมา จ.สระแก้ว ถูกจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 โดยถูกตั้งเป้าให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย ได้แก่ • เป็นพื้นที่ค้าส่งระหว่างประเทศและค้าปลีกที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากอรัญประเทศตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบัง (ประมาณ 250 กม.) และกรุงเทพฯ (ประมาณ 260 กม.) • อยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (GMS Southern Economic Corridor) ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญของไทย ในการขนส่งสินค้าไปยังพนมเปญและเวียดนามตอนใต้ รวมทั้งสามารถร่วมดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วม (co-production) กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต-โอเนียง (กัมพูชา) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากนักลงทุนไทย เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า กล่องใส่เครื่องประดับซึ่งใช้แรงงานเข้มข้น • ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปที่ประเทศที่พัฒนาแล้วให้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศที่กาลังพัฒนาโดยลดหรือยกเว้นภาษีนาเข้าแก่สินค้าที่อยู่ในกลุ่มได้รับสิทธิ (Generalized System of Preferences: GSP)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ 4 ตำบล รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 207,500 ไร่ (332 ตร.กม.) ดังนี้ 1.อำเภออรัญประเทศ ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่ ท่าข้าม บ้านด่าน และป่าไร่ 2.อำเภอวัฒนานคร ครอบคลุม 1 ตำบล ได้แก่ ผักขะ

ข้อมูลนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ม.ค.55-พ.ย.59) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยในวันที่ 19 ม.ค.58 รัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดสระแก้วเป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก ส่งผลให้มีจำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในปี 2558 เพิ่มขึ้นสูงสุด จำนวน 22 ราย การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 17 ราย และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของจังหวัดสระแก้วมีนิติบุคคลจัดตั้งทั้งสิ้น จำนวน 165 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7 ราย คิดเป็น 4%

ข้อมูลนิติบุคคลคงอยู่ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว มีนิติบุคคลคงอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 131 ราย (9%) ทุนจดทะเบียน 933.35 ล้านบาท (11.2%) นอกพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว 1,358 ราย (91%) ทุนจดทะเบียน 7,393.19 ล้านบาท (88.8%) รวมทั้งสิ้น (จ.สระแก้ว) 1,489 ราย ทุนจดทะเบียน 8,326.54 ล้านบาท

ขนาดธุรกิจ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ธุรกิจส่วนใหญ่เป็น SMEs ถึง 98.5% ของนิติบุคคลทั้งหมด โดยแบ่งเป็นขนาดเล็ก 127 ราย (97%) ขนาดกลาง 2 ราย (1.5%) และขนาดใหญ่ 2 ราย (1.5%)

ประเภทธุรกิจ ธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ก่อสร้างอาคารทั่วไป 20 ราย (15%) ทุนจดทะเบียน 136.50 ล้านบาท (15%) 2.ขายส่งสินค้าทั่วไป 10  ราย (8%) ทุนจดทะเบียน 17.00 ล้านบาท (2%) 3.ขนส่งสินค้าและคนโดยสาร 8 ราย (6%) ทุนจดทะเบียน  5.85 ล้านบาท (1%) 4.อสังหาริมทรัพย์ 6 ราย (5%) ทุนจดทะเบียน 247.00 ล้านบาท (26%) และ 5. ขนส่งผู้โดยสารทางบก 6 ราย (5%) ทุนจดทะเบียน 4.70 ล้านบาท (1%)

การลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว มีมูลค่าทั้งสิ้น 19.81 ล้านบาท คิดเป็น 2% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยประเทศที่ลงทุน ได้แก่  1. จีน ทุนจดทะเบียน 13.40 ล้านบาท (68%) 2. กัมพูชา 5.37  ล้านบาท (27%) 3. เกาหลี 1.04  ล้านบาท (5%)

ประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ผลิตเครื่องนอน/ผ้าที่ใช้บนโต๊ะอาหาร ห้องน้ำ และห้องครัว 5.60 ล้านบาท (28%) 2.ขายส่งสินค้าทั่วไป 4.23 ล้านบาท (21%) 3.ขายปลีกสินค้าใช้แล้ว 2.31 ล้านบาท (12%) 4.ขายปลีกของใช้ในครัวเรือนที่ทำจากสิ่งทอ 1.96 ล้านบาท (10%) 5.ขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ชนิดใช้ในครัวเรือน 1.96 ล้านบาท (10%)

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร

ความเป็นมา จ.มุกดาหาร ถูกจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย ได้แก่ •ตั้งอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) สามารถเชื่อมโยงสู่ลาว เวียดนาม และประเทศในแถบตะวันออกไกล (ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน) •เป็นช่องทางสา คัญในการขนส่งสินค้า เช่น เครื่องดื่ม ผลไม้ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเวียดนามและจีนตอนใต้ •สามารถร่วมดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วมกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน (สปป.ลาว) ที่มีลงทุนการจากหลากหลายประเทศ เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนกล้องถ่ายรูปจากญี่ปุ่น (Nikon) เป็นต้น

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 11 ตำบล รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 361,542 ไร่ (578.5 ตร.กม.) ดังนี้ 1.อำเภอเมืองมุกดาหาร ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ คำอาฮวน นาสีนวน บางทรายใหญ่ มุกดาหาร ศรีบุญเรือง 2.อำเภอหว้านใหญ่ ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ชะโนด บางทรายน้อย ป่งขาม หว้านใหญ่ 3.อำเภอดอนตาล ครอบคลุม 2 ตำบล ได้แก่ ดอนตาล โพธิ์ไทร

ข้อมูลนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ ก่อนที่รัฐบาลประกาศกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2558 จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ฯ ในปี 2557 มีจำนวน 80 ราย โดยหลังประกาศฯ จานวนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ฯ ในปี 2558 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 15 ราย คิดเป็น 18% และในปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวน 82 ราย ลดลง 13 ราย คิดเป็ น 14% โดยธุรกิจที่จัดตั้งสูงสุด คือ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป รองลงมา ได้แก่ ธุรกิจขายปลีกสินค้าในร้านค้าทั่วไป และธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ

ธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ก่อสร้างอาคารทั่วไป 144 ราย (21%) มูลค่าการลงทุน 626.40 ล้านบาท (16%) 2.ขายปลีกวัสดุก่อสร้าง 21 ราย (3%) 64.20 ล้านบาท (2%) 3.ขายส่งสินค้าทั่วไป 20 ราย (3%) 59.00 ล้านบาท (1%) 4.ขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ 19 ราย (3%) 59.10 ล้านบาท (2%) และ 5.ขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร 19 ราย (3%) 48.80 ล้านบาท (1%)

การลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร มีมูลค่าทั้งสิ้น 34.94 ล้านบาท คิดเป็น 1% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยประเทศที่มีมูลค่าทุนจดทะเบียนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.มาเลเซีย 9.78  ล้านบาท (28%) 2. จีน 8.12 ล้านบาท (23%) 3.ลาว 5.12 ล้านบาท (15%) 4.อินเดีย 2.00 ล้านบาท (6%) และ 5.สหรัฐอเมริกา 1.79 ล้านบาท (5%)

ประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.อสังหาริมทรัพย์ 11.27 ล้านบาท (32%) 2.โรงแรม และรีสอร์ท 5.60 ล้านบาท (16%) 3.ขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ 2.94 ล้านบาท (8%) 4.ขายส่งไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรปู 2.23 ล้านบาท (6%) และ 5.ขายปลีกสินค้าในร้านค้า 2.00 ล้านบาท (6%)

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด

ความเป็นมา จ.ตราด ถูกจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 โดยถูกตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการค้าส่ง ขนส่งต่อเนื่องระหว่างประเทศ และเป็นศูนย์กลางให้บริการด้านการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค โดยมีปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ • ตั้งอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ สามารถเข้าถึงท่าเรือแหลมฉบัง (ประมาณ 340 กิโลเมตร) รวมถึงท่าเรือสีหนุวิลล์ (กัมพูชา) ประมาณ 250 กิโลเมตร • เป็นเมืองประตูการค้าชายแดน มีด่านการค้าบ้านหาดเล็กรองรับการพัฒนา มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กระจายสินค้า         โลจิสติกส์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และอุตสาหกรรม ขนาดเล็ก (เกษตรอินทรีย์) • มีฐานการท่องเที่ยวในพื้นที่ และสามารถเชื่อมโยงกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเกาะกง (กัมพูชา) ซึ่งมีการลงทุนจากต่างชาติ เช่น โรงงานรถยนต์เกาหลี (Hyundai) โรงงานผลิตวอลเล่ย์บอล (Mikasa) และผลิตสายไฟในรถยนต์ (Yazaki) จากญี่ปุ่น

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตราด ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ในอำเภอคลองใหญ่ ได้แก่ คลองใหญ่ หาดเล็ก และไม้รูด รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 31,375 ไร่ (50.2 ตร.กม.) ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร 420 กิโลเมตร เดินทางโดยทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพมหานคร-ชลบุรีสายใหม่) ทางหลวงหมายเลข 344 หมายเลข 3 และหมายเลข 31

ข้อมูลนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดตราดเป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ในปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.2558) คิดเป็น 50% เมื่อพิจารณาในภาพรวมของ จ.ตราด ปี 2559 (ม.ค.-พ.ย.) มีนิติบุคคลจัดตั้ง จำนวน 128 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ธ.ค.2558) จำนวน 43 ราย คิดเป็น 51% เช่นกัน โดยธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นอันดับแรก คือ ธุรกิจขายจักรยานยนต์ รองลงมาได้แก่ ธุรกิจโรงแรม และรีสอร์ท และธุรกิจขายส่งผัก และผลไม้

ข้อมูลนิติบุคคลคงอยู่ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด มีนิติบุคคลคงอยู่จานวน 102 ราย (9%) รวมทุนจดทะเบียน 338.50 ล้านบาท (7%) นอกพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด 1,006 ราย (91%) 4,731.15 ล้านบาท (93%) รวมทั้งสิ้น (จ.ตราด) 1,108 ราย 5,069.65 ล้านบาท

ขนาดธุรกิจ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ธุรกิจทั้งหมดเป็นธุรกิจ SMEs  โดยเป็นธุรกิจขนาดเล็ก 98 ราย (96%) ธุรกิจขนาดกลาง 3 ราย (4%)

ธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.ขายปลีกวัสดุก่อสร้าง 12 ราย (12%) ทุนจดทะเบียน 37.40 ล้านบาท (11%) 2.ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าและตัวแทนของ 8 ราย (8%) 5.30 ล้านบาท (2%) 3.ขายส่งสินค้าทั่วไป 7 ราย (7%) 7.90 ล้านบาท (2%) 4.ขายจักรยานยนต์ 5 ราย (5%) 8.50 ล้านบาท (3%) และ 5.ขายส่งปลาและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 5 ราย (5%) 5.50 ล้านบาท (2%)

การลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด มีมูลค่าทั้งสิ้น 22.41 ล้านบาท คิดเป็น 7% ของมูลค่าทุนทั้งหมด  ประเทศที่ลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ฝรั่งเศส ทุนจดทะเบียน 20.58 ล้านบาท (91.8%) 2. อินเดีย 0.78 ล้านบาท (3.5%) 3. กัมพูชา 0.10 ล้านบาท  (0.4%) 3. จีน ไทเป 0.10 ล้านบาท (0.4%)

ประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.โรงแรม และรีสอร์ท ทุนจดทะเบียน 20.58 ล้านบาท (91.8%) 2.ขายปลีกวัสดุก่อสร้าง 0.82 ล้านบาท (3.7%) 3.ขายปลีกเสื้อผ้า 0.78 ล้านบาท (3.5%) 4.อสังหาริมทรัพย์ 0.13 ล้านบาท (0.6%) และ 5. ขายส่งปลาและผลิตภัณฑ์สัตว์น้า 0.10 ล้านบาท (0.4%)

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา

ความเป็นมา จ.สงขลา ถูกจัดตั้งให้เป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรกตามประกาศ กนพ. ที่ 1/2558 โดยถูกตั้งเป้าให้เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจากหลายปัจจัย ได้แก่ • เป็นจังหวัดศูนย์กลางของภาคใต้ เนื่องจากมีด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นด่านทางบกที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดอันดับหนึ่งและอันดับสองของไทยตามลาดับ ทั้งสอง พื้นที่อยู่ใกล้ท่าเรื่อปีนังและท่าเรือกลางของมาเลเซีย และมีการเชื่อมโยงการรถไฟระหว่างไทย-มาเลเซียผ่านทางปาดังเบซาร์ มีฐานการผลิตในพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา อาหารทะเล และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น • เป็นพื้นที่ภายใต้โครงการความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโอกาสการพัฒนาเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษร่วมระหว่างสะเดากับบูกิตกายูฮีตัม (มาเลเซีย) เพื่อการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งสามารถขยายความร่วมมือทางการค้าการค้าการลงทุนต่อเนื่องในแนวทางด่วนเหนือ-ใต้ (North-South Expressway) ในมาเลเซียเข้าสู่พื้นที่ตอนในของมาเลเซีย

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ครอบคลุมพื้นที่ 1 อำเภอ 4 ตำบล รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 345,187.5 ไร่ (552.3 ตร.กม.) คือ อำเภอสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ สะเดา สำนักขาม สำนักแต้ว และปาดัง-เบซาร์ ระยะทาง ห่างจากกรุงเทพฯ 950 กิโลเมตร เดินทางโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 และหมายเลข 2 (สายเอเชีย)  การคมนาคมขนส่ง มีท่าเรือน้ำลึกสงขลา มีสนามบินพาณิชย์ที่อำเภอหาดใหญ่ และมีทางหลวงแผ่นดินและรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซียผ่านทางปาดังเบซาร์ และเชื่อมโยงกับประเทศสิงคโปร์

ข้อมูลนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ม.ค.2557-ต.ค.2559) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่ในวันที่19 ม.ค.58 รัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดสงขลาเป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก ส่งผลให้มีจานวนการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในปี 2558 จานวน 42ราย เพิ่มขึ้น 8 ราย คิดเป็น 24% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา(ปี 57=34 ราย) และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ต่อเดือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2557 จำนวน 3 ราย ปี 2558 จำนวน 4 ราย และในปี 2559 (ม.ค.พ.ย.) จำนวน 4 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการขยายตัวของธุรกิจในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลนิติบุคคลคงอยู่ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีนิติบุคคลคงอยู่ จำนวน 412 ราย (5%) มูลค่าทุนจดทะเบียน 5,149.96 ล้านบาท (5.1%) นอกพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา จำนวน 8,216 ราย (95%)  95,019.92 ล้านบาท (94.9%) รวมทั้งสิ้น (จ.สงขลา) 8,628 ราย 100,169.88 ล้านบาท

ขนาดธุรกิจ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ธุรกิจส่วนใหญ่เป็น SMEs ถึง 98.5% ของนิติบุคคลทั้งหมด และส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจบริการ ทั้งนี้ขนาดธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เป็นขนาดเล็ก 385 ราย (93.4%) ขนาดกลาง 21 ราย (5.1%) และขนาดใหญ่ 6 ราย (1.5%)

ธุรกิจที่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ตัวแทนดาเนินพิธีการศุลกากร 39 ราย (9.5%) ทุนจดทะเบียน 37.55 ล้านบาท (0.7%) 2.โรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด 32 ราย (7.8%) 823.50 ล้านบาท (16.0%) 3.ขนส่งสินค้าและคนโดยสาร 23 ราย (5.6%) 63.50 ล้านบาท (1.2%) 4.ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย 22 ราย (5.3%) 34.25 ล้านบาท (0.7%) และ 5.ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเอง เพื่อการพักอาศัย 16 ราย (3.9%) 1,082.00 ล้านบาท (21.0%)

การลงทุนต่างชาติ มูลค่าทุนจดทะเบียนของชาวต่างชาติในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,283.73 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของมูลค่าทุนทั้งหมด โดยประเทศที่ลงทุน สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.มาเลเซีย ทุนจดทะเบียน 1,279.66 ล้านบาท (99.7%) 2.อังกฤษ 1.10 ล้านบาท (0.1%) 3.ลิเบีย 0.98 ล้านบาท (0.1%)

ประเภทธุรกิจที่ต่างชาติลงทุนมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ด้านสุขอนามัย หรือเภสัชกรรมที่ทำจากยาง ทุนจดทะเบียน 321.00 ล้านบาท (25.0%) 2.ซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของตนเอง เพื่อการพักอาศัย 312.06 ล้านบาท (24.3%) 3.โรงแรม รีสอร์ทและห้องชุด 197.94 ล้านบาท (15.4%) 4.การขายส่งพืชน้ำมันที่ใช้ในการผลิตน้ำมันพืช 108.68 ล้านบาท (8.5%) และ 5.การผลิตเครื่องมือกล 72.00 ล้านบาท (5.6%)

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
จับตา: อุปสรรค 'เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน' จากมุมมองของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ข่าวเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่นำเสนอใน TCIJ [1] [2]

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: