สงกรานต์เมียนมาที่มหาวิทยาลัยนเรศวร

กฤษณะ โชติสุทธิ์: 17 เม.ย. 2561 | อ่านแล้ว 3040 ครั้ง


วันสงกรานต์ ถือเป็นลักษณะร่วมกันของเอเชียใต้ แต่รายละเอียดปลีกย่อยที่อยู่ในวันสงกรานต์ของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ในยุคที่มีการก้าวข้ามพรมแดน ประเพณีวันสงกรานต์ที่มีความเฉพาะของแต่ละประเทศได้ก้าวข้ามเส้นเขตแดนไปดำรงอยู่บนพื้นที่ที่มีผู้คนประเทศนั้น ๆ ดำรงชีวิตอยู่ อาทิ ประเพณีวันสงกรานต์ของชาวไทยในประเทศเกาหลีใต้ ประเพณีวันสงกรานต์ของแรงงานเมียนมาในประเทศไทย เป็นต้น จนเกิดลักษณะของประเพณีที่ผูกติดกับชีวิตคนเหนือเส้นเขตแดน และมีการปฏิบัติการของคนเหล่านั้นตามวัฒนธรรมที่ตนเองสังกัดให้ดำรงอยู่บนพื้นที่ข้ามเขตแดน อย่างไรก็ดี ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ปรากฏประเพณีวันสงกรานต์เมียนมา แต่ไม่ได้ถูกจัดขึ้นโดยคนเมียนมา แต่เป็นนักศึกษาไทยที่ศึกษาหลักสูตรพม่าศึกษา และสถานพัฒนาการเรียนรู้ภาษาเมียนมา

ภาพหมู่ของผู้เข้าร่วมงานสงกรานต์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประเพณีวันสงกรานต์แบบเมียนมาได้จัดขึ้นโดย นิสิตภาควิชาพม่าศึกษา และสถานพัฒนาการเรียนรู้ภาษาเมียนมา บนพื้นที่คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร พื้นที่ที่ห้อมล้อมไปด้วยตัวบทและสัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างไทยกับเมียนมาในอดีต ป้ายของวันสงกรานต์ได้ถูกติดตั้งขึ้นด้วยภาษาเมียนมาเขียนว่า သင်္ကြန်ပွဲတော ตะจั่งบเวด่อ เป็นฉากหลังของเวที นิสิตหลักสูตรพม่าศึกษาและอาจารย์ภาคภาษาตะวันออกที่แต่งตัวทั้งแบบไทยและเมียนมา ผสานกับเสียงเพลง သင်္ကြန်န္မိုးตะจั่งโม ที่มีความหมายว่า “ฝนสงกรานต์” ได้ถูกขยายเสียงด้วยลำโพงจนดังได้ยินทั่วบริเวณพิธี เสียงของดนตรีสมัยใหม่สลับกับเสียงกลองที่ตีด้วยมือตามทานองของเมียนมา ทำให้ผู้เขียนต้องนึกถึงวันสงกรานต์ครั้งไปเยือนเมียนมา เพลงดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแกนกลางที่แสดงสัญญาณถึงวันสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง เนื้อเพลงที่แสดงความสัมพันธ์ของฝนที่ทำให้ดอกประดู่ได้แบ่งบานเป็นสัญญาณของวันสงกรานต์ การละเล่นของหญิงสาว และความสุขของผู้คนในวันสงกรานต์ ดอกประดู่ภายในเนื้อเพลงกับดอกประดู่สีเหลืองเข้มตัดกับสีเขียวของใบที่ถูกจัดวางลงในวัตถุต่าง ๆ ภายในงานได้อย่างลงตัว ภายในงานยังมีซุ้มต่าง ๆ ที่นำเอาอาหารที่เป็นที่นิยมในเมียนมาเข้ามาปรากฎอยู่ภายในงาน

อาหารเมียนมาที่ข้ามพรมแดน ได้แก่ หมูพะโล้เสียบไม้ (ဝက္သားတုတ္ထိုး)กับชานมเมียนมา (လက္ဖက္ရည) ถือเป็นอาหารที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมในประเทศเมียนมาจนเป็นวิถีชีวิตประจาวันของชาวเมียนมา อีกทั้งขนมต้ม(မုန့်လုံးရေပေါ်) ขนมที่มีน้าตาลห่อหุ้มด้วยแป้งนำมาต้มจนลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ประยุกต์ด้วยการคลุกมะพร้าว ถือเป็นขนมที่มีการทำกันอย่างแพร่หลายตลอดช่วงวันสงกรานต์ในเมียนมา อาหารเหล่านี้ได้ถูกเคลื่อนย้ายมาอยู่ในพื้นที่ ม.นเรศวร และถูกผลิตโดยเหล่าอาจารย์และนักศึกษาชาวไทย ทั้งมีการส่งผ่านความรู้ของการทำอาหารภายในงานจากรุ่นสู่รุ่น เสียงเพลงฝนสงกรานต์ได้ดังขึ้นอีกครั้งแต่มีเสียงที่ดังมากกว่าครั้งที่ผ่านมา การร่ายราแบบเมียนมา (မြန်မာအ မွေ) ได้ถูกแสดงโดยนักศึกษาชาวไทย 

ต่อมาเป็นการร้องเพลงเมียนมาโดยนักศึกษาชาวไทย การสาธิตการทำขนมต้มโดยอาจารย์สาขาวิชาเมียนมาศึกษา ฝากฝั่งผู้ร่วมงานนอกจากการจับกลุ่มพูดคุยถึงลักษณะร่วมกันของงานสงกรานต์ในพื้นที่ต่าง ๆ ขนมต้มที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์เมียนมา ยังเป็นวัตถุในการสนทนา มีการแสดงถึงความคล้ายคลึงกันของขนมลูกลอยกับขนมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งขนมทางภาคใต้ของประเทศไทย และขนมของเกาหลีใต้ จนเกิดบทสนทนาในการแลกเปลี่ยน และการรับรู้ถึงวัฒนธรรมต่างแดนบนพื้นที่ ม.นเรศวร

ดอกประดู่ที่ถูกประดับในงานวันสงกรานต์

เสียงของเพลงฝนสงกรานต์ การตกแต่งดอกประดู่ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์ การแต่งกายแบบเมียนมา การระบำแบบเมียนมา การร้องเพลงเมียนมา และอาหารเมียนมา สิ่งเหล่านี้ได้ถูกปฏิบัติการโดยชาวไทยที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาพม่าศึกษา และสถานเรียนรู้ภาษาเมียนมาให้เข้ามาดำรงอยู่บนพื้นที่ประเทศไทย แตกต่างจากที่ผู้เขียนได้สัมผัสการดำรงอยู่ของประเพณีบนพื้นที่ชายแดนที่ดำรงอยู่ภายในประเทศไทย แต่ปฏิบัติการโดยชาวเมียนมา สถานศึกษาจึงเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการส่งผ่าน ผลิตซ้า และไหลเวียนประเพณีข้ามพรมแดน รวมถึงมีการปฏิบัติการต่อประเพณี จนเกิดลักษณะของประเพณีข้ามเส้นเขตแดนในมิติของผู้สนใจศึกษาประเพณีเมียนมา

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: