ภายหลังรัฐบาลอินโดนีเซียของประธานาธิบดี Susilo Bambang Yudhoyono ได้เริ่มนโยบายคืนผืนป่าให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ในอินโดนีเซียและกินเวลานานถึงห้าปี หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศมีคำตัดสินให้ปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมือง แต่ปัจจุบันกลับมีพื้นที่ป่าเพียง 125,000 ไร่เท่านั้นที่ถูกมอบคืนจากทั้งหมดราว 51 ล้านไร่
ปัญหาความล่าช้าดังกล่าว มีสาเหตุมาจากทั้งระบบราชการ การขาดระบบกฎหมายท้องถิ่นเพื่อรองรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งจากความแตกต่างหลากหลายด้านภูมิประเทศ ทั้งภัยคุกคามของสิ่งแวดล้อม ทำให้การนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติยังไม่เกิดผลเต็มที่
อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาความล่าช้า กิจกรรมเชิงพาณิชย์ของบริษัทเอกชน เช่น การตัดไม้ และการนำทรัพยากรของป่าออกมาใช้ ก็ยังคงดำเนินต่อไป ตามรายงานเมื่อปี 2016 ของ World Resources Institute และ Woods Hole Research Center พบว่าป่าฝนเขตร้อนของอินโดนีเซียมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศของโลก และต่อภาวะโลกร้อน โดยกว่า 25 % ของก๊าซคาร์บอนที่ลดลงได้โดยป่าเขตร้อนนั้น มาจากพื้นที่ป่าของชนเผ่าพื้นเมืองในอินโดนีเซีย และพื้นที่ป่าเหล่านี้ก็มีส่วนสำคัญที่ต่อต้านปรากฏการณ์เรือนกระจกและลดปัญหาโลกร้อน รวมทั้งยังช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงเวลาอีกหลายสิบปีต่อจากนี้ด้วย
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ