เมื่อเดือน พ.ย. 2560 ที่ผ่านมาเนื่องในวันขจัดความรุนแรงต่อสตรีสากลปี 2560 องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทยและภาคีเครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิง ได้จัดการรณรงค์ 'ถึงเวลาเผือก' โดยมีการเปิดเผยผลการวิจัยสถานการณ์การคุกคามทางเพศบนระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2560 ซึ่งพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจทุกเพศ ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ และเพศที่ถูกคุกคามทางเพศมากสุดคือ เพศหญิง ร้อยละ 45 และพฤติกรรมการคุกคามทางเพศพบมากสุดบนขนส่งสาธารณะ 5 อันดับแรกคือ
1.การลวนลามด้วยสายตา ร้อยละ 18.8
2.การเบียดชิด ต้อนเข้ามุม แต๊ะอั๋ง ลูบคลำ ร้อยละ 15.4
3.การผิวปากแซว ร้อยละ 13.9
4.การพูดแทะโลม ร้อยละ 13.1
5.การพูดลามกชวนคุยเรื่องเพศ ร้อยละ 11.7
โดยผู้ประสบเหตุมักใช้วิธีการเดินหนีมากที่สุด ส่วนน้อยที่กล้าขอความช่วยเหลือ และมีส่วนหนึ่งของผู้เห็นเหตุการณ์ที่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ
ทั้งนี้การคุกคามทางเพศส่งผลต่อจิตใจโดยตรงต่อผู้ประสบเหตุ และผู้พบเห็นเหตุการณ์ ส่งผลให้อึดอัด หวาดกลัว หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย อาจส่งผลให้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกกคุกคามทางเพศ ทั้งๆที่พวกเขาควรมีสิทธิที่จะใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างปลอดภัย เครือข่ายเมืองปลอดภัยเพื่อผู้หญิงเชื่อว่าหากไม่นิ่งเฉยและมีการแทรกแซงพฤติกรรมคุกคามทางเพศบนขนส่งสาธารณะ จะสามารถยับยั้งและสร้างการรับรู้ในสังคมว่าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ
ที่มาข้อมูล: คณะวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ