ไฟเขียวตั้งระบบเฝ้าระวัง 'เชื้อดื้อยา' นำร่องโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน 50 แห่ง

กองบรรณาธิการ TCIJ 21 ธ.ค. 2561 | อ่านแล้ว 1928 ครั้ง

ไฟเขียวตั้งระบบเฝ้าระวัง 'เชื้อดื้อยา' นำร่องโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน 50 แห่ง

คกก.นโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ เห็นชอบตั้งระบบเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย นำร่องในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 50 แห่ง เน้นสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนและเกษตรกร ที่มาภาพประกอบ: activistpost.com

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2561 ว่านพ.ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับมอบหมายจาก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2561 โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ดำเนินการ 4 เรื่อง เพื่อประโยชน์ประชาชนใน 4 เรื่องเรื่องแรก ให้มีระบบเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลชีพในประเทศไทย (Thailand-SAC) เป็นเครื่องมือในการติดตามข้อมูลการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย เพื่อลดการบริโภคยาต้านจุลชีพ และรายงานผลต่อเนื่องทุกปี 2.มอบคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชนเสนอนโยบายเสริมสร้างการสร้างความตระหนักรู้ด้านเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพแก่ประชาชน และให้ สสส. นำประเด็นเรื่องการดื้อยาต้านจุลชีพให้เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญ

3.เห็นชอบให้นำร่องระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล (Integrated AMR Management: IAM) นำไปสู่ผลลัพธ์ของการลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาในกลุ่มโรงพยาบาลรัฐสังกัดต่างๆ และโรงพยาบาลเอกชน รวม 50 แห่ง และให้คณะอนุกรรมการลดผลกระทบจากปัญหาเชื้อดื้อยาในสถานพยาบาลติดตามและกำกับการดำเนินงานดังกล่าว และ 4. ให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกันเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคกรีนนิ่งในส้ม และมอบหมายให้ อย.ควบคุมการกระจายยาด้านจุลชีพ ทั้งที่เป็นเคมีภัณฑ์และยาสำเร็จรูป รวมทั้งให้คณะอนุกรรมการการจัดการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ จัดทำแนวทางการแก้ปัญหาการใช้ยาต้านจุลชีพในส้มและรายงานความคืบหน้าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติในการประชุมครั้งต่อไป

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: