'ศศินทร์ จุฬาฯ' ประเมิน 'ตลาดประชารัฐ' ตลอด 3 เดือนปี 2561 พบผู้ค้ายอดขายเฉลี่ยวันละ 5,455 บาท ปริมาณเงินหมุนเวียน 21 .84 ล้านบาท เผยข้อมูล 77 จังหวัด พบมีผู้ค้าในตลาดแล้ว 96,675 ราย เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแล้ว 969 ล้านบาท ส่วนยอดสะสม 3 เดือน สละสิทธิ์แล้ว 7,397 ราย ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
MGR Online รายงานเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมาว่าในการประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการตลาดประชารัฐครั้งที่ 6 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเร็นซ์ไปยังจังหวัด อำเภอทั่วประเทศ โดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม โดยปัจจุบันพบว่า มีผู้ลงทะเบียนผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ตลาดจำหน่ายสินค้าแล้วทั้งสิ้น 96,675 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.34 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแล้ว 969.496 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีการยกระดับเป็นตลาดสะอาด ปลอดภัย ไม่ใช้โฟม มีการประเมินตลาดให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว 46 จังหวัด 969 แห่ง พบว่า มีตลาดผ่านมาตรฐานจำนวน 803 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.87 ของตลาดที่ได้รับการประเมินแล้ว และให้ ผู้บริหารจัดการตลาดประชารัฐ (CMO) ดำเนินการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ส่วนการจัดทำหลักสูตรและจัดการอบรม CMO ทุกจังหวัดได้ดำเนินการแต่งตั้งแล้วจำนวน 3,416 คน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่และบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด จัดทำหลักสูตรและเป็นวิทยากรอบรม
ที่ประชุม รับรายงานว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดตั้งคลินิกผู้ประกอบการตลาดประชารัฐทุกประเภท จำนวน 878 แห่ง 76 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการคัดกรองผู้ประกอบการครบทุกจังหวัดแล้ว ส่วนการส่งเสริมตลาดประชารัฐเพื่อการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้บรรจุตลาดประชารัฐในปฏิทินปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืนแล้ว จำนวน 133 แห่ง ใน 63 จังหวัด สุดท้ายได้จัดทำแบบสอบถามออนไลน์เพื่อติดตามประเมินผลความสำเร็จแล้ว
"ประธานในที่ประชุม ได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัด อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการการจัดการตลาดประชารัฐให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และขอให้คณะทำงานระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ติดตามผลการประกอบการและพูดคุย สอบถามผู้ประกอบการ ร่วมแก้ไขปัญหา และอำนวยความสะดวก ให้ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อและกลไกตลาด"
มีรายงานด้วยว่า ฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน ได้รายงานความก้าวหน้า จาก 77 จังหวัด (ข้อมูลจนถึงวันที่ 1 มี.ค.) ยังพบว่า ขณะนี้ ยังมีผู้ลงทะเบียนรอการจัดสรรอีก 16,603 ราย เนื่องด้วยมียอดผู้สละสิทธิ์รวมแล้ว จำนวน 7,397 ราย จึงมียอดคงเหลือผู้ลงทะเบียนผู้ประกอบการทั้งสิ้น 113,278 ราย ดังนั้น ได้มีการจัดสรรแล้วคิดเป็นร้อยละ 85.34 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแล้ว 969.496 ล้านบาท
โดย รายได้ของผู้ประกอบการโครงการตลาดประชารัฐ (รายใหม่ของตลาด) เดือนธ.ค.2560 (เปิดตลาดประชารัฐ) มีรายได้ 77,208,791 บาท ,เดือน ธ.ค. 60 (ณ วันที่ 3 ม.ค. 61) รายได้เพิ่มขึ้น 179,453,229 บาท รวมทั้งสิ้น 256,662,020 บาท , เดือน ม.ค.61 (ณ วันที่ 1 ก.พ. 61) รายได้เพิ่มขึ้น 150,303,337 บาท รวมทั้งสิ้น 406,965,357 บาท ,เดือนก.พ. 61 (ณ วันที่ 1 มี.ค. 61) รายได้เพิ่มขึ้น 562,530,644 รวมทั้งสิ้น 969,496,001 บาท
"เดือน ธ.ค. 60 ( ณ วันที่ 3 ม.ค.61) มีผู้สละสิทธิ์ 4,955 ราย (4.10%) ,เดือน ม.ค.61 ( ณ วันที่ 1 ก.พ.61) มีผู้สละสิทธิ์ 27 ราย (4.13%) เดือนกุมภาพันธ์ 61 (ณ วันที่ 1 มี.ค. 61) มีผู้สละสิทธิ์ 2,415 ราย เป็นยอดสะสมผู้สละสิทธิ์ รวม 7,397 (6.13%) ยังพบยอดสละสิทธิ์สะสม ในภาคเหนือ 1,464 ราย ภาคกลาง 3,676 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 946 ราย ภาคตะวันออก 585 ราย ภาคใต้ 574 ราย ภาคใต้ชายแดน 152 ราย"
นอกจากนี้ ยังพบว่า ประเภทตลาดประชารัฐ ที่มียอดผู้สละสิทธิ์สะสมสูงสุด ประกอบด้วย ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ 1,894 ราย ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ 1,634 ราย ตลาดประชารัฐ กทม. คืนความสุข 1,355 ราย
มีรายงานด้วยว่า สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (SMC) แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รายงานผลประเมินผู้ขาย ผลการติดตามข้อมูลสำรวจผู้ซื้อ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. -9 มี.ค. 2561 พบว่า ผู้ประกอบการรายได้ 5,455 บาท/วัน ส่วนปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการตลาดประชารัฐในช่วงที่เก็บข้อมูล จำนวน 21 .84 ล้านบาท
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ