เมื่อ 'นศ.ออกแบบจากนิวยอร์ค' พบ 'แรงงานงานตัดเย็บเสื้อผ้า' ที่กัมพูชา (มี VDO)

แปลและเรียบเรียงโดย พัชณีย์ คำหนัก 26 พ.ค. 2560 | อ่านแล้ว 16878 ครั้ง

เมื่อ 'นศ.ออกแบบจากนิวยอร์ค' พบ 'แรงงานงานตัดเย็บเสื้อผ้า' ที่กัมพูชา (มี VDO)

เมื่อนักศึกษาวิทยาลัยการออกแบบ 3 คนเดินทางจากเมืองนิวยอร์คไปยังประเทศกัมพูชา เรื่องราวโศกนาฏกรรมของพวกเขาไปไกลกว่าแค่เรื่องโรงงานเสื้อผ้าถักทอในพนมเปญ คนงานในระบบห่วงโซ่การผลิตโลกที่ขับเคลื่อนบรรษัทข้ามชาติ ประสบปัญหาความยากจน สภาพการทำงานที่เลวร้าย อันตราย นายจ้างมักใช้วิธีทิ้งโรงงานในประเทศหนึ่งแล้วไปเปิดอีกที่หนึ่ง

การรับรู้ว่าสภาพการทำงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มทั่วโลกควรต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นคนละเรื่องกับการได้เห็นสถานที่ทำงานเหล่านั้นด้วยตาและพูดคุยกับคนงานถึงประสบการณ์ในการทำงาน เมื่อ 3 นักศึกษาวิทยาลัยการออกแบบ Parsons เดินทางจากเมืองนิวยอร์คไปยังประเทศกัมพูชา

แอลลิสัน กริฟฟิน (Allison Griffin), เคซี่ บาร์เบอร์ Casey Barber และแอน ลี (Anh Le) เพิ่งเรียนจบเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้พบปะกับคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าเมื่อฤดูหนาวที่ผ่านมา โดยคนงานได้เล่าถึงการได้รับโทษอย่างหนักเมื่อเธอประกอบชิ้นส่วนผิดพลาด

"การได้ยินเรื่องราวของพวกเขามีอะไรที่มากกว่าตัวเลขจำนวน มันเป็นอะไรที่เปิดหูเปิดตาจริง ๆ" แอลลิสัน กริฟฟิน นักศึกษาเอกวารสารศาสตร์และแฟชั่น ผู้มีส่วนร่วมในโครงการจัดทำวิดีทัศน์ขององค์กร Re/Make องค์กรไม่แสวงหากำไรในสหรัฐอเมริกา ที่มีวัตถุประสงค์ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอย่างมีจริยธรรม

"สมมติว่ามีผ้าอยู่ 12 ชิ้นและถ้าลืมใส่รหัส (code) ลงบนชิ้นหนึ่ง พวกเขาจะไม่จ่ายค่าจ้างเลย และวันนั้นฉันก็ไม่ได้อะไร" คนงานกล่าว

เธอเป็นหนึ่งในจำนวนคนงานหญิงอีกกว่า 200 คนที่ทำงานให้แก่นายจ้างชาวฮ่องกง เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วโรงงานเสื้อผ้าถักทอได้ปิดกิจการอย่างกะทันหัน เลิกจ้างและยังค้างจ่ายค่าชดเชยกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐฯ มีคนงานบางรายทำงานที่นี่มานานถึง 18 ปี

 

ค่าจ้างต่ำกับสภาพการทำงานไม่ปลอดภัยในห่วงโซ่การผลิตโลก

Made in Cambodia from Remake on Vimeo.

เรื่องราวโศกนาฏกรรมของพวกเขาไปไกลกว่าแค่เรื่องโรงงานเสื้อผ้าถักทอในพนมเปญ คนงานในระบบห่วงโซ่การผลิตโลกที่ขับเคลื่อนบรรษัทข้ามชาติ ประสบปัญหาความยากจน สภาพการทำงานที่เลวร้าย อันตราย นายจ้างมักใช้วิธีทิ้งโรงงานในประเทศหนึ่งแล้วไปเปิดอีกที่หนึ่ง นักศึกษาได้พบปะกับคุณสเรเนียง (Sreyneang) คนงานตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งได้เชิญนักศึกษาไปเยี่ยมบ้านของเธอ นักศึกษาได้พบปะกับลูกสาวของเธอ 2 คนที่เธอรับภาระเลี้ยงดูคนเดียว เนื่องจากสามีไม่มีงานทำ

"หลังเลิกงานทุกวัน ฉันต้องไปทำงานโรงงานแห่งอื่นจนถึงเวลา 21.00 หรือ 22.00 น. กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว" คุณสเรเนียงกล่าว

คุณสเรเนียงมีความหวังว่าวิดีทัศน์นี้สามารถช่วยปรับปรุงสภาพการจ้างของคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าในกัมพูชา

"มีหลายเรื่องที่ต้องทำและหวังว่าพวกเราจะสามารถทำให้ผู้คนเข้าใจและมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้" เคซี่ บาร์เบอร์ กล่าวในวิดีทัศน์ด้วยน้ำตาคลอ

(ดูวีดีโอเพิ่มเติมได้จากด้านบน)

แปลและเรียบเรียงจาก
Design Students Connect with Cambodia Garment Workers (Tula Connell, Solidarity Center, 22/5/2017)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: