จีนพบปัญหานายจ้างชอบใช้แรงงานจาก 'นักศึกษาฝึกงาน' เพื่อลดต้นทุน แม้ทำงานในแบบเดียวกันกับลูกจ้างคนอื่น ๆ แต่กลับถูกละเมิดสิทธิ ได้ค่าจ้างบ้างไม่ได้บ้างเพราะ 'สถานะคลุมเครือ' ระหว่างการเป็นนักศึกษาและเป็นคนงานในการผลิต ที่มาภาพประกอบ: Mitch Altman, flickr (cc)
ดร. เจนนี่ ชาน (Jenny Chan) จากมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง ได้เขียนบทความวิชาการอธิบายความสำคัญที่มากขึ้นของการใช้นักศึกษาฝึกงานเป็นตลาดแรงงานในจีน ซึ่งความหวังที่การฝึกงานจะก้าวไปสู่อาชีพกำลังถูกบั่นทอนอย่างเป็นระบบ กล่าวคือการฝึกงานถูกผนวกไปกับการศึกษาด้านอาชีวะในจีน โดย ดร.ชาน ได้เข้าไปดูการจ้างงานนักศึกษาฝึกงานในลักษณะเดียวกับคนงาน นักศึกษาฝึกงานมีสถานะคลุมเครือระหว่างการเป็นนักศึกษาและเป็นคนงานในการผลิต
นายจ้างบางรายรับสมัครนักศึกษาฝึกงานด้วยตัวเอง ในขณะที่อีกหลายรายจัดจ้างแรงงานนักศึกษาผ่านการสนับสนุนของรัฐบาลท้องถิ่นและระดับจังหวัดที่เน้นการลงทุน รวมทัังผ่าน ตัวแทนจัดหาแรงงานรับเหมาช่วงหรือซับคอนแทรค (subcontracting) ความร่วมมือระหว่างครูกับฝ่ายบริหารจัดการของบริษัทสามารถควบคุมนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการฝึกงานของพวกเขาได้ ในขณะที่นักศึกษาฝึกงานถูกกำหนดให้ทำงานในแบบเดียวกันกับลูกจ้างคนอื่น ๆ แต่กลับไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้ค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาฝึกงานถูกลดค่าลง
การเปิดเผยถึงการละเมิดสิทธิแรงงานเช่นการใช้แรงงานเด็กในเสื้อคลุมของนักศึกษาฝึกงานได้กดดันรัฐบาลและบริษัทในจีนให้จัดการแก้ไขปัญหา ดร.ชาน ระบุว่าดังนั้นจึงต้องเรียกร้องสิทธิแรงงานและการศึกษาของแรงงานนักศึกษาในเศรษฐกิจฝึกงานที่กำลังเติบโตในขณะนี้
แปลและเรียบเรียงจาก:
Interns in China used as cheap and disposable labor supply, goodelectronics.org, 11/4/2017
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ