“…คนไทยไม่ใส่หมวก ไม่ใส่แว่น เข้าห้างใส่หมวกไม่ใช่ มันก็ผิดปกติ สะพายเป้มันผิดปกติหมด ฉะนั้นต้อง ช่วยกันสอดส่องนะครับ"
ประโยคเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจากคำแถลงของ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ที่ให้คำแนะนำและกล่าว ถึงสถานะการหลังจากเหตุการณ์ การก่อเหตุร้ายในหลายจุด ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 11 จนไปถึง 12 ทีผ่านมา (อ่านเพิ่มเติมที่: ผบ.ทบ.ปลุกคนไทยใช้ชีวิตปกติ ชี้สะพายเป้ใส่หมวกสวมแว่น ผิดปกติต้องสอดส่อง)
จากคำแถลงการนี้เราอาจเห็นได้ว่า มีการอธิบายถึงลักษณะ ความเป็นคนไทยอย่างคราวๆ เพื่อที่จะใช้ในแยกออกจาก คนชนชาติอื่น และเป็นไปเพื่อเหตุผลทางด้านความมั่นคงเป็นหลัก
ประโยคที่ท่านนายพลได้กล่าวมาข้างต้นนอกจากจะกระตุ้นให้ผมตะหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ยังได้ช่วย ”แซะ” ความคิดเกี่ยวกับมุมมองและความหมายของการกำหนดอัตลักษณ์ทางชนชาติให้แก่ ผู้คนหลากหลายในโซเซี่ยล ทำให้หลายคนมีการตั้งโพสคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์การเป็นคนไทย
หรือแม้กระทั้งทำอินโฟกราฟฟิกสวยหรูขึ้นมาเพื่อหยอกล้อ ลักษณะ “Thainess” ที่ท่านนายพลกล่าวเอาไว้
ในที่นี้ "ความเป็นไทย" และ "ความเป็นคนไทย" จึงได้ถูกนิยามออกไปมากหมายหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์หรือ ด้านสังคมศาสตร์ก็สุดแล้วแต่สำนักนั้นจะสรรหาคำมาอธิบาย
Charles Keyes (ที่มาภาพ: Matichon Online)
นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ชาร์ลส คายส์ (Charles Keyes) ก็เป็นหนึ่งในผู้คนหลากหลายที่พยายามจะอธิบายลักษณะความเป็นชนชาติ ว่าเกิดจากการสร้างอัตลักษณ์ (the Invention of Identities) เขาได้กล่าวถึงกระบวนการดังกล่าวไว้ในบทความชื่อ “Who are the Tai? Reflection on the Invention of Identities” ที่ได้ถูกตีพิมพ์ปี 1995
เขาเชื่อว่าประชาติหรือประชาคมทางชาติพันธุ์นั้นเกิดขึ้นจาก "ความสัมพันธุ์ในความเป็นเครือญาติ" (Genoalogy) แต่ในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความถึงความสัมพันธ์ในด้านชีววิทยา และไม่ได้เป็นการกำหนดตามธรรมชาติแต่อย่างใด แต่หากกลับเป็นสิ่งที่ “สร้าง” ขึ้นมาในทางวัฒนธรรม (Culturally Constructed) และบวกกับความบังเอิญ ทางประวัติศาสตร์บางอย่าง (Historically Contingent) นอกเหนือจากนั้นยังได้รับการสนันสนุนจาก "ผู้มีอำนาจ" (Authority) และผู้มีอำนาจนี้เองที่จะเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนหรือสร้างความเป็นประชาชาติ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้มีอำนาจจะก่อให้เกิดมโนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับประชาคม(New Conception of Community) ที่อาจส่งผลให้คนในสังคมเดิมตัดขาดจากธรรมเนียมปฎิบัติทางประเพณี โดยใช้ส่ิงที่เรียกว่า “เทคโนโลนีทางอำนาจ” (Technology of Power) ของรัฐ เป็นเครื่องมือ เช่น กฎหมาย หรือแม้กระทั้งวาทกรรม
จากความคิดทั้งหมดนั้น คายส์เชื่อว่ามันคือ "กระบวนการสร้าง" (The process of Invention) ที่ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในความเป็นเครือญาติ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่เขาเชื่อ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเป็นประชาชาติ มิใช่ในเรื่องของภาษาที่ใช้ร่วมกันเท่านั้น เขายังเชื่ออีกว่า ทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสร้างรัฐสมัยใหม่และการสร้างอัตลักษณ์ของประชาชาติ (National Identities)
เพื่อทำให้เห็นภาพมากขึ้น คายส์ได้เขียนถึงช่วงปี 1930 และ 1940 ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงครามอาศัยงานเขียนของนักวิชาการชาวตะวันตกเพื่อที่จะสร้างสายสัมพันธุ์ทาง เครือญาติสำหรับประชาชาติไทย โดยถือว่าต้นกำเนิด ของเขามาจากกลุ่มชนชาวไทที่มาจากตอนใต้ของจีน และชนชาวไทที่พูดภาษาไท เกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ในประเทศไทย
จากความพยายามสร้างสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดั้งกล่าวก่อให้เกิด “มหาอาณาจักรไทย” หรือ ขบวนการรวมชนชาวไทที่ได้แบบอย่างมาจากสิ่งที่ฮิตเลอร์ทำกับประเทศ เยอรมันนีในยุโรป ขบวนการนี้มีความเชื่อว่า “ชาวไทยทุกคนที่มีเชื้อสายไทย (ผู้พูดภาษาไท) ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ก็คือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับสยาม (ประเทศไทย) ที่เป็นศูนย์กลาง”
จากข้อเสนอของ คายส์ ที่เชื่อว่าความเป็นประชาชาติ สามารถถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการสรรค์สร้าง (Inventional process) ดั้งนั้นตัวผู้เขียนเองจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า อัตลักษณ์หรือลักษณะของความเป็นชนชาวไทย ถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญพอที่จะนำมาพิจารณาความเป็น "ชาวไทย" ได้จริงหรือไม่?
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ