แนวโน้มการฆ่าตัวตายของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2544-2553 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลง ตามสถานการณ์และภาวะต่างๆ ที่สำคัญคือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ภาวะวิกฤตที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต และภัยธรรมชาติ โดยแต่ละปี มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 4,500 – 5,500 คน ซึ่งมีมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากการถูกทำร้ายซึ่งมีประมาณปีละ 3,300 – 3,800 ราย จะเห็นได้ว่า ภายหลังจาก ปี พ.ศ. 2553 - 2557 อัตราการฆ่าตัวตายเริ่มมีแนวโน้มขยับสูงขึ้นจาก 5.9 ต่อประชากรแสนคน เป็น 6.08 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2558 เป็น 6.47 ต่อประชากรแสนคน ที่มาภาพประกอบ: Emmanouil Noctifer (CC BY-SA 3.0)
เมื่อจำแนกรายเขตสุขภาพพบว่า เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุด คิดเป็น 13.01 ต่อประชากรแสนคน จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น ก่อให้เกิดภาวะวิกฤติทางสุขภาพจิต แก่ผู้ใกล้ชิดรวมถึงการสูญเสียแก่ประเทศในเชิงเศรษฐกิจอย่างมากจากการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และค่าใช้จ่ายในการดูแลเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพจิต รวมทั้งการรักษาและเยียวยาจิตใจแก่ผู้ใกล้ชิด
ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายใน 5 ปี ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จจะลดลงเทียบกับจำนวนเดิม จึงได้จัดลำดับประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายระดับปานกลาง ซึ่งต้องมีข้อเสนอเชิงมาตรการคือ การสร้างและบูรณาการ นโยบายระดับชาติที่ เกี่ยวข้องกับการป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และพัฒนาระบบช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้น และการติดตามเฝ้าระวังการกลับไปทำร้ายตนเองซ้ำ
ที่มาข้อมูล: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ