จับตา: คุณภาพอากาศจังหวัดภาคเหนือช่วงหมอกควัน (1 ม.ค. - 30 เม.ษ.)

ทีมข่าว TCIJ : 26 ก.พ. 2560 | อ่านแล้ว 5192 ครั้ง


ปัญหาหมอกควันภาคเหนือเกิดขึ้นเป็นประจําในช่วงหน้าแล้ง (มกราคม-เมษายน) โดยในปี 2558 สถานการณ์คุณภาพอากาศใน 9 จังหวัดภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลําพูน ลําปาง พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน และ ตาก) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2557 พบฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน 42 วัน (ลดลง 6 วัน จากปี 2557) โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงสุด เท่ากับ 381 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ที่จังหวัดเชียงราย (เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่พบค่าสูงสุดเท่ากับ 324 มคก./ลบ.ม. ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ในปี 2558 กรมควบคุมมลพิษได้ติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศใน 10 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน ตาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2558 และอุตรดิตถ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2558 พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองมีค่า สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน 42 วัน (ปี 2557 ในช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณฝุ่นละอองมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 48 วัน) คิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนวันที่ตรวจวัด (120 วัน) โดยเริ่มมีปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ที่จังหวัดลำปาง พบปริมาณฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงสุด เท่ากับ 381 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ปี 2557 ช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณฝุ่นละอองมีค่าสูงสุดเท่ากับ 324 มคก./ลบ.ม. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2557 ที่ตำบล จองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน) และพบว่าตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2558 ปริมาณฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องทุกวัน

 แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา หมอกควันภาคเหนือ ปี 255ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ขณะที่สถานการณ์มลพิษหมอกควันในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และตาก ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก กว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 52 – 103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยทุกสถานีตรวจวัด มีระดับ PM10 ไม่เกินมาตรฐานที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ตารางแสดงค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ที่มา: กรมอนามัย 

เมื่อเทียบกับ มาตรฐานค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ของกรมอนามัย คืออยู่ในระดับที่ 51 – 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือระดับเฝ้าระวัง (สีเขียว) โดยประชาชนกลุ่มเสี่ยง อาจมีอาการในเบื้องต้น ได้แก่ อาการทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน (ไอ หายใจลำบาก) และระคายเคืองตา

ที่มาภาพประกอบหน้าแรก: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: