ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 7 ปี เป็น 1.75%

กองบรรณาธิการ TCIJ 20 ธ.ค. 2561 | อ่านแล้ว 1970 ครั้ง

ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 7 ปี เป็น 1.75%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ปี จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยให้มีผลทันที ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 7 ปี

เว็บไซต์ข่าวสด รายงานเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2561 ว่านายทิตนันท์ มัลลิกะมาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ปรับขึ้นอัตราเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ปี จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยให้มีผลทันที ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2554 เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ตามแรงส่งขออุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประเทศจะชะลอตัวลง จะเห็นจากตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจสูงกว่า 4% ติดต่อกัน 3 ปี (2560-2562) จึงไม่มีความจำเป็นในการพึ่งพาการเงินที่ผ่อนคลายมากอย่างที่ผ่านมา

“ที่ถามว่าไทยอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นหรือไม่ ตอนนี้ กนง.ก็ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ส่วนจะมีการขึ้นอีกหรือไม่ต้องติดตามเป็นครั้งต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับข้อมูล (Data Independent) ในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งอาจจะมีการคงดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าครั้งต่อไปจะต้องขึ้นอีก โดยดอกเบี้ย 1.75% ไม่กระทบกับแรงส่งการขยายตัวในประเทศ”นายทิตนันท์ กล่าว

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องตามแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้อุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในอนาคต กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นว่าควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการด่าเนินนโยบายการเงิน (policy space) ส่าหรับอนาคต

ส่วนกรรมการ 2 ท่านเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากต่างประเทศปรับสูงขึ้นและอาจส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป จึงควรรอประเมินความชัดเจนของผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและความยั่งยืนของแรงส่งจากปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ด่าเนินการไปได้ดูแลความเสี่ยง

ด้านเสถียรภาพระบบการเงินในบางจุดไปบ้างแล้วเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพแม้การส่งออกสินค้าได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงและมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีน แต่เริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นตามแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง โดย กนง.ปรับลดการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2561 มาอยู่ที่ 4.2% จาก 4.4% และปี 2562 ที่ 4.0% จาก 4.2% ส่วนส่งออกในปี 2561 มาอยู่ที่ 7.0% จาก 9.0% และปี 2562 มาอยู่ที่ 3.8% จาก 4.3%

ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ครัวเรือน นอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นและกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติมแม้รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรลดลงบ้างและยังมีแรงกดดันจากหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่าหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามการย้ายฐานการผลิตมายังไทย และโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้เดิมจากความล่าช้าในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง

คณะกรรมการฯ จะติดตามความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจจะกระทบต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปียังมีแนวโน้มทรงตัว แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำจากความผันผวนของราคาพลังงานและราคาอาหารสด อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ท่าให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

ภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ท่าให้ภาคเอกชนสามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่ออุปโภคบริโภค คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้น 0.25% ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับเงินสกุลภูมิภาค ในระยะข้างหน้า อัตราแลกเปลี่ยนยังมีแนวโน้มผันผวน คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป

สำหรับระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต โดยเฉพาะพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจน่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้จะช่วยลดการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินควบคู่กับมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดำเนินการไปมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้แรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศชะลอลง คณะกรรมการฯ เห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะยังมีความเหมาะสมในระยะข้างหน้า โดยจะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการด่าเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป

นายลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ไม่มีนโยบายในการแทรกแซงการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยของกนง. หรือ การทำงานของธปท. ซึ่ง มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว โดยเชื่อว่า กนง.คงนำปัจจัยทางเศรษฐกิจในปัจจุบันมาพิจารณา ขณะที่หากกนง.ตัดสินใจขึ้นจริง สะท้อนว่า หลังจากนี้ไป กนง.จะมองเรื่องเสถียรภาพ หรือ ความมั่นคงเป็นหลัก ขณะที่นโยบายการคลังจะต้องมาพิจารณาใหม่เช่นเดียวกัน

“การมีกระสุนไว้ใช้ในมุมของธปท.เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องดูหลายมิติ แม้ว่า นโยบายการเงินกับนโยบายการคลังต้องไปด้วยดัน การขึ้นดอกเบี้ยอาจทำให้ ธปท. มีกระสุนในการทำนโยบายการเงิน แต่ด้านการคลังกระสุนอาจจะน้อยลงก็ได้ ” นายลวรรณ กล่าว

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: