จับตา: เม็ดเงิน ‘เบิกจ่าย-ยกเลิก-คืนคลัง’ โครงการตำบลละ 5 ล้าน

ทีมข่าว TCIJ : 26 มี.ค. 2560 | อ่านแล้ว 3822 ครั้ง


ส่องตัวเลข ‘เบิกจ่าย-ยกเลิก-คืนคลัง’ จากนโยบาย ‘แพคเกจโครงการตำบลละ 5 ล้าน’ ที่ประกอบไปด้วย 1.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2.การสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และ 3.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล

‘แพคเกจโครงการตำบลละ 5 ล้าน’ (1.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2.การสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และ 3.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล) นั้นใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 38,775.38 ล้านบาท ที่มาภาพประกอบ: Peter Hellberg (CC BY-SA 2.0)

ข้อมูลจาก 'รายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ประเด็นนโยบายเร่งด่วน (Hot Issue) เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ : มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล' โดย สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้ระบุว่าจากทั้งนโยบาย 1.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2.การสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และ 3.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท) หรือที่เรียกรวม ๆ ว่า ‘แพคเกจโครงการตำบลละ 5 ล้าน’ นั้นใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 38,775.38 ล้านบาท และพบรายละเอียดตัวเลขเม็ดเงิน ‘เบิกจ่ายแล้วเสร็จ-ยกเลิกโครงการ-เหลือจ่ายคืนคลัง’ ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้

1.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน (งบประมาณที่อนุมัติ 3,200.96 ล้านบาท)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558อนุมัติในหลักการงบประมาณสนับสนุนเพื่อดาเนินแผนงาน/โครงการ การดำเนินมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จำนวนทั้งสิ้น 4,966 โครงการงบประมาณ 6,529.09 ล้านบาท ในแผนงาน/โครงการ 9 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาอาชีพ/OTOP 2) การผลิตพืช 3) ปศุสัตว์ 4) ประมง 5) เศรษฐกิจพอเพียง 6) ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 7) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) โครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร และ 9) สาธารณูปโภค โดยให้กระทรวงมหาดไทยประสานการดำเนินการกับสำนักงบประมาณในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามแผนงาน/โครงการ

กระทรวงมหาดไทยได้ตรวจสอบกลั่นกรองแผนงาน/โครงการตามแนวทางและหลักเกณฑ์แนวทางที่กำหนดกล่าวคือ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ของส่วนราชการ/หน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในพื้นที่ เป็นโครงการที่ชุมชนสามารถดูแลรักษาและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง มีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันทีที่ได้รับอนุมัติโครงการ เป็นโครงการที่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2558 เว้นแต่เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อการแก้ไขปัญหาในสภาวการณ์ปัจจุบัน เป็นโครงการที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาที่เกษตรกรและชุมชนกำลังประสบปัญหาในสภาวการณ์ปัจจุบัน สถานที่ดำเนินการต้องเป็นสถานที่สาธารณะที่มีหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่ดูแลหรือหากเป็นสถานที่ส่วนบุคคลต้องมีเอกสารยืนยันให้ใช้สถานที่โดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษร มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับการใช้อาคารสถานที่นั้น ๆ และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ จำนวน 4,468 โครงการ เป็นเงิน 5,192.20 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณแจ้งการอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจาเป็น จำนวน 3,827 โครงการ จำนวน 3.200.96 ล้านบาท

โดยผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จากวงเงินที่ได้รับอนุมัติรวม 3,200.96 ล้านบาท มีผลเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้ (1.1) เบิกจ่ายแล้วเสร็จ 2,690.99 ล้านบาท (83.78%) (1.2) รอเบิกจ่าย 27.49 ล้านบาท (0.86%) (1.3) ยกเลิกโครงการ 174.44 ล้านบาท (5.74%) (1.4) เหลือจ่ายคืนคลัง 309.17 ล้านบาท (9.62%)

2.การสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (งบประมาณที่อนุมัติ 254.28 ล้านบาท)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558 อนุมัติในหลักการให้มีการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพและความพร้อมในการบริหารจัดการ รวม 421 รายการ วงเงินงบประมาณ 490.60 ล้านบาท ในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก แพร่ ลาปาง ขอนแก่น บุรีรัมย์ เลย สกลนคร อุบลราชธานี ชุมพร ปัตตานี พังงา และยะลา ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ในจุดที่สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคนั้นได้อย่างครอบคลุม โดยกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและติดตามการปฏิบัติงานให้ใช้กระบวนการตรวจราชการแบบบูรณาการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2558 เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ จำนวน 490.60 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณมีหนังสือลงวันที่ 29 กันยายน 2558 แจ้งการอนุมัติงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง รายการเงินสารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจาเป็น จำนวน 254.28 ล้านบาท

โดยผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จากวงเงินที่ได้รับอนุมัติรวม 254.28 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้ (1.1) เบิกจ่ายแล้วเสร็จ 229.85 ล้านบาท (90.39%) (1.2) ยกเลิกโครงการ 8.44 ล้านบาท (3.32%) (1.3) เหลือจ่ายคืนคลัง 15.99 ล้านบาท (6.29%)

3.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท) (งบประมาณที่อนุมัติ 35,320.14 ล้านบาท)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 อนุมัติมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ในระดับตำบล โดยจัดสรรงบประมาณให้ในระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท จำนวน 7,255 ตำบล คิดเป็นเงิน 36,275 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการที่มีการจ้างแรงงานหรือก่อให้เกิดการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและ บริการในจังหวัด 3 ประเภท ได้แก่ 1) โครงการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อาทิ การซ่อมแซมแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ การซ่อมแซมสถานพยาบาล โรงเรียน ตลาดกลาง และการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งขยะ 2) โครงการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ การปลูกพืชใหม่ การเปลี่ยนแปลงอาชีพ การสร้างฝาย ปลูกต้นไม้หรือป่าชุมชน และ 3) โครงการด้านเศรษฐกิจและสังคมอาทิ การเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การปรับปรุงซ่อมแซม ศูนย์บริการผู้สูงอายุสำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติงบประมาณรวม 35,755.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.56ของกรอบวงเงินงบประมาณ 36,275 ล้านบาท

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จากวงเงินที่ได้รับอนุมัติรวม 35,320.14 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ดังนี้ (1.1) เบิกจ่ายแล้วเสร็จ 34,134.26 ล้านบาท (94.02%) (1.2) รอเบิกจ่าย 54.20 ล้านบาท (0.15%) (1.3) ยกเลิกโครงการ 518.16 ล้านบาท (1.43%) (1.4) เหลือจ่ายคืนคลัง 1,596.59 ล้านบาท (4.40%)

ที่มาภาพประกอบหน้าแรก: Peter Hellberg (CC BY-SA 2.0)

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: